สมาคมดาราศาสตร์ไทย

อุบัติเหตุที่ซูเปอร์เค

อุบัติเหตุที่ซูเปอร์เค

6 ธ.ค. 2544
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เกิดอุบัติเหตุครั้งใหญ่ที่หอสังเกตการณ์ซูเปอร์กามิโอกันเดหรือ ซูเปอร์เค หอสังเกตการณ์นิวทริโนที่มีชื่อเสียงที่สุดของโลกเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายนที่ผ่านมา 

เหตุเกิดในขณะที่เจ้าหน้าที่กำลังเปลี่ยนถ่ายน้ำจำนวน 50,000 ตันในถังน้ำขนาด 12.5 ล้านแกลลอนตามแผนซ่อมบำรุงปรกติ แต่ในขณะเติมน้ำอยู่ พีเอ็มที ซึ่งเป็นอุปกรณ์ตรวจจับแสงความไวสูงจำนวนราว 7,000 ตัวจากจำนวนที่มีอยู่ทั้งหมด 11,200 ตัวได้ระเบิดขึ้นมาทันที ทิ้งเศษแก้วและวัสดุอื่น ๆ ลงไปกองอยู่ใต้ถัง นอกจากนี้พีเอ็มทีอีก 1,000 ตัวที่ด้านนอกของถังที่มีไว้สำหรับกรองนิวทริโนที่ไม่ต้องการก็ระเบิดเช่นกัน 

ซูเปอร์เค ตั้งอยู่ในเหมืองร้างลึกลงไปใต้ดิน กิโลเมตร ทางตอนเหนือของเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เป็นหอสังเกตการณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อตรวจจับนิวทริโน ซึ่งเป็นอนุภาคลึกลับที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ภายในใจกลางดาวฤกษ์หรือจากซูเปอร์โนวา 

นิวทริโนมีขนาดเล็กจิ๋วและเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง มีปฏิกิริยากับอนุภาคชนิดอื่นน้อยมาก การตรวจจับอาศัยหลักการที่ว่า เมื่อนิวทริโนวิ่งผ่านน้ำ มันจะเคลื่อนที่เร็วกว่าแสงที่อยู่ในน้ำและสร้างคลื่นกระแทกชนิดหนึ่งขึ้นมาซึ่งทำให้เกิดแสงสีฟ้าสั้น ๆ แสงนี้จะถูกตรวจจับโดยพีเอ็มทีที่มีความไวสูงมาก ในปี 2541 ซูเปอร์เคได้สร้างผลงานที่สำคัญที่สุดคือการค้นพบว่านิวทริโนมีมวลเล็กน้อย ไม่ใช่ไม่มีมวลเลยอย่างที่นักวิทยาศาสตร์ก่อนหน้านั้นคิดกัน 

ขณะนี้ผู้บริหารของซูเปอร์เคยังไม่ทราบแน่ชัดว่าอะไรเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุดังกล่าว แต่ข้อสันนิษฐานเบื้องต้นชี้ไปที่เรื่องของความดันน้ำ การซ่อมแซมซูเปอร์เคจะต้องใช้งบประมาณหลายล้านดอลลาร์และใช้เวลาไม่น้อยกว่า ปี 



ผนังถังน้ำด้านในของซูเปอร์เค เต็มไปด้วยหลอดโฟโตมัลติพลายเออร์แก้วขนาดกว้าง 20 นิ้วจำนวน 11,200 ตัวเพื่อใช้ในการตรวจจับแสงวาบที่เกิดจากการชนของนิวทริโน (ภาพจาก Institute for Cosmic Ray Research University of Tokyo)

สภาพความเสียหายของซูเปอร์เค พีเอ็มทีราว 7,000 ตัวภายในถังน้ำแตกกระจายเสียหาย ส่วนพีเอ็มทีบริเวณมุมขวาบนของภาพยังอยู่ในสภาพดีเนื่องจากอยู่เหนือระดับน้ำขณะเกิดอุบัติเหตุ (ภาพจาก Institute for Cosmic Ray Research / University of Tokyo)

สภาพความเสียหายของซูเปอร์เค พีเอ็มทีราว 7,000 ตัวภายในถังน้ำแตกกระจายเสียหาย ส่วนพีเอ็มทีบริเวณมุมขวาบนของภาพยังอยู่ในสภาพดีเนื่องจากอยู่เหนือระดับน้ำขณะเกิดอุบัติเหตุ (ภาพจาก Institute for Cosmic Ray Research / University of Tokyo)

ที่มา: