สมาคมดาราศาสตร์ไทย

เผยโฉมไฮเพียเรียน

เผยโฉมไฮเพียเรียน

13 ต.ค. 2548
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อวันที่ 29 กันยายนที่ผ่านมา ยานแคสซีนีได้เปิดเผยภาพชุดใหม่ที่ถ่ายระหว่างการเฉียดเข้าใกล้ดวงจันทร์ไฮเพียเรียนเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2548 ที่ผ่านมา เนื่องจากยานแคสซีนีสามารถเข้าใกล้ได้ถึง 500 กิโลเมตรซึ่งใกล้ที่สุดเท่าที่เคยทำได้ ภาพในชุดนี้จึงให้ความละเอียดสูงมาก 

ไฮเพียเรียนเป็นดวงจันทร์ดวงหนึ่งของดาวเสาร์ มีขนาด 266 กิโลเมตร ภาพถ่ายที่ถ่ายก่อนหน้านี้แสดงภาพคล้ายก้อนฟองน้ำล้างรถที่พรุนไปด้วยหลุมน้อยใหญ่ ไม่เพียงแต่ภายนอกเท่านั้นที่ดูเหมือนฟองน้ำ แม้แต่โครงสร้างภายในของดวงจันทร์ดวงนี้ก็คล้ายฟองน้ำด้วย เพราะมีโพรงอากาศภายในมากมาย นอกจากนี้ยังมีอัตราการหมุนรอบตัวเองไม่คงที่ สิ่งเหล่านี้แสดงว่าไฮเพียเรียนมีสภาพพื้นผิวแตกต่างไปจากวัตถุอื่นในระบบสุริยะอย่างสิ้นเชิง

ไฮเพียเรียนมีแอ่งน้อยใหญ่หลายแห่ง และที่แปลกก็คือที่ท้องแอ่งมีสีคล้ำเหมือนมีวัตถุสีดำขังอยู่ ซึ่งนักดาราศาสตร์ก็ยังไม่ทราบว่าวัตถุสีมืดนั้นคืออะไร การที่พบว่าหลุมที่มีขอบสว่างกว่าปรกติ แสดงว่าวัตถุสีดำอาจมีความหนาเพียงไม่กี่สิบเมตรปกคลุมอยู่เหนือวัตถุสว่าง

นอกจากนี้ยังพบการร่องรอยคล้ายกับการเกิดแผ่นดินถล่มหลายแห่ง หลักฐานเห็นได้จากการทับถมของเศษหินที่ก้นหลุมอุกกาบาต และจากการที่แทบไม่พบหลุมอยู่ใกล้เนินชันเลยซึ่งอาจเป็นเพราะถูกถมจนมิดก็ได้

ยานแคสซีนี หรือเรียกเต็ม ๆ ว่า แคสซีนี-ไฮเกนส์ เป็นภารกิจร่วมระหว่างองค์การนาซา องค์การอีซา และองค์การอวกาศอิตาลี 
ภาพนี้ถ่ายโดยการผนวกภาพที่ถ่ายในย่านความถี่อินฟราเรด สีเขียว และอัลตราไวโอเลตเข้าด้วยกัน จากระยะห่าง 62,000 กิโลเมตร ความละเอียด 362 เมตรต่อพิกเซล สีโดยธรรมชาติของไฮเพียเรียนจะมีสีแดง แต่ในภาพนี้มีการแปลงสีโดยการลดความเข้มสีแดงลง และเร่งสีอื่นให้เข้มขึ้นเพื่อให้สังเกตเห็นรายละเอียดทางองค์ประกอบเล็กน้อยได้ดีขึ้น (ภาพจาก Credit: NASA/JPL/Space Science Institute)

ภาพนี้ถ่ายโดยการผนวกภาพที่ถ่ายในย่านความถี่อินฟราเรด สีเขียว และอัลตราไวโอเลตเข้าด้วยกัน จากระยะห่าง 62,000 กิโลเมตร ความละเอียด 362 เมตรต่อพิกเซล สีโดยธรรมชาติของไฮเพียเรียนจะมีสีแดง แต่ในภาพนี้มีการแปลงสีโดยการลดความเข้มสีแดงลง และเร่งสีอื่นให้เข้มขึ้นเพื่อให้สังเกตเห็นรายละเอียดทางองค์ประกอบเล็กน้อยได้ดีขึ้น (ภาพจาก Credit: NASA/JPL/Space Science Institute)

ภาพนี้ถ่ายในย่านแสงขาวด้วยกล้องมุมแคบที่ระยะ 32,300 กิโลเมตร ที่เวลาหลังจากผ่านช่วงเฉียดใกล้มาแล้ว ความละเอียดของภาพ 192 เมตรต่อพิกเซล (ภาพจาก Credit: NASA/JPL/Space Science Institute)

ภาพนี้ถ่ายในย่านแสงขาวด้วยกล้องมุมแคบที่ระยะ 32,300 กิโลเมตร ที่เวลาหลังจากผ่านช่วงเฉียดใกล้มาแล้ว ความละเอียดของภาพ 192 เมตรต่อพิกเซล (ภาพจาก Credit: NASA/JPL/Space Science Institute)

ภาพนี้สร้างโดยการปะติดภาพที่ถ่ายหลายครั้งในบริเวณต่างกันด้วยกล้องมุมแคบบนยานแคสซีนี <wbr>ขณะที่ถ่ายยานอยู่ห่างจากไฮเพียเรียน <wbr>8,500 <wbr>กิโลเมตรถึง <wbr>4,600 <wbr>กิโลเมตร <wbr>ความละเอียดของภาพ <wbr>26 <wbr>เมตรต่อพิกเซล <wbr>(ภาพจาก <wbr>Credit: <wbr>NASA/JPL/Space <wbr>Science <wbr>Institute)<br />

ภาพนี้สร้างโดยการปะติดภาพที่ถ่ายหลายครั้งในบริเวณต่างกันด้วยกล้องมุมแคบบนยานแคสซีนี ขณะที่ถ่ายยานอยู่ห่างจากไฮเพียเรียน 8,500 กิโลเมตรถึง 4,600 กิโลเมตร ความละเอียดของภาพ 26 เมตรต่อพิกเซล (ภาพจาก Credit: NASA/JPL/Space Science Institute)

ที่มา: