สมาคมดาราศาสตร์ไทย

จันทราจับภาพดาวฤกษ์เกิดใหม่จำนวนมาก

จันทราจับภาพดาวฤกษ์เกิดใหม่จำนวนมาก

1 ก.พ. 2544
รายงานโดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@hotmail.com)
สถานีสังเกตการณ์จันทราสามารถถ่ายภาพแหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์ภายในบริเวณที่มีการก่อกำเนิดของดาวฤกษ์บริเวณกระจุกดาว NGC 3603 ซึ่งอยู่ในแขนข้างหนึ่งของดาราจักรทางช้างเผือก มีระยะห่างจากโลกประมาณ 20,000 ปีแสง ในกลุ่มดาวกระดูกงูเรือ 

ภาพที่ได้แสดงความหนาแน่นของรังสีเอกซ์ สีเขียวหมายถึงแหล่งรังสีเอกซ์ที่มีความหนาแน่นน้อย ขณะที่สีม่วงและแดงหมายถึงแหล่งที่มีความหนาแน่นของรังสีเอกซ์มากขึ้น จันทรายังเผยให้เห็นถึงดาวฤกษ์แรกเกิดที่มีความหนาแน่นสูงหลายสิบดวง ภายในอาณาบริเวณที่มีการก่อกำเนิดของดาวฤกษ์ ซึ่งดำเนินมาเป็นเวลานานราว ล้านปี

กระบวนการที่เกิดขึ้นภายในบริเวณนี้อาจเป็นตัวชี้ถึงเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในดาราจักรห่างไกลอื่นที่มีดาวฤกษ์เกิดใหม่จำนวนมาก กรณีของ NGC 3603 นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ารังสีเอกซ์อย่างเข้มเหล่านี้แผ่ออกมาจากดาวฤกษ์ที่มีความหนาแน่นสูง และมาจากลมสุริยะของดาวฤกษ์ ทั้งนี้เนื่องจากดาวเหล่านี้อายุน้อยเกินไปที่จะก่อให้เกิดซูเปอร์โนวาหรือ มีวิวัฒนาการไปสู่การเป็นดาวนิวตรอน การสังเกตการณ์ NGC 3603 ของสถานีสังเกตการณ์จันทรา อาจแสดงหลักฐานที่จะนำไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับการแผ่รังสีเอกซ์ภายในดาราจักรที่มีดาวแรกเกิดจำนวนมาก รวมทั้งการก่อกำเนิดของดาวฤกษ์เอง 

NGC 3603 ในย่านรังสีเอกซ์ (ภาพโดย NASA/GSFC/M.Corcoran et al.)

NGC 3603 ในย่านรังสีเอกซ์ (ภาพโดย NASA/GSFC/M.Corcoran et al.)

ที่มา: