สมาคมดาราศาสตร์ไทย

แสงวาบรังสีแกมมาชนิดใหม่

แสงวาบรังสีแกมมาชนิดใหม่

26 ส.ค. 2547
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
แสงวาบรังสีแกมมา เป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ลึกลับชนิดหนึ่งในเอกภพ นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่าเกิดจากการระเบิดของดาวฤกษ์มวลสูงที่ตายแล้วคล้ายกับซูเปอร์โนวา แต่มีความรุนแรงมากกว่าหรือที่เรียกว่า ไฮเพอร์โนวา แสงวาบรังสีแกมมาเกิดขึ้นได้บ่อย และเกิดขึ้นในทุกทิศทาง นักดาราศาสตร์จึงเชื่อว่าตำแหน่งของแสงวาบอยู่ห่างจากโลกเรามากถึงสุดขอบเอกภพ

แต่ปัจจุบันนักดาราศาสตร์เริ่มคิดว่าแสงวาบรังสีแกมมาน่าจะเกิดขึ้นได้ทั่วไปทั้งระยะใกล้และไกล เพียงแต่ตรวจพบเพียงบางดวงเท่านั้น 

เมื่อวันที่ ธันวาคม 2546 ที่ผ่านมา ดาวเทียมอินทีกรัลขององค์การอวกาศยุโรปได้พบแสงวาบรังสีแกมมาดวงหนึ่งส่องสว่างเป็นเวลานานในกลุ่มดาวท้ายเรือ จากการติดตามสำรวจทั้งโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศและภาคพื้นดินพบว่า จุดกำเนิดแสงวาบนั้นอยู่ห่างออกไปเพียง 1,600 ล้านปีแสง มีชื่อว่า จีอาร์บี 031203 แผ่พลังงานออกมาน้อยกว่าแสงวาบรังสีแกมมาอื่น ๆ ถึง 1,000 เท่า 

การค้นพบครั้งนี้ทำให้ต้องกลับเปรียบเทียบกับแสงวาบรังสีแกมมาอีกดวงหนึ่งที่พบในปี 2541 ซึ่งมีแหล่งกำเนิดอยู่ห่างออกไปเพียง 130 ล้านปีแสง ไม่เพียงแต่มีแหล่งกำเนิดอยู่ใกล้เหมือนกันแล้วยังมีเส้นกราฟความสว่างใกล้เคียงกันอย่างมากอีกด้วย ก่อนหน้านี้นักดาราศาสตร์บางคนเคยเชื่อว่าการค้นพบเมื่อปี 2541 เป็นความผิดพลาด แต่การค้นพบโดยดาวเทียมอินทีกรัลล่าสุดนี้ช่วยยืนยันถึงแสงวาบรังสีแกมมาชนิดใหม่นี้ได้เป็นอย่างดี

การค้นพบนี้ทำให้เกิดคำถามใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย แม้นักดาราศาสตร์เชื่อว่าแสงวาบที่อยู่ใกล้ทั้งสองนี้จะเกิดจากการระเบิดของดาวฤกษ์มวลสูงเหมือนกัน แต่ก็ยังไม่เข้าใจว่าเหตุใดจึงจางถึงเพียงนั้น 

แต่คำถามเหล่านี้อาจไม่ต้องรอคำตอบนานนัก เพราะองค์การนาซากำลังจะปล่อยหอดูดาวลอยฟ้าขึ้นไปโคจรรอบโลกอีกแห่งหนึ่งปลายปีนี้ ชื่อว่าหอดูดาวสวิฟต์ หอดูดาวแห่งใหม่นี้มีความไวมากกว่าดาวเทียมอินทีกรัลมาก เชื่อว่าจะสามารถตรวจจับแสงวาบรังสีแกมมาชนิดจางได้เป็นจำนวนมาก



หอดูดาวรังสีแกมมาสวิฟต์ขององค์การนาซา จะขึ้นสู่วงโคจรในปลายปีนี้ สามารถถ่ายทอดตำแหน่งของแสงวาบรังสีแกมมาลงมายังสถานีภาคพื้นดินภายในไม่กี่วินาทีหลังการค้นพบ ทำให้นักดาราศาสตร์มีโอกาสสำรวจแสงเรืองค้างจากแสงวาบได้มากขึ้น (ภาพจาก NASA)

ภาพรังสีอัลตราไวโอเลตของแสงวาบรังสีแกมมา จีอาร์บี 031203 ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์เอกซ์เอ็มเอ็ม-นิวตัน (ภาพจาก ESA and Simon Vaughan (University of Leicester))

ภาพรังสีอัลตราไวโอเลตของแสงวาบรังสีแกมมา จีอาร์บี 031203 ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์เอกซ์เอ็มเอ็ม-นิวตัน (ภาพจาก ESA and Simon Vaughan (University of Leicester))

ภาพจำลองการเกิดแสงวาบรังสีแกมมาโดยคอมพิวเตอร์ แสงวาบเกิดจากลำของรังสีแกมมาที่เกิดจากสสารใกล้ ๆ กับหลุมดำเกิดใหม่ที่กำลังหมุนพุ่งทะลุเปลือกของดาวที่กำลังตายออกมา (ภาพจาก Weiqun Zhang and Stan Woosley (University of California, Santa Cruz))

ภาพจำลองการเกิดแสงวาบรังสีแกมมาโดยคอมพิวเตอร์ แสงวาบเกิดจากลำของรังสีแกมมาที่เกิดจากสสารใกล้ ๆ กับหลุมดำเกิดใหม่ที่กำลังหมุนพุ่งทะลุเปลือกของดาวที่กำลังตายออกมา (ภาพจาก Weiqun Zhang and Stan Woosley (University of California, Santa Cruz))

หอดูดาวรังสีแกมมาสวิฟต์ขององค์การนาซา <wbr>จะขึ้นสู่วงโคจรในปลายปีนี้ <wbr>สามารถถ่ายทอดตำแหน่งของแสงวาบรังสีแกมมาลงมายังสถานีภาคพื้นดินภายในไม่กี่วินาทีหลังการค้นพบ <wbr>ทำให้นักดาราศาสตร์มีโอกาสสำรวจแสงเรืองค้างจากแสงวาบได้มากขึ้น <wbr>(ภาพจาก <wbr>NASA)<br />
<br />
<br />

หอดูดาวรังสีแกมมาสวิฟต์ขององค์การนาซา จะขึ้นสู่วงโคจรในปลายปีนี้ สามารถถ่ายทอดตำแหน่งของแสงวาบรังสีแกมมาลงมายังสถานีภาคพื้นดินภายในไม่กี่วินาทีหลังการค้นพบ ทำให้นักดาราศาสตร์มีโอกาสสำรวจแสงเรืองค้างจากแสงวาบได้มากขึ้น (ภาพจาก NASA)


ที่มา: