ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ 7 พฤษภาคม 2546
ขณะนี้รายงานพิเศษดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ จากสมาคมดาราศาสตร์ไทยได้สิ้นสุดลงแล้ว ขอขอบคุณที่ติดตามครับ ดาวพุธจะผ่านหน้าดวงอาทิตย์อีกครั้งในอีก 3 ปีข้างหน้า แต่ในปี พ.ศ. 2547 ที่จะถึงนี้ ดาวศุกร์จะเคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์เช่นกัน และมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าดาวพุธหลายเท่า ท่านสามารถติดตามความคืบหน้า และรายละเอียดของปรากฏการณ์ได้จากวารสารทางช้างเผือก และเว็บไซต์ของสมาคมดาราศาสตร์ไทยแห่งนี้ครับ
ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์
เมื่อวันที่12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404 ได้เกิดปรากฏการณ์ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ขึ้น โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้ทรงคำนวณเวลาการเกิดและประกาศให้ประชาชนทราบซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 ดังต่อไปนี้
ประกาศดาวพระเคราะห์พุธเข้าในดวงพระอาทิตย์
(ณ วันจันทร์ เดือน 11 แรม 2 ค่ำ ปีระกา ตรีศก)
มีพระบรมราชโองการให้ประกาศให้การทราบแก่ผู้จะได้อ่านประกาศนี้ทั้งปวงวันอังคาร เดือนสิบสอง ขึ้นสิบค่ำ ดาวพระเคราะห์พุธจะเข้าในดวงพระอาทิตย์ว่าตามจะเห็นที่กรุงเทพมหานคร แรกเริ่มกระทบเข้าทางทิศอีสานค่อนข้างบูรพาเห็นดำเป็นเม็ด จดขอบพระอาทิตย์แหว่งเข้าไปนิดหนึ่ง เมื่อเวลาเที่ยงแล้วกับ 14 นาที แล้วจุดดำนั้นจะเลื่อนเดินไปในดวงพระอาทิตย์โอนไปข้างทิศปัจจิมเฉียดขวางไปถึงที่ลึก เพียงเท่าส่วนที่หกของดวงพระอาทิตย์ ค่อนอยู่ข้างเหนือส่วนหนึ่งไม่ถึงกลาง ถ้าจะเป็นคราธก็ควรว่าฉฬางคคราธ เข้าไปส่วนหนึ่งหรือ 5 ส่วน จะเห็นดังนี้เมื่อเวลาบ่าย 2 โมงกับ 13 นาที แล้วจุดดำนั้นก็จะเดินไปทิศพายัพออกข้างทิศพายัพค่อนข้างทิศอุดร หลุดจากดวงพระอาทิตย์เวลาบ่าย 4 โมงกับ 20 นาที การที่เป็นดังนี้ ต่อดูด้วยกล้องส่องที่มีแว่นสีเขียวหรือน้ำเงิน หรือสีแดงสาบบังตาจึงจะเห็นได้ ด้วยดวงพระพุธเป็นจุดนั้นเล็กนัก ถ้าดูด้วยกล้องสาบด้วยกระจกสีดังนี้ คงจะเห็นได้ทุกเวลาเข้าแลถึงกลางแลออกดังทายไว้นี้แล อนึ่งเมื่อใดๆ ถ้ามีผู้ดูด้วยกล้องดังนี้ มักเห็นจุดดำแลแผลด่างในดวงพระอาทิตย์เนืองๆ เขื่องบ้างย่อมบ้าง อันนั้นมิใช่พระเคราะห์เข้าไปแต่ต่างแดนในดวงพระอาทิตย์นั้นเอง ลอยไปลอยมาหันหายไป 12 วัน 13 วันแล้วกลับมาอีก แล้วย้ายไปที่ต่างๆ จะทราบเอาแน่ไม่ได้
แต่ในครั้งนี้มิใช่อย่างนั้นพระเคราะห์จะเข้าไปเป็นแท้นานๆ ถึง 22 ปีขึ้นไปจึงมีครั้งหนึ่ง แล้วเว้นไป 2 ปีมีอีกครั้งหนึ่งเป็นธรรมดา แต่ลางทีเป็นเสียในกลางคืนที่กรุงเทพมหานครนี้ไม่เห็น ครั้งนี้จะเห็นจึงทายมาเพื่อจะให้รู้ การบนฟ้ามนุษย์สังเกตทายล่วงหน้าไว้ได้ อะไรเห็นประหลาดบนฟ้าไม่ควรที่จะเก็บเอาเป็นเหตุมาตื่นกันต่างๆ ต้นเหตุที่เป็นมีผู้รู้เขารู้ได้แล้ว ซึ่งทายครั้งนี้ทายตามเวลาซึ่งจะเห็นที่กรุงเทพมหานคร แลกรุงเก่าแลเมืองลพบุรี ถ้าจะทายตามจะเห็นในเมืองฝั่งทะเลไทยข้างตะวันออก คือ เมืองปราจีณบุรี เมืองฉะเชิงเทรา เมืองชลบุรี ต้องทายเพิ่มเข้า 2 นาทีทุกระยะ ถ้าจะทายที่เมืองจันทบุรีแลเมืองตราดต้องเพิ่มเข้าถึง 3 นาที ถ้าจะทายในเมืองฝั่งทะเลไทยข้างตะวันตกคือเมืองราชบุรี เมืองสมุทรสงคราม เมืองเพชรบุรี เมืองนครศรีธรรมราช แลเมืองฝ่ายเหนือตั้งแต่เมืองไชยนาทขึ้นไปถึงเมืองกำแพงเพชรแลเมืองตากให้ทายลดเสีย 2 นาที ทุกระยะ ในเมืองกาญจนบุรี เมืองชุมพร เมืองไชยาให้ทายลดเสีย 3 นาทีทุกระยะ แต่ที่เมืองสงขลาทายเหมือนกรุงเทพมหานครจึงจะถูกกับนาฬิกาแลซึ่งได้ประกาศมาแต่ก่อน ในประกาศมหาสงกรานต์ว่าจะเป็นดังนี้ ในวันจันทร์เดือนสิบสอง ขึ้นเก้าค่ำนั้นผิดไป เพราะครั้งนี้รีบจะให้ตีพิมพ์คำนวณหยาบอยู่หาละเอียดไม่
ประกาศมาณ วันจันทร์เดือนสิบเอ็ด แรมสองค่ำ ปีระกาตรีศก
ภาพถ่ายดาวพุธระยะใกล้ จากสถาบันฟิสิกส์สุริยะในสวีเดน
ขณะนี้ดาวพุธใกล้จะออกจากดวงอาทิตย์แล้ว (ภาพเรียงจากขวามาซ้าย)
ภาพถ่ายดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ โดยดาวเทียมโซโฮ เมื่อเวลา 14.45 น. และ 14.54 น. ตามเวลาประเทศไทย
ดาวเทียมโซโฮโคจรอยู่ในอวกาศ จึงเห็นปรากฏการณ์ในช่วงเวลาที่ต่างจากคนบนโลก
ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4
เมื่อวันที่
ประกาศดาวพระเคราะห์พุธเข้าในดวงพระอาทิตย์
(ณ มีพระบรมราชโองการให้ประกาศให้การทราบแก่ผู้จะได้อ่านประกาศนี้ทั้งปวง
แต่ในครั้งนี้มิใช่อย่างนั้น
ประกาศมา
เนื่องจากวงโคจรของดาวพุธทำมุมเอียงกับระนาบวงโคจรของโลก ทำให้ปรากฏการณ์ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์มีโอกาสเกิดขึ้นได้เฉพาะในเดือนพฤษภาคมและพฤศจิกายนเท่านั้น หากดาวพุธโคจรมายังจุดโนด (จังหวะที่ดาวพุธเคลื่อนตัดผ่านระนาบวงโคจรโลก) ในเวลาเดียวกับที่โลกอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม คือ ระหว่างวันที่ 5-11 พฤษภาคม หรือ 5-15 พฤศจิกายน จะทำให้สามารถเกิดปรากฏการณ์นี้ได้
ภาพดวงอาทิตย์จากดาวเทียมโซโฮเมื่อเวลา 2.12 น. ของวันนี้ ตามเวลาในไทย แสดงให้เห็นจุดมืดขนาดใหญ่บนดวงอาทิตย์ที่กำลังจะหายไปที่ขอบด้านตะวันตก และจุดมืดที่อยู่ใกล้ศูนย์กลางดวงอาทิตย์ - SOHO
จุดมืด (sunspot) คือ จุดคล้ำที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์ มีอุณหภูมิประมาณ 3,700 เคลวิน ซึ่งเย็นกว่าบริเวณข้างเคียงที่มีอุณหภูมิประมาณ 5,700 เคลวิน มีสนามแม่เหล็กเข้ม จุดมืดบนดวงอาทิตย์อาจเกิดขึ้นเป็นจุดเดี่ยว เป็นคู่ หรือเป็นกลุ่มก็ได้ จุดมืดคู่จะพบได้มากที่สุด แต่ละจุดจะมีขั้วแม่เหล็กตรงข้ามกัน จุดมืดแต่ละจุดจะมีโครงสร้าง 2 ชั้นซ้อนกัน ชั้นในเรียกว่า เขตมืด (umbra) มีสีเข้มที่สุด มีทิศของสนามแม่เหล็กในแนวตั้ง ส่วนชั้นนอกเรียกว่า เขตมัว (penumbra) - ภาพจากสถาบันฟิสิกส์สุริยะ สวีเดน
ดวงอาทิตย์และดาวพุธจากภาพถ่ายคอโรนาบนดาวเทียมโซโฮ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม เวลา 21.46 น. ตามเวลาประเทศไทย แสดงให้เห็นดาวพุธที่ปรากฏเป็นจุดดำทางซ้ายของภาพ เบื้องหน้าบรรยากาศส่วนที่เรียกว่าคอโรนาของดวงอาทิตย์ - SOHO