สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ชวนส่องดูปรากฏการณ์ปลายเดือนกรกฎาคม “ดาวอังคารใกล้โลกที่สุด สว่างที่สุดในรอบ 15 ปี”

              เดือนกรกฎาคมของทุกๆ ปีของบ้านราอยู่ในช่วงฤดูฝน ท้องฟ้าปิด มีฝนตกเกือบทุกภาคเป็นอุปสรรคในการออกไปดูดาว แต่ปลายเดือนนี้จะมีปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจและน่าติดตามชมอย่างยิ่ง วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ดาวอังคารโคจรมาอยู่ ณ ตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ (ดาวอังคารเพ็ญ)  (Mars Opposition) มาใกล้โลกด้วยมีความสว่างที่โชติมาตรปรากฏ -2.8 และถัดมาอีก วัน ดาวอังคารโคจรเข้ามาใกล้โลกมากขึ้น วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.  2561 เป็นวันที่ดาวอังคารใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 15 ปี ที่เคยเข้าใกล้โลกมากที่สุดเมื่อปี พ.ศ. 2546


           โลก และดาวเคราะห์ในระบบสุริยะโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบที่แตกต่างกัน เราเรียกจังหวะเวลาที่ดวงอาทิตย์ โลก และดาวอังคารโคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน โดยมีโลกอยู่ตรงกลาง ดาวอังคารมาอยู่ ณ ตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ (หรือที่เรียกว่า ดาวอังคารเพ็ญ) ช่วงเวลาที่ดาวอังคารใกล้โลกมากที่สุดนั้น ดาวอังคารจะขึ้นทางทิศตะวันออก ขณะที่ดวงอาทิตย์ตกทางทิศตะวันตก และปรากฏอยู่บนท้องฟ้าตลอดทั้งคืนจนกระทั่งคล้อยต่ำลงและตกทางทิศตะวันตก ขณะที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืด โดยเฉลี่ยดาวอังคารจะอยู่ตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เกิดขึ้นทุกๆ ปี เดือน และดาวอังคารจะเข้าใกล้โลกมากที่สุดทุก 15 ปี และ 17 ปี

              แต่ละครั้งที่ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ดาวอังคารจะมีระยะห่างจากโลกไม่เท่ากัน สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากดาวอังคารมีวงโคจรที่เป็นวงรีค่อนข้างมาก ขณะที่ดาวอังคารอยู่ที่ตำแหน่งใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ดาวอังคารจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 207 ล้านกิโลเมตร แต่เมื่อถึงตำแหน่งไกลจากดวงอาทิตย์ที่สุด ดาวอังคารจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 249 ล้านกิโลเมตร ดังนั้นหากดาวอังคารมาอยู่ ณ ตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ในช่วงเวลาใกล้เคียงกับที่มันเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ดาวอังคารก็จะมีระยะห่างที่ใกล้โลกมากเป็นพิเศษ ซึ่งทำให้ดาวอังคารมีความสว่างมากและมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าในช่วงเวลาอื่น ๆ เมื่อดูด้วยกล้องโทรทรรศน์ ครั้งล่าสุดที่เกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ คือ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2546 มีความสว่างปรากฏ -2.9 และจะเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 27 กรกฎาคมของปีนี้ มีความสว่างปรากฏ  -2.8


          ดาวอังคารโคจรมาอยู่ ณ ตำแน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ หรือดาวอังคารเพ็ญ  (Mars Opposition) วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 จะเห็นได้ต่อเมื่อดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตก ดาวอังคารจะขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เวลาหัวค่ำ จะเห็นดาวอังคารได้ดีเวลาประมาณ 19:30 น. มองเห็นดวงอังคารสว่างมากเป็นพิเศษ สว่างกว่าดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ ด้วยความสว่างปรากฏ -2.8 เห็นได้ตลอดทั้งคืนไปจนถึงรุ่งเช้าวันใหม่ ดาวอังคารปรากฏอยู่ในกลุ่มดาวเพาะทะเล (Capricornus) อยู่ระยะห่างจากโลก 0.39 หน่วยดาราศาสตร์ (58.3 ล้านกิโลเมตร) มีขนาดปรากฏ 24.2 พิลิปดา และครั้งต่อไปดาวอังคารโคจรอยู่ ณ ตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์อีก วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2578 (ค.ศ. 2035) ที่ระยะห่างจากโลก 0.38 หน่วยดาราศาสตร์ (56.8 ล้านกิโลเมตร) มีความสว่างปรากฏ -2.8 ถัดมาอีก วันดาวอังคารเข้ามาใกล้โลกมากขึ้นวันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.  2561 สิ้นเดือนนี้ ดาวอังคารจะเข้าใกล้โลกมากที่สุด สว่างมากที่สุดในรอบ 15 ปี (Mars Closest Approach) ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ครั้งนั้นมีความสว่างปรากฏ -2.9 ครั้งนี้ดาวอังคารมีความสว่างปรากฏ -2.8 มีความสว่างมากกว่าดาวพฤหัสบดี อยู่ห่างจากโลก 0.385 หน่วยดาราศาสตร์ (57.6 ล้านกิโลเมตร) มีขนาดปรากฏ 24.2 พิลิปดา ดาวอังคารเคยเข้าใกล้โลกมากกว่าการเข้าใกล้ในปีนี้ เมื่อปี 57,617 ก่อนคริสต์ศักราช และจะเข้าใกล้มากกว่าครั้งนี้อีกเล็กน้อยในปี ค.ศ. 2287 นั่นหมายความว่าโลกและดาวอังคารไม่เคยเข้าใกล้กันมากเท่านี้มาเกือบ 60,000 ปีแล้ว แม้ว่าข้อมูลดังกล่าวดูจะน่าตื่นเต้น แต่ความจริงก็คือ ในทางปฏิบัติขนาดปรากฏที่มองเห็นได้นั้นไม่ต่างกันมาก และครั้งนี้เป็นโอกาสดีที่ดาวอังคารใกล้โลกมากที่สุด ถ้ามองผ่านกล้องโทรทรรศน์จะเห็นรายละเอียดของดาวอังคารได้ชัดเจนและมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติ นอกจากค่ำคืนวันดังกล่าวได้เห็นดาวอังคารที่มีความสว่างมากที่สุดแล้ว ยังได้เห็นดาวเคราะห์อีก ดวง เช่น ดาวศุกร์, ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ด้วย ดาวศุกร์ปรากฏอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต ทางทิศตะวันตก เห็นได้หลังจากดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าไปแล้ว ที่มุมเงยประมาณ 30 องศา ถัดมาเห็นดาวพฤหัสบดีปรากฏอยู่ในกลุ่มดาวคันชั่ง สูงจากขอบฟ้ากลางศรีษะ (จุดจอมฟ้า) ทางทิศใต้ ถัดมาดาวเสาร์ปรากฏอยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้สูงจากขอบฟ้าประมาณ 30 องศา ถ้าไปดูสถานที่ไม่มีแสงไฟรบกวน ดาวเสาร์จะอยู่ท่ามกลางทางช้างเผือก และถัดมาดาวเคราะห์ที่เป็นพระเอกวันนี้ ที่สว่างที่สุดสีส้มเด่น สว่างกว่าดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ คือ ดาวอังคารอยู่ในกลุ่มดาวเพาะทะเล ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จะเห็นได้ดีเวลา 19:30 น. ดาวอังคารจะสูงจากขอบฟ้าที่มุมเงยประมาณ 30 องศา มองเห็นได้ตลอดทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้าวันใหม่  ถ้าพลาดชมดาวอังคารใกล้โลกมากที่สุดครั้งนี้ต้องรอไปจนถึงวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2575 (ค.ศ. 2035) ที่ระยะห่างจากโลก  0.38 หน่วยดาราศาสตร์ (56.8 ล้านกิโลเมตร) มีความสว่างปรากฏ -2.8



              สมาคมดาราศาสตร์ เชิญชวนประชาชนชาวกรุงเทพฯ และปริมณฑล ร่วมกิจกรรม “ดาวอังคารใกล้โลกที่สุด สว่างที่สุดในรอบ 15 ปี” วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ตั้งแต่เวลา 18:30 น. – 22:00 น. ที่สมาคมดาราศาสตร์ ข้างสนามฟุตซอลติดกับอาคาร ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) ถนนสุขุมวิท (เอกมัย) แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ สมาคมดาราศาสตร์ไทยบริการตั้งกล้องโทรทรรศน์หลายขนาดมาให้ส่องดูดาวเคราะห์ทั้ง ดวง ให้ความรู้เรื่องดาวอังคาร โดยวิทยากรสมาคมฯ ชมนิทรรศการภาพพื้นผิวดาวอังคาร มิติ ชมยานสำรวจที่ลงจอดพื้นผิวดาวอังคารจำลอง มีกิจกรรมถาม – ตอบปัญหาดาราศาสตร์ชิงรางวัลจากสมาคมดาราศาสตร์ไทย  

กิจกรรมครั้งนี้ บริการ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

กำหนดการกิจกรรม วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

18:00 น. – ลงทะเบียนร่วมกิจกรรมที่สมาคมดาราศาสตร์ไทย (หน้างานกิจกรรม)
18:30 น. – บริการตั้งกล้องโทรทรรศน์มีหลายขนาด ถ้าวันนี้ท้องฟ้าเปิดไม่มีเมฆจะได้เห็นดาวเคราะห์ ทั้ง ดวงบนท้องฟ้า เช่น ดาวศุกร์, ดาวพฤหัสบดี, ดาวเสาร์ และดาวเคราะห์ที่เป็นพระเอกวันนี้ ที่สว่างที่สุดสีส้มเด่น ที่มีความสว่างกว่าดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ คือ ดาวอังคาร ปรากฏอยู่ในกลุ่มดาวเพาะทะเล ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จะเห็นได้ดีเวลา 19:30 น. อยู่สูงเป็นมุมเงยประมาณ  30 องศา สมาคมดาราศาสตร์ไทยบริการให้ผู้ที่จะถ่ายภาพดาวเคราะห์เก็บไว้เป็นที่ระลึก โดยนำโทรศัพท์มือถือมาต่อ (จุ่ม) ที่เลนส์ตาของกล้องโทรทรรศน์ได้ ที่ทางสมาคมฯ จัดกล้องไว้ให้ ระหว่างที่ชมดาวเคราะห์อยู่นั้น จะมีวิทยากรสมาคมฯ มาบรรยายให้ความรู้เรื่องดาวอังคารด้วย
21:00 น. – กิจกรรม ถาม – ตอบปัญหาดาราศาสตร์ กับสมาคมดาราศาสตร์ไทยเพื่อจะมอบรางวัลแก่ผู้ที่ตอบปัญหาดาราศาสตร์ที่ถูกต้อง
22:00 น. – ปิดกิจกรรม ชมดาวอังคารใกล้โลกที่สุด สว่างที่สุดในรอบ 15 ปี

หมายเหตุ กิจกรรมครั้งนี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม เรื่องสภาพอากาศท้องฟ้า ซึ่งในเดือนกรกฎาคมทุกปี บ้านเราอยู่ในช่วงฤดูฝน ถ้าวันดังกล่าวท้องฟ้ามีเมฆมาก ฝนตก ทางสมาคมจะแจ้งให้ทราบ

ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
สมาคมดาราศาสตร์ไทย เลขที่ 928 ชั้น อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทร: 02-3817409 – 10
หรือที่คุณ สุกัญญา พึ่งผลงาม (เจ้าหน้าที่สมาคมดาราศาสตร์ไทย โทร 086-8891672
E-mail thaiastro@hotmail.com
Website thaiastro.nectec.or.th  
Facebook Fan page https://www.facebook.com/TheThaiAstronomicalSociety