สมาคมดาราศาสตร์ไทย

วัฏจักรสุริยะใหม่เริ่มต้น

วัฏจักรสุริยะใหม่เริ่มต้น

3 ก.พ. 2551
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อวันที่ มกราคม 2551 ที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ได้พบจุดมืดบนดวงอาทิตย์ที่มีขั้วแม่เหล็กสลับกับวัฏจักรที่ผ่านมา นับเป็นการเริ่มต้นวัฏจักรใหม่อย่างเป็นทางการ

การเกิดกัมมันตภาพต่าง ๆ บนดวงอาทิตย์ เช่น จุดมืด การลุกจ้า มีความถี่และความรุนแรงเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นวัฏจักรโดยมีคาบ 11 ปี วัฏจักรที่ผ่านมาคือวัฏจักรที่ 23 ซึ่งมีช่วงที่กัมมันตภาพสูงสุดอยู่ราวปี 2543-2544 และลดลงมาจนอยู่ในช่วงต่ำสุดมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว

กัมมันตภาพที่นักดาราศาสตร์ใช้เป็นตัวชี้วัดวัฏจักรสุริยะคือ จุดมืด แต่ละวัฏจักรของแต่ซีกดาว จะมีขั้วแม่เหล็กตรงข้ามกันเสมอ เมื่อใดที่พบจุดมืดคู่ที่มีขั้วแม่เหล็กตรงข้ามกับวัฏจักรก่อนหน้า ก็จะถือว่าวัฏจักรใหม่เริ่มขึ้น การเริ่มวัฏจักรครั้งนี้ถือว่ามาเร็วกว่าที่คาดเล็กน้อย เมื่อปีที่แล้ว นักดาราศาสตร์จากหลายหน่วยงานได้คาดการณ์ไว้ว่าวัฏจักรที่ 24 จะเริ่มขึ้นราวเดือนมีนาคม 2551

จุดมืดจุดแรกที่มาเปิดฤดูที่พบเมื่อวันที่ มกราคมนี้เกิดขึ้นที่ละติจูด 30 องศาเหนือ มีชื่อตามระบบเรียกของโนอาว่า เออาร์ 10981 (AR10981) หรือเรียกแบบย่อว่า จุด 981 จุดนี้มีขนาดใหญ่เท่าโลก แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเล็กเทียบกับจุดทั่วไปบนดวงอาทิตย์ มีอายุอยู่ได้เพียง วันก็สลายไป

วัฏจักรสุริยะที่อยู่ถัดกันอาจมีการเหลื่อมเวลาเล็กน้อย ซึ่งอาจนานถึงหนึ่งปี ดังนั้นแม้วัฏจักรใหม่จะเริ่มต้นขึ้นแล้ว แต่วัฏจักรที่ผ่านมาก็อาจยังไม่สิ้นสุดเสียทีเดียว ดังนั้นในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้านี้เราอาจพบจุดมืดที่มีขั้วแม่เหล็กแบบวัฏจักรที่แล้วปะปนอยู่ก็ได้

การศึกษาวัฏจักรสุริยะมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตในปัจจุบันมาก พายุสุริยะอาจทำให้ดาวเทียมในระบบจีพีเอสหรือดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาเสียหาย อาจทำให้ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมรวมถึงโทรศัพท์มือถือขัดข้อง และอาจทำให้ระบบส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าเสียหายดังที่เคยเกิดมาแล้วในปี 2532 ซึ่งทำให้ชาวควิเบกในแคนาดาไม่มีไฟฟ้าใช้เป็นเวลาถึง วัน

นักดาราศาสตร์คาดว่า กัมมันตภาพสุริยะจะค่อยเพิ่มความรุนแรงและความถี่มากขึ้นทีละน้อยจนถึงขีดสูงสุดของวัฏจักรซึ่งน่าจะอยู่ราวปี 2554 หรือปี 2555
ภาพของจุดมืดแรกของวัฏจักรสุริยะที่ 24 ถ่ายโดยดาวเทียมโซโฮ

ภาพของจุดมืดแรกของวัฏจักรสุริยะที่ 24 ถ่ายโดยดาวเทียมโซโฮ

ที่มา: