สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวเสาร์เพ็ญใกล้โลก ที่สุดในรอบปี 2560

สมาคมดาราศาสตร์ไทย เชิญชวนประชาชนผู้สนใจร่วมกิจกรรม 
Star Party  ส่องฟ้าชม ราชาแห่งวงแหวน  "ดาวเสาร์เพ็ญใกล้โลก ที่สุดในรอบปี 2560
Saturn Opposition 2017"
ในวันพฤหัสบดีที่ 15 มิถุนายน 2560


วันพฤหัสบดีที่ 15 มิถุนายน 2560 ดาวเสาร์โคจรมาอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ Opposition ซึ่งมีโลกอยู่ตรงกลางระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเสาร์ เรียงเป็นเส้นตรง ใกล้โลกที่ระยะห่างจากโลก 1,352 ล้านกิโลเมตร ทำให้มองเห็นดาวเสาร์สว่างสดใสบนท้องฟ้าในรอบปี 2560 เมื่อดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าไปแล้วจะเห็นดาวเสาร์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่เวลา 19: 24 น.- 05:22 น.ตกทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เราจะเห็นได้ตลอดทั้งคืน

          และในปีนี้สิ่งที่น่าสนใจ วงแหวนของดาวเสาร์จะเอียงคะแคงเข้าหาโลกดูสวยงาม สามารถมองเห็นช่องว่างระหว่างวงแหวนที่เรียกว่า ช่องว่างแคสซินี่ Cassini ผ่านกล้องโทรทรรศน์ตั้งแต่หน้ากล้อง นิ้ว ขึ้นไปได้
          ภายในกิจกรรม ให้ความรู้ข้อมูลดาวเสาร์ วงแหวนดาวเสาร์เกิดขึ้นได้อย่างไร ชื่อที่มาของยานอวกาศ Cassini และภารกิจยานอวกาศสำรวจดาวเสาร์ Cassini ที่กำลังสำรวจดาวเสาร์เผยภาพและข้อมูลใหม่ล่าสุด ที่อยู่ในภารกิจช่วงสุดท้าย ที่ทำหน้าที่สำรวจดาวเสาร์ ดวงจันทร์ไททัน ดวงจันทร์บริวารที่ใหญ่ที่สุด และดวงจันทร์เอนเซลาดัส ดวงจันทร์น้ำแข็ง มีมหาสมุทรที่ประกอบด้วยน้ำ ที่เชื่อว่ามีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตต่างดาวพวกจุลินทรีย์ ก่อนที่ยาน Cassini จะทำลายตัวเองโดยพุ่งเข้าสู่บรรยากาศของดาวเสาร์เดือนกันยายนปีนี้


          ทั้งนี้ยังให้ความรู้ผู้ที่ต้องการอยากดูดาว บรรยายการดูดาวเบี้องต้น การใช้แผนที่ฟ้า (แผนที่ดาว) ของสมาคมดาราศาสตร์ไทย เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ดูดาวที่ถูกต้องกับกลุ่มดาวบนท้องฟ้าจริง และการวัดมุมดาวเขาใช้วัดกันอย่างไร

           บริการตั้งกล้องโทรทรรศน์หลายขนาด ให้ชมแถบชั้นบรรยากาศดาวพฤหัสบดี และดวงจันทร์บริวาร  ดวงใหญ่ และวงแหวนดาวเสาร์


           มีการถ่ายทอดสดภาพดาวเสาร์จากกล้องโทรทรรศน์ ขึ้นจอภาพให้เห็นดาวเสาร์ขนาดใหญ่และช่องว่าง Cassini           

           ร่วมสนุก ลุ้น รางวัลกับกิจกรรมตอบปัญหาดาราศาสตร์ ชิงรางวัลจากสมาคมดาราศาสตร์ไทย โมเดลดาวเสาร์, โมเดลระบบสุริยะ และโมเดลดาวพฤหัสบดี


           และช่วงสุดท้ายมาลุ้นรางวัลใหญ่ จับรางวัลหาผู้โชคดีที่อยู่ในงาน รับรางวัลใหญ่ เดียว เป็นโมเดลจำลองยานอวกาศสำรวจดาวเสาร์ Cassini มีแห่งเดียวในประเทศไทยที่ สมาคมดาราศาสตร์ไทย

            ภายในงานเรามีจุดตั้งกล้องโทรทรรศน์ให้ท่านได้ใช้กล้อง Smart Phone หรือกล้องชนิดใดก็ได้ถ่ายดาวเสาร์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ไว้เป็นที่ระลึก หรือท่านอยากจะอวดภาพถ่ายของท่านกับเพื่อนๆ
หรือจะส่งภาพถ่ายดาวเสาร์ของท่านเข้าประกวด
กับสมาคมดาราศาสตร์ไทย "การประกวดภาพถ่ายดาวเสาร์เพ็ญใกล้โลก ที่สุดในรอบปี 2560"

            ลุ้น ชิงรางวัลใหญ่ เป็นโมเดลจำลองยานอวกาศสำรวจดาวเสาร์ Cassini  พร้อมกับโมเดลดาวเสาร์ขนาดใหญ่ ดวงด้วย

             รางวัลอันดับ เป็นรางวัล แผนที่ฟ้า (แผนที่ดาว) แผ่น ของสมาคมดาราศาสตร์ไทย 
             รางวัลชมเชย เป็นดาวเสาร์ขนาดใหญ่ ดวง

กติกาการส่งภาพเข้าประกวด

1. ถ่ายภาพดาวเสาร์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ในงานเท่านั้น
2. ถ่ายภาพตัวท่านเองกับกล้องโทรทรรศน์ ที่ท่านถ่ายผ่านกล้องโทรทรรศน์
3. โพสต์ภาพถ่ายส่งมาที่เพจ Facebook สมาคมดาราศาสตร์ไทย ที่ Facebook https://www.facebook.com/TheThaiAstronomicalSociety/
4.และติดแท็ก #ดาวเสาร์เพ็ญใกล้โลก2560  มาด้วย

หมายเหต จะต้องถ่ายผ่านกล้องโทรทรรศน์ในงานกิจกรรมเท่านั้น จะส่งมากี่ภาพก็ได้ การตัดสินคัดเลือกได้รางวัลเดียว
                  การตัดสินของกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

กำหนดการกิจกรรม วันพฤหัสบดีที่ 15 มิถุนายน 2560
17:30 น.  ลงเทียนร่วมกิรกรรม และรับแบบโมเดล ดาวเสาร์ท่านละ ชุด
18:00 น.  บริการตั้งกล้องโทรทรรศน์ดูดาวพฤหัสบดี พร้อมดวงจันทร์บริวาร ดวงใหญ่ พร้อมทั้งให้ความรู้ดาวเสาร์ ยานสำรวจ Cassini บรรยายให้ความรู้การดูดาวเบี้องต้น การใช้แผนที่่ฟ้า(แผนที่ดาว)ของสมาคมดาราศาสตร์ไทย
20:00 น. ชมการถ่ายทอดสด ดาวเสาร์ขึ้นจอใหญ่ ดูดาวเสาร์ผ่านกล้องโทรทรรศน์
21:30 น. ร่วมตอบปัญหาดาราศาสตร์ ชิงรางวัลจากสมาคมฯ
และจับรางวัลหาผู้โชคดี จะได้รับโมเดลจำลองยานอวกาศสำรวจดาวเสาร์ Cassini
22:00 น. ปิดกรรม

หมายเหตุ ##กิจกรรมนี้บริการ ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย
##ทุกท่านที่มาร่วมกิจกรรมลงทะเบียนจะได้รับแบบโมเดลดาวเสาร์ท่านละ ชุด (นำไปประกอบเอง)

***กิจกรรมนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมกับสภาพท้องฟ้า อากาศ เพราะช่วงเดือนนี้เข้าสู่ฤดูฝนอาจจะมีฝนตกได้ ทางสมาคมดาราศาสตร์ไทย จะคอยตรวจสอบสภาพอากาศจากการพยากรอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา ทุกวันก่อนที่จะถึงวันงานกิจกรรม จะแจ้งให้ทราบว่าจะมีการเปลื่อนแปลงหรือไม่ถ้าค่ำวันนั้นพยากรว่าเกิดฝนตก

แล้วพบกันที่ บริเวณข้างอาคารศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ถนนสุขุมวิท (เอกมัย) คลองเตย กรุงเทพฯ



ติดต่อสอบถามได้ที่ สมาคมดาราศาสตร์ไทย 928 ชั้น อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทร: 02-3817409-10