สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ประเทศใดจะเห็นดวงอาทิตย์ ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2000 เป็นประเทศแรก

ประเทศใดจะเห็นดวงอาทิตย์ ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2000 เป็นประเทศแรก

1 ธันวาคม 2543 โดย: นิพนธ์ ทรายเพชร
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 8 ธันวาคม 2559

ดวงอาทิตย์เป็นเครื่องบอกเวลา


เราใช้ดวงอาทิตย์เป็นเครื่องบอกเวลา เพราะทุกคนรู้จักดวงอาทิตย์ คนบนโลกมีดวงอาทิตย์ดวงเดียวกัน ดาวดวงอื่นรวมทั้งดวงจันทร์ก็บอกเวลาได้เหมือนกัน แต่มีดาวมากเหลือเกิน คนทั่วไปไม่ค่อยรู้จัก จึงใช้ดาวไม่สะดวก ดวงจันทร์ก็สู้ดวงอาทิตย์ไม่ได้ นอกจากวันขึ้น-แรมที่ต้องอาศัยดวงจันทร์เท่านั้น

เราทราบว่าโลกได้หมุนรอบตัวเองครบ รอบ แล้ว โดยการดูดวงอาทิตย์หรือดวงดาว เช่น เวลาระหว่างการเห็นดวงอาทิตย์อยู่สูงสุดในวันนี้จนกระทั่งถึงเวลาที่เห็นดวงอาทิตย์อยู่สูงสุดในวันถัดไปเรียกว่า โลกได้หมุนรอบตัวเองแล้ว รอบ หรือ วัน เทียบกับดวงอาทิตย์ ซึ่งมีอยู่ 24 ชั่วโมง แต่เวลาระหว่างการเห็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งอยู่สูงสุดในวันนี้ถึงเวลาที่เห็นดาวดวงนี้อยู่สูงสุดในวันถัดไปเรียกว่า วันเทียบกับดาวฤกษ์ ซึ่งสั้นกว่า วัน เทียบกับดวงอาทิตย์อยู่ นาที ทั้งนี้เพราะในระหว่างที่โลกหมุนรอบตัวเองนั้นโลกก็เคลื่อนไปรอบดวงอาทิตย์ด้วย ทำให้เราเห็นว่า ดวงอาทิตย์บนฟ้าเลื่อนไปทางตะวันออกของตำแหน่งเดิมวันละประมาณ องศา ทิศทางการหมุนรอบตัวเองและทิศทางการเครบลื่อนรอบดวงอาทิตย์ของโลกไปทางเดียวกันคือจากตะวันตกไปตะวันออก ดังนั้นโลกจึงต้องหมุนไปอีกประมาณ องศา หรือ นาที จึงจะเห็นดวงอาทิตย์อยู่ที่เก่า

นี่คือสาเหตุที่ทำให้เราเห็นกลุ่มดาวฤกษ์ขึ้นเร็วขึ้นกว่าคืนก่อน คืนละ นาที หรือเห็นอยู่ที่เก่าในเวลาที่เร็วขึ้นคืนละ นาที

เส้นลองจิจูด องศา เส้นลองจิจูด 105 องศาตะวันออก และเส้นแบ่งเขตวัน


โลกกลมและหมุนรอบตัวเองจากตะวันตกไปตะวันออก โดยหมุนรอบแกนสมมติที่ผ่านขั้วโลกเหลือและขั้วโลกใต้ ทำให้เราเห็นดวงอาทิตย์ ดวงดาวทั้งหลายขึ้นทางฟ้ากฟ้าตะวันออกและตกทางฟากฟ้าตะวันตก แต่เวลาที่ดาวขึ้นไม่ใช่เวลาเดียวกันสำหรับทุกประเทศ นอกจากนี้เวลาขึ้นของดวงอาทิตย์ในแต่ละวันของแต่ละสถานที่ก็ไม่คงที่ด้วย สาเหตุเป็นเพราะแกนโลกเอียงและโคจรรอบดวงอาทิตย์

เพื่อให้สามารถบอกตำแหน่งของสถานที่ต่าง ๆ บนโลก ตลอดทั้งเปรียบเทียบเวลาระหว่างกันได้จำเป็นต้องมีพิกัด เช่น กรุงเทพฯ อยู่ที่พิกัด 100.5 องศาตะวันออก และ 13.75 องศาเหนือ เส้นโค้งตามผิวโลกที่ผ่านกรุงเทพฯ ไปยังขั้วโลกทั้งสองเรียกว่า เส้นลองจิจูด (เส้นแวง) 100.5 องศาตะวันออก ส่วนเส้นโค้งรอบโลกที่ตั้งฉากกับเส้นลองจิจูดและผ่านกรุงเทพฯ คือ เส้นละติจูด (เส้นรุ้ง) 13.75 องศาเหนือ พิกัดบนผิวโลกต้องบอกทั้งลองจิจูดและละติจูด

ลองจิจูด (longitude) มักเขียนผิดเป็นลองติจูดอยู่บ่อย ๆ เดิมเรียกว่า แวง (ภาษาเขมรแปลว่า ยาว ตรงกับภาษาอังกฤษว่า long) ซึ่งน่าจะสั้นดี เช่นเดียวกับที่เดิมเราเรียกละติจูดว่า รุ้ง จึงมีคำกล่าวให้จำได้ง่ายดังนี้ "รุ้งตะแคง แวงตั้ง"

เส้นลองจิจูด องศา คือ เส้นลองจิจูดที่ผ่านประเทศอังกฤษที่กรีนิช เป็นเส้นสำคัญที่ทุกประเทศต้องใช้เทียบเวลา ตามข้อตกลงระหว่างประเทศเมื่อ พ.ศ. 2427 ประเทศที่อยู่ทางทิศตะวันออกของอังกฤษจะอยู่บนลองจิจูดตะวันออก เช่น กรุงเทพฯ อยู่ที่ลองจิจูด 100.5 องศาตะวันออก ส่วนลองจิจูด 105 องศาตะวันออกผ่านอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี และตะวันออกสุดประเทศไทยผ่านอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี (ลองจิจูด 105.54 องศาตะวันออก) ตะวันตกสุดผ่านอำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา (ลองจิจูด 98.3 องศาตะวันออก)

ลองจิจูดเกี่ยวข้องกับเวลา เวลามาตรฐานของประเทศไทย ตั้งตามลองจิจูด 105 องศาตะวันออก นั่นคือ เวลาของประเทศไทยจะเร็วกว่าเวลาที่อังกฤษอยู่ 105/15 หรือ ชั่วโมง (15 องศา ชั่วโมง) เช่น ถ้าอังกฤษเป็นเวลา นาฬิกาหรือเที่ยงคืน ประเทศไทยจะเป็นเวลา นาฬิกา อำเภอหรือจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทยที่อยู่ลองจิจูดเดี่ยวกันและไม่อยู่บนลองจิจูด 105 องศาตะวันออก จะมีเวลาท้องถิ่น หรือเวลาเห็นดวงอาทิตย์ขึ้น แตกต่างจากเวลามาตรฐานของประเทศ เช่น กรุงเทพฯ อยู่ที่ลองจิจูด 100.5 องศาตะวันออกจะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นช้ากว่า อุบลราชธานี (105 100.5) หรือ 18 นาที (1 องศา นาที) แต่อำเภอโขงเจียมจะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นเร็วกว่ามาตรฐานของประเทศ 0.54 หรือ 2.16 นาที เพราะโขงเจียมอยู่ที่ลองจิจูด 105.54 องศาตะวันออก

ประเทศที่อยู่ทางตะวันตกของอังกฤษจะอยู่บนลองจิจูดตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกาอยู่ระหว่างลองจิจูด 67 องศาตะวันตกถึงลองจิจูด 125 องศาตะวันตก เวลาเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นของแต่ละรัฐต่างกันมาก จึงจำเป็นต้องมีเวลามาตรฐานถึง เขต แต่ละเขตต่างกัน ชั่วโมง เช่น เขตตะวันออกด้านนิวยอร์คจะเร็วกว่าเขตตะวันตกด้านแคลิฟอร์เนียถึง ชั่วโมง

เส้นแบ่งเขตวันสากล (international date line) ตรงกับเส้นลองจิจูด 180 องศา ยกเว้นบางส่วนที่อ้อมเกาะเพื่อให้หมู่เกาะเหล่านี้อยู่ในเขตวันเดียวกัน ลองจิจูดตะวันออกจะเร็วกว่าลองจิจูดตะวันตก เช่นที่ลองจิจูดตะวันตกเป็นวันอาทิตย์ พอข้ามเส้นเขตวันสากลไปทางลองจิจูดตะวันออกจะเป็นวันจันทร์ นั่นคือ การข้ามเขตวันไปทางตะวันตก ในทางกลับกัน ถ้าข้ามเขตวันไปทางลองจิจูดตะวันตก วันจะช้ากว่า จากวันจันทร์เป็นวันอาทิตย์ เป็นต้น

เวลาดวงอาทิตย์ขึ้น ณ ที่ต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง?


เวลาดวงอาทิตย์ขึ้นในที่ต่าง ๆ ในโลกขึ้นอยู่กับละติจูด และลองจิจูดของที่นั้น ๆ หากแกนโลกตั้งตรง เวลาขึ้นของดวงอาทิตย์จะเปลี่ยนแหลงตามลองจิจูดอย่างเดียว แต่แกนโลกเอียงเวลาขึ้นของดวงอาทิตย์จึงขึ้นอยู่กับละติจูดด้วย ในเดือนมกราคม ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูหนาวของประเทศในซีกโลกเหนือ ขั้วโลกเหนือหันออกจากดวงอาทติย์ โดยหันออกมาที่สุดในวันที่ 22 ธันวาคม คนที่อยู่ทางใต้จะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นเร็วกว่าคนที่อยู่ทางเหนือ แต่ถ้าเป็นฤดูร้อนขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์ คนที่อยู่ทางเหนือจะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นเร็วกว่าคนที่อยู่ทางใต้

วันที่ มกราคม ค.ศ. 2000 ที่ใดในประเทศไทยเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นก่อน


เมื่อพิจารณาลองจิจูดและละติจูดของอำเภอต่าง ๆ ในประเทศไทยแล้ว จะพบว่า บ้านตาบา อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส (ละติจูด 6.24 องศาเหนือ ลองจิจูด 102.09 องศาตะวันออก) ในวันที่ มกราคม ค.ศ. 2000 ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 6.21.56 (6 นาฬิกา 21 นาที 56 วินาที) เร็วกว่าอำเภอเมืองนราธิวาส (ละติจูด 6.42 องศาเหนือ ลองจิจูด 101.81 องศาตะวันออก) ซึ่งดวงอาทิตย์จะขึ้นเวลา นาฬิกา 23 นาที 10 วินาที ในขณะที่ตะวันออกสุดของประเทศ ณ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา นาฬิกา 24 นาที 41 วินาที

ส่วนกรุงเทพมหานครดวงอาทิตย์ในวันปีใหม่ขึ้นเวลา นาฬิกา 41 นาที 45 วินาที

ดังนั้น บ้านตาบา อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จึงเป็นสถานที่ที่จะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นก่อนที่อื่นในวันปีใหม่ โดยขึ้นเร็วกว่าอำเภอเมืองนราธิวาส นาที

สถานที่ละติจูด (องศา)ลองจิจูด (องศาตะวันออก)เวลาดวงอาทิตย์ขึ้นตามละติจูดแก้ตามลองจิจูดเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น ม.ค. 43
อ.เมือง จ.นราธิวาส6.42101.816:10.6ช้า 18.766:23.16
อ.ตากใบ จ.นราธิวาส6.26102.066:10.3511.766:22.11
บ้านตาบา อ.ตากใบ จ.นราธิวาส6.24102.096:10.311.646:21.94
อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส6.03101.966:1012.166:22.16
นิคมสร้างตนเองแว้ง อ.แว้ง จ.นราธิวาส5.85101.886:09.612.486:22.08
บ้านโต๊ะโม๊ะ กิ่งอ.สุคิริน จ.นราธิวาส5.77101.696:09.513.246:22.74
อ.เบตง จ.ยะลา5.79101.076:09.515.726:25.22
อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี15.30105.546:26:85เร็ว -2.166:24.69
อ.บุณฑริก จ.อุบลราชธานี14.74105.456:25.5-1.806:23.7
อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี14.51105.266:25.1-1.046:24.06
กทม.13.76100.56:23.7518.006:41.75
เชียงใหม่18.7998.996:32.824.16:56:9
ขอนแก่น16.42102.846:28.58.646:37.14
ประจวบคีรีขันธ์11.8199.806:20.320.86:41.1


ในวันที่ มกราคม ค.ศ. 2000 ขณะที่อังกฤษเป็นเวลา นาฬิกา ที่ใดบ้างเห็นดวงอาทิตย์กำลังขึ้น

เมื่อถึงเวลา นาฬิกาของวันปีใหม่ ค.ศ. 2000 ที่อังกฤษ คนในประเทศไทยจะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นสูงแล้ว เพราะเวลาในประเทศไทยเร็วกว่าเวลาอังกฤษ ชั่วโมง แต่จะมีบางประเทศและบางอำเภอในประเทศไทยที่เห็นดวงอาทิตย์กำลังขึ้นโดยประเทศเหล่านี้จะอยู่บนเส้นแบ่งกลางวัน-กลางคืน ด้านที่เห็นดวงอาทิตย์กำลังขึ้น ซึ่งจะไม่ขนานกับลองจิจูดใดลองจิจูดหนึ่ง เพราะเส้นนี้จะเอียงผ่านเลยขั้วโลกใต้ แต่ไม่ผ่านถึงขั้วโลกเหนือ ทำให้ผู้ที่อยู่บนลองจิจูดเดียวกันเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นไม่พร้อมกัน โดยผู้ที่อยู่ทางใต้เห็นก่อนผู้ที่อยู่ทางเหนือ

ขณะที่เป็นเวลา นาฬิกาที่อังกฤษ ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 6.00 น. ณ ลองจิจูด 90 องศาตะวันออก ละติจูด องศา นั่นคือ ขณะเริ่มต้นวันใหม่ของโลกเส้นแบ่งกลางววันกลางคืนด้านดวงอาทิตย์ขึ้นจะผ่านเส้นศูนย์สูตรตรงลองจิจูด 90 องศาตะวันตก จากปฏิทินดาราศาสตร์ 2000 (The Astronomical Almanac 2000 ของ Nautical Almanac Office, U.S. Naval Observatory ร่วมกัน H.M.'s Nautical Almanac Office ประเทศอังกฤษ) เราสามารถคำนวณได้ว่า จุดอื่น ๆ ซึ่งจะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นขณะที่เป็นเวลา นาฬิกาที่อังกฤษปรากฏดังตารางต่อไปนี้

ตารางแสดงเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นขณะเป็นเวลา นาฬิกาที่อังกฤษของวันที่ มกราคม


ตำแหน่งบนโลกเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น (นาฬิกา) ที่ยังไม่เทียบกับเวลามาตรฐานของประเทศ
ลองจิจูด (องศาตะวันออก)ละติจูด (องศาเหนือ)ตรงกับ (สถานที่)
900มหาสมุทรอินเดีย6:00
94.510ทะเลอันดามัน ใกล้หมู่เกาะอันดามัน6:18
9920เขตแดนระหว่างไทยกับพม่า (ใกล้อำเภอฝาง จ. เชียงราย)6:36
10430ประเทศจีน6:56
10735ประเทศจีน7:08
110.540ประเทศจีน7:22
11242ประเทศจีน7:28
113.7544ประเทศจีน7:35
115.546ประเทศมองโกเลีย7:42
117.548ประเทศจีน7:50
119.550ประเทศจีน7:58
12252ประเทศรัสเซีย8:08
124.7554ประเทศรัสเซีย8:19
127.7556ประเทศรัสเซีย8:31
131.2558ประเทศรัสเซีย8:45
135.560ประเทศรัสเซีย9:02
140.562ประเทศรัสเซีย9:22
14764ประเทศรัสเซีย9:48
156.2566ประเทศรัสเซีย10:25


สำหรับเขตประเทศไทยบริเวณที่อยู่บนเส้นตรงซึ่งผ่านบ้านสบเงา กิ่งอำเภอสบเมย จังหวัดตาก และบ้านแม่ยวมน้อย อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ คือ บริเวณที่จะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นในเวลา นาฬิกา วันที่ มกราคม ค.ศ. 2000 ของอังกฤษ ตัวอำเภอที่อยู่ใกล้เส้นนี้คือ กิ่งอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และกิ่งอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนบริเวณที่เส้นแบ่งกลางวันกลางคืนผ่านนอกจากสองกิ่งอำเภอนี้แล้วยังมีท้องที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ท้องที่อำเภอฝาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

วันที่ มกราคม ค.ศ. 2000 ของประเทศใดที่เห็นดวงอาทิตย์ขึ้นเป็นประเทศแรก


ประเทศต่าง ๆ ในโลกเริ่มต้นวันใหม่เมื่อเวลา นาฬิกา ตามเวลามาตรฐานของประเทศตน ซึ่งเมื่อเทียบกับเวลาที่อังกฤษแล้วจะไม่ตรงกัน เช่น นาฬิกาที่อังกฤษตรงกับ นาฬิกาของประเทศไทย หรือตรงกับ 12 นาฬิกาของประเทศนิวซีแลนด์

ประเทศที่อยู่ทางตะวันออกของอังกฤษ ซึ่งได้แก่ ประเทศที่อยู่บนลองจิจูดตะวันออกทั้งหลาย จะถึงวันปีใหม่ก่อนอังกฤษ ถ้าดูในแผนที่โลกจะพบว่า ประเทศใต้สุดที่อยู่ใกล้เส้นลองจิจูด 180 องศาตะวันออกที่สุด คือ ประเทศนิวซีแลนด์ ดังนั้น นิวซีแลนด์จึงจะเป็นประเทศแรกที่มีวันขึ้นใหม่ก่อนประเทศอื่น ๆ รวมถึงการเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นในวันใหม่เป็นประเทศแรกด้วย โดยเฉพาะเป็นช่วงฤดูร้อนของซีกโลกใต้ ซึ่งดวงอาทิตย์ขึ้นเร็วกว่าเดือนอื่น 

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตำแหน่งของโลกในทางโคจร



เราทราบแล้วว่าโลกเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์รอบละ ปี ในขณะเดียวกันดวงอาทิตย์ก็พาโลกและบริวารเคลื่อนที่รอบศูนย์กลางของดาราจักรทางช้างเผือกรอบละกว่า 200 ล้านปี เพราะฉะนั้น ตำแหน่งของโลกจึงเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาเมื่อเทียบกับดาวในดาราจักรทางช้างเผือก สำหรับตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะอาจจะเรียกได้ว่ามีทางโคจรค่อนข้างคงที่เทียบกับดวงอาทิตย์ แต่เมื่อเราเอาจำนวนวันในรอบปีมาทำปฏิทินในยุคปัจจุบันซึ่งเรียกว่า ปฏิทินเกรกอรี เราใช้ ปี 365.2425 วัน ในขณะที่โลกใช้เวลา 365.2422 วันเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์ นักดาราศาสตร์เรียก 365.2425 วันว่า ปีปฏิทิน และเรียก 365.5422 วันว่า ปีฤดูกาล ตัวเลขนี้บอกให้ทราบว่า โลกตามปฏิทินและโลกจริง ๆ ตอนสิ้นปีไม่ได้อยู่ที่เดียวกัน โดยเฉพาะเมื่อแต่ละปีมีจำนวนวันในปฏิทินเป็นเลขจำนวนเต็ม เช่น 365 วันสำหรับปีธรรมดา และ 366 วันสำหรับปีอธิกสุริทิน ทำให้เมื่อถึงเวลาสิ้นปีปฏิทินโลก จึงยังเดินทางกลับไม่ถึงที่เก่า หรือบางปีอาจเลยที่เก่าไปแล้ว


จากรูป สมมติว่าเริ่มต้นตอนสิ้นปี ค.ศ. 1996 ซึ่งเป็นปีที่มี 366 วัน เที่ยงคืนของ 31 ธันวาคม 1996 คือ นาฬิกาของวันที่ มกราคม 1997 ให้ทางโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ยาวเท่ากับโลกเดินทาง 365.2422 วัน โลกมาครบรอบวงโคจรตรงจุด X


ในวันที่ มกราคม 1997 โลกอยู่ตรงจุด ซึ่งเห็นดวงอาทิตย์อยู่ที่ P
ในวันที่ มกราคม 1998 โลกอยู่ตรงจุด ซึ่งเห็นดวงอาทิตย์อยู่ที่ Q
ในวันที่ มกราคม 1999 โลกอยู่ตรงจุด ซึ่งเห็นดวงอาทิตย์อยู่ที่ R
ในวันที่ มกราคม 2000 โลกอยู่ตรงจุด ซึ่งเห็นดวงอาทิตย์อยู่ที่ S
ในวันที่ 31 ธันวาคม 2000 โลกอยู่ตรงจุด ซึ่งเห็นดวงอาทิตย์อยู่ที่ T

ในวันที่ มกราคม 2001 โลกอยู่ตรงจุด ซึ่งเห็นดวงอาทิตย์อยู่ที่ (ตะวันตกของ A)
XB 0.2422 วัน
BC 0.2422 วัน
CD 0.2422 วัน
DE 0.2422 วัน


ดังนั้นในวันที่ มกราคม ค.ศ. 2000 โลกจึงยังเดินทางไม่ครบวงโคจร ซึงจะครบเมื่อไปถึงจุด นั่นคือ โลกต้องเดินทางไปอีก 0.2422 วัน หรือ 0.7266 วัน หรือเท่ากับหมุนไป 261.58 องศา (17.438 ชั่วโมง)

ถ้าจะเอาวันเวลาที่โลกกลับมาถึงจุดครบรอบพอดีก็ต้องเลยเวลา นาฬิกาของวันที่ มกราคม ค.ศ. 2000 ณ ลองจิจูด ไปอีก ถึง 17.438 ชั่วโมง นับว่าไม่สะดวกอย่างยิ่ง เพราะเวลาที่ละเอียดเช่นนี้เกิดความยุ่งยากในทางปฏิบัติ เนื่องจากหลายประเทศที่อยู่ทางตะวันออก เช่น ประเทศนิวซีแลนด์จะกลายเป็นวันที่ มกราคม ค.ศ. 2000 ไปแล้ว ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามธรรมชาติของปฏิทิน จึงไม่ควรคิดละเอียดไปถึงจุดที่โลกกลับมาถึงจุดเดิมในวงโคจรในโอกาสที่จะฉลองวันขึ้นปีใหม่