> หน้ากิจกรรม > รายละเอียดกิจกรรมดาราศาสตร์สัญจร ณ ดอยอินทนนท์ > ห้องภาพ |
|
พระมหาธาตุนถพลภูมิสิริ (ทางซ้าย) และพระมหาธาตุนภเมทนีดล (ทางขวา) ป้ายสูงสุดแดนสยาม บนยอดดอยอินทนนท์ |
ลมหนาวพัดเข้ามาแล้วเป็นฤดูกาลท่องเที่ยวและดูดาว ครั้งนี้ทางสมาคมดาราศาสตร์ไทย ขอเชิญชวนเพื่อนสมาชิกฯ และผู้สนใจร่วมเดินทางไปท่องเที่ยวและดูดาวที่สูงที่สุดในสยาม เป็นขุนดอยที่ยิ่งใหญ่สูงเสียดฟ้าอากาศหนาวเย็นตลอดปีที่ทุกคนอยากไปสัมผัสอากาศหนาวและชมความสวยงามของพันธุ์ไม้เมืองหนาว ที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่เจ๊า ออกเดินทางคืนวันศุกร์ที่ 7- วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม 2550 |
น้ำตกสิริภูมิ มองเห็นได้จากที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ |
ดอยอินทนนท์ ขุนดอยที่มีความยิ่งใหญ่สูงเสียดฟ้ามีความสูง 2,656 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย ตั้งตระหง่านอยู่ในเทือกเขาถนนธงชัย ส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัยที่ทอดตัวผ่าน ชมพูทวีปเข้าสู่ภาคเหนือของไทย เปรียบเสมือนหลังคาของประเทศ ที่สร้างจากหินแกรนิตที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งถือกำเนิดขึ้นในมหายุคพรีแคมเบียมกว่า 500 ล้านปีมาแล้ว บนดอยอินทนนท์มีความสวยงามของพืนป่า พันธุ์ไม้ และสัตว์ป่าแปลกตา |
น้ำตกวชิรธาร น้ำตกแม่กลาง |
บรรยากาศคล้ายป่าโบราณหรือป่าหิมพานต์ในเทพนิยายด้วยพื้นที่ตั้งสูงกว่า 2,500 เมตรประกอบกับมีสภาพอากาศหนาวเย็นทั้งปี เป็นที่เดียวที่เราจะได้เห็น ป่าเมฆ ที่ต้นไม้สูงเทียมเมฆเรือนยอดแน่นทึบคล้ายดอกกระหล่ำแสงสว่างสาดส่องลงมาได้เพียงรำไร ลำต้น กิ่งก้านมี มอส ไลเคน เฟิร์น ฝอยลมห่อหุ้มระโยงระยางเหมือน ต้นไม้ใส่เสื้อ เพื่อปกป้องความหนาวเย็น ยังมีพรรณไม้สวยงามแปลกตา เช่น กุหลาบพันปีสีแดงและสีขาว มณฑาดอย บัวทอง เทียนคำ สะเภาลม และกล้วยไม้หลายชนิด ดึงดูดเหล่าวิหคและผีเสื้อมากมายหลายร้อยชนิดมาดูดกินน้ำหวานที่นี่จึงเป็นสวรรค์ของนักดูนกที่มีนกให้ชมเกือบ 400 ชนิด ทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพ ซึ่งหลายชนิดเป็นนกหายาก เช่น นกกินปลีหางยาวเขียว นกศิวะหางสีตาล นกกระจิ๊ดคอสีเทา เป็นต้น เราอาจจะโชคดีที่เราเดินทางขึ้นไปบนดอยอินทนนท์เป็นช่วงมีอากาศหนาวจัด จะได้พบเห็นปรากฏการณ์น้ำค้างแข็งที่เกาะอยู่ตามใบไม้ที่เรียกว่า แม่คะนิ้ง |
แม่คะนิ้ง น้ำค้างกลายเป็นน้ำแข็ง ต้นไม้ใส่เสื้อ บริเวณอ่างกาบนยอดดอยอินทนนท์ |
จากชมความสวยงามธรรมชาติแล้วทางสมาคมฯ จะพาท่านเยื่ยมชมสถานที่ก่อสร้างที่ทำการ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ สถานที่แห่งนี้จะมีโดมหรือหอดูดาว ภายในหอดูดาวจะติดตั้งกล้องโทรทรรศน์หรือกล้องดูดาวแบบสะท้อนแสงที่ทันสมัยที่สุดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๒.๔ เมตรซึ่งนับเป็นกล้องโทรทรรศน์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเซีย สถานที่แห่งนี้กำลังดำเนินการก่อสร้างจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ประมาณปลายปี พ.ศ. 2552 ตอนกลางคืนจะพาท่านสำรวจท้องฟ้า คว้าดาว ในดาราจักรทางช้างเผือกของเราที่มีดวงดาวเต้มท้องฟ้าระยิบระยับ ดูดาวเคราะห์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ เช่น ดาวศุกร์ ดาวอังคาร และชมความสวยงามวงแหวนของดาวเสาร์ ช่วยกันล่าวัตถุท้องฟ้าจำพวกกระจุกดาวและกาแล็กซี หากลุ่มดาวต่างๆ นอนนับดาวตกบนดอยอินทนนท์ ชมความสวยงามของทางช้างเผือกท่ามกลางอากาศหนาว |
นกกินปลีหางยาวเขียว นกที่หาดูได้ยากบนอินทนนท์ |
กำหนดการเดินทาง วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม 2550 20.30 น. - พร้อมกันและลงทะเบียนที่หน้าทำการสมาคมดาราศาสตร์ไทย 21.00 น. - ออกเดินทางที่หน้าอาคารศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ปากทางเข้าโรงเรียนปทุมคงคา ถ.สุขุมวิท เอกมัย) มีอาหารกล่อง น้ำ ผลไม้ให้ทานบนรถระหว่างเดินทาง วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม 2550 06.00 น. - เดินทางถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 06.30 น. - พักผ่อนตามอัธยาศัยเก็บสัมภาระเข้าที่พัก 07.00 น. - รับประทานอาหารเช้าที่ร้านอาหารของอุทยานฯ สามารถมองเห็นน้ำตกสิริภูมิได้ที่ไหลลงมาเป็นสองสาย 08.00 น. - เข้าพบท่านหัวหน้าอุทยานฯ และรับฟังรายละเอียดสถานที่ท่องเที่ยวบนอุทยานฯ 08.30 น. - วิทยากรของสมาคมฯจะบรรยายทรงกลมท้องฟ้า การดูดาวเบื้องต้น สังเกตกลุ่มดาว 11.00 น. - รับประทานอาหารกลางวัน และเตรียมตัวเสื้อกันหนาวขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์จุดสูงที่สุด 12.30 น. - ออกเดินทางขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์ 14.30 น. - ถึงยอดดอยอินทนนท์ที่จุดสูงสุดตรงหมุด 2,565 เมตรจากระดับน้ำทะเล สักการะพระสถูปที่บรรจุอัฐิของ พระเจ้าอินทวิชยานนท์เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 7 เดินไปที่อ่างกาเป็นพืนป่าที่อุดมสมบูนณ์เป็นป่าพรุ ที่อยู่สูงที่สุดในประเทศ ชม ต้นไม้ใส่เสื้อ นกนานาชนิดที่นักดูนกไม่ควรพาด 16.00 น. - เดินทางลงจากยอดดอยอินทนนท์มาแวะที่พระมหาธาตุนภเมทนีดลและพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ ตั้งตระ หง่านอยู่เคียงคู่กัน ชมความงามทิวทัศน์ พรรณไม้ดอกเมืองหนาวหลายชนิด 17.00 น. - ออกเดินทางลงมาแวะสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติที่กำลังก่อสร้างหอดูดาวที่จะมีกล้องโทรทรรศน์ที่มี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๒.๔ เมตร ที่ทันสมัยที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเซีย (จะติดตั้งประมาณปี พ.ศ. ๒๕๕๒) ซึ่งสถาบันฯ อยู่ใกล้ที่ทำการอุทยานฯ 18.00 น. - รับประทานอาหารเย็น พักผ่อนอัธยาศัย เสร็จแล้วเตรียมตัวให้พร้อมสำรวจท้องฟ้าดูดาวจริงกัน 20.00 น. - สำรวจท้องฟ้าจริงกัน ตามล่าหากระจุกดาว วัตถุท้องฟ้าพวกเอ็ม กาแล็กซี หากลุ่มดาวต่างๆโดยใช้แผนที่ฟ้า หรือแผนที่ดาวของสมาคมฯ ชมความสวยงามของทางช้างเผือก นอนนับดาวตกกัน แล้วพักผ่อนตามอัธยาศัย วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม 2550 03.00 น. - ตื่นมาดูดาวก่อนเช้า ดูดาวเคราะห์ผ่านกล้องโทรทรรศน์เช่น ดาวศุกร์ ดาวอังคารช่วงนี้ดาวอังคารค่อยๆ เข้า โลกมากขึ้นอาจโชคดีจะได้เห็นขั้วน้ำแข็งบนดาวอังคารก็ได้ และชมความสวยงามวงแหวนของดาวเสาร์ 07.30 น. - รับประทานอาหารเช้า และเก็บสัมภาระให้เรียบร้อย 08.30 น. - ออกเดินทางไปชมพรรณพืชผัก ผลไม้ ไม้ดอกไม้ประดับในโครงการหลวงอินทนนท์ที่บ้านขุนวาง และลง มาเที่ยวชมน้ำตกวชิรธาร น้ำตกแม่กลาง มาแวะทานอาหารกลางวันในตัวเมืองเชียงใหม่ 13.00 น. - ออกเดินทางจากเชียงใหม่กลับสู่กรุงเทพฯ 21.30 น. - ถึงกรุงเทพฯ รถมาจอดที่สมาคมดาราศาสตร์ไทยโดยสวัสดิภาพ |
• รับสมัครร่วมกิจกรรมจำนวนจำกัด 30 ท่านเท่านั้น • ปิดรับสมัครวันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2550 ค่าสมัครลงทะเบียน ท่านละ 4,100 บาท 2 ท่าน ๆ ละ 4,000 บาท 3 ท่าน ๆ ละ 3,900 บาท • ค่าใช้จ่ายการลงทะเบียนแยกรายการดังนี้ 1. ค่ารถยนต์ตู้ 2. ค่าอาหารรวม ๗ มื้อ 3. ค่าที่พักนอนเต้นท์พร้อมเครื่องนอน เช่น ถุงนอน หมอน ของอุทยานแห่งชาติฯ 4. ค่าประกันอุบัติเหตุ 5. ค่าเอกสารประกอบบรรยาย แผนที่ฟ้าหรือแผนที่ดูดาวพร้อมไฟฉายแดง • สิ่งที่ต้องเตรียมเอาไป 1. เสื้อกันหนาว 2. หมวกกันน้ำค้าง 3. ถุงมือกันหนาว 4. ถุงนอนหรือผ้าห่ม(ถ้ามี) 5. กล้องสองตาหรือกล้องส่องทางไกล(ถ้ามี) 6. ยารักษาโรคประจำตัว 7. ของใช้ส่วนตัวที่จำเป็น |
• ติดต่อสอบถามรายระเอียดได้ที่ คุณ กวี สุขะตุงคะ ปฏิคมสมาคมฯ มือถือ 089-005-1152 คุณ พรชัย รังษีธนะไพศาล เหรัญญิกสมาคมฯ มือถือ 081-833-6511 บ้าน 0-2882-0489 (20.00 น.- 24.00 น.) ทำงาน 0-2234-9988 ต่อคุณ อ๊อด (9.00 น.- 17.00 น.) จันทร์-ศุกร์ คุณ สุกัญญา พึ่งผลงาม เจ้าหน้าที่สมาคมฯ มือถือ 086-8891672 เบอร์สมาคมฯ 0-2381-7409, 0-2381-7410 เวลาทำการ 9.00 น.- 17.00 น. จันทร์-เสาร์ หรือดูรายละเอียดได้ที่ https://thaiastro.nectec.or.th หน้ากิจกรรม การรับสมัคร กรอกรายละเอียดในใบสมัครให้ครบถ้วนเรียบร้อย ชำระค่าสมัครลงทะเบียนตามรายละเอียดในใบสมัคร ในกรณีชำระเป็นเช็คเงินสด หรือ ฝากเงินโอนผ่านทาง ธนาคารกสิกรไทย บัญชีออมทรัพย์ สาขาสุขุมวิท 57 เลขที่บัญชี 046-2-62032-2 กรุณาส่งสำเนาใบนำฝาก โอนเงินพร้อมใบสมัครมาทางโทรสารที่หมายเลข 0-2381-7410 มาด้วยนะค่ะ หมายเหตุ กำหนดการดังกล่าวข้างต้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม แล้วพบกันนะค่ะ |
ดาวโหลด |