กิจกรรมเดือนตุลาคม 2556

พรชัย รังษีธนะไพศาล5 ตุลาคม 2556

กิจกรรมบรรยายพิเศษ
“เตรียมความพร้อมปฏิบัติการ ตามล่าหาดาวหางแห่งศตวรรษ พฤศจิกายน 2013
ดาวหางไอซอน (C/2012 S1 ISON)

ดาวหาง เป็นวัตถุชนิดหนึ่งที่อยู่ในระบบสุริยะ ที่เชื่อว่าแต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในแถบไคเปอร์ ที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ที่มันโคจรเข้ามาในระบบสุริยะชั้นในแล้วโคจรรอบดวงอาทิตย์ เมื่อมันเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ตัวมันจะเกิดการระเหิดเป็นแก๊ส ทำให้เกิดชั้นฝุ่นและแก๊สที่ฝ้ามัวล้อมรอบ และทอดเหยียดยาวออกไปภายนอกจนดูเหมือนหาง เป็นที่มาชื่อ “ดาวหาง” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์จากการแผ่รังสีและลมสุริยะของดวงอาทิตย์ไปบนนิวเคลียสของดาวหาง นิวเคลียสหรือใจกลางของดาวหางเป็น “ก้อนหิมะสกปรก” ประกอบด้วยน้ำแข็ง คาร์บอนไดออกไซต์ มีเทน แอมโมเนีย และมีฝุ่นกับหินแข็งปะปนอยู่ด้วยกัน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ไม่กี่เมตรไปจนถึงหลายสิบกิโลเมตร ในแต่ละปีจะมีดาวหางโคจรเข้ามาในระบบสุริยะชั้นในหลายดวงเห็นได้แล้วแต่ละพื้นที่ซีกโลกที่โคจรผ่าน บางดวงก็พุ่งเข้าหาดวงอาทิตย์หาไปก็มี ดาวหางที่มีความสว่างและมีหางยาวโคจรมาให้เห็นเมื่อเดือน มกราคม พ.ศ. 2550 คือ ดาวหางแมกนอต(C/2006 P1 McNaught) และเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 คือดาวหางเลิฟจอย (C/2011 W3 Lovejoy) แต่ดาวหางทั้ง 2 ดวงนี้ไม่สามารถมองเห็นได้ในประเทศไทย

ดาวหางแมกนอต ดาวหางเลิฟจอย

ในปีนี้ 2556 มีดาวหาง 2 ดวงที่โคจรมาให้เห็นได้ในประเทศไทย คือ ดาวหางแพนสตาร์ส (C/2011 L4 PANSTARRS) เห็นได้ตอนหัวค่ำหลังดวงอาทิตย์ตกเมื่อวันที่ 9-17 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมาแล้ว และจะมีดาวหางอีกดวงหนึ่งที่คาดว่าจะมีความสว่างที่สุดและมีหางยาวมาก ที่นักดาราศาสตร์ทั่วโลกให้เป็นดาวหางแห่งศตวรรษ เห็นได้ตอนเช้ามืดก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น คือ ดาวหางไอซอน (C/2012 S1 ISON) ที่จะมาให้เห็นในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ไปจนถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2557 เป็นโอกาสดีที่จะได้สังเกตเห็นดาวหางไอซอนเพียงครั้งเดียวเท่านั้นจะไม่กลับมาอีก

สมาคมดาราศาสตร์ไทยจึงได้จัดกิจกรรมบรรยายพิเศษให้ความรู้เรื่อง ดาวหางไอซอน, ข่าว New Updates ISON เตรียมความพร้อม ตามล่าดาวหางไอซอน, ดูอย่างไรให้เห็นดาวหาง สมาคมฯ จึงเรียนเชิญสมาชิกสมาคมฯ อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป เข้าร่วมกิจกรรมบรรยายพิเศษดังกล่าวข้างต้น ที่สมาคมดาราศาสตร์ไทย เลขที่ 928 ขั้น 1อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ

กำหนดการบรรยาย วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556

  • 16:00 น. – ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมที่สมาคมดาราศาสตร์ไทย
  • 16:30 น. – พิธีเปิดการบรรยายพิเศษ โดย นายอารี สวัสดี นายกสมาคมดาราศาสตร์ไทย แนะนำวิทยากรบรรยาย และคณะทำงานสมาคมดาราศาสตร์ไทย
  • 17:00 น. – บรรยายเรื่อง “ดาวหางไอซอน (C/2012 S1 ISON) ดาวหางแห่งศตวรรษ 2013”
    “ข่าว New Updates ISON ล่าสุด”
    วิทยากรบรรยายโดย นายอารี สวัสดี นายกสมาคมดาราศาสตร์ไทย
  • 17:30 น. – บรรยายเรื่อง “เรียนรู้เทคนิคการถ่ายภาพดาวหางไอซอน ให้สวยงาม” วิทยากรบรรยายโดย นายพรชัย อมรศรีจิรทร กรรมการสมาคมดาราศาสตร์ไทย
  • 18:00 น. – บรรยายเรื่อง “เตรียมความพร้อมปฏิบัติการ ตามล่าหาดาวหางไอซอน (C/2012 S1 ISON)”
    วิทยากรบรรยายโดย นายพรชัย รังษีธนะไพศาล กรรมการสมาคมดาราศาสตร์ไทย
  • 18:30 น. – กิจกรรมส่องกล้องมองฟ้าหาดาวเคราะห์และดวงจันทร์

หมายเหตุ

การบรรยายอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม และอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพอากาศได้ในวันนั้นต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฟังบรรยายได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ (ฟรี)

ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่

สมาคมดาราศาสตร์ไทย ชั้น 1 อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (อาคาร 4) ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์: 02-3817409 โทรสาร: 02-3817410 เจ้าหน้าที่สมาคมฯ คุณสุกัญญา พึ่งผลงาม

การเดินทางมาสมาคมดาราศาสตร์ไทย

ที่สะดวกที่สุดควรมาทางรถไฟฟ้า BTS มาลงที่สถานีเอกมัย (ฝั่งสถานีขนส่งเอกมัย) แล้วเดินย้อนขึ้นมาผ่านสถานีขนส่งเอกมัย ผ่านทางเข้าท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ เข้าทางเข้าที่จะไปโรงเรียนปทุมคงคา สมาคมดาราศาสตร์ไทย จะอยู่ชั้น 1 อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (อาคาร 4) อยู่ทางขวามือติดกับถนนสุขุมวิท