สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวหางคะมิกะเซะ

ดาวหางคะมิกะเซะ

10 พ.ค. 2547
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
การศึกษาดาวหางไม่ได้มีข้อจำกัดเพียงภายในระบบสุริยะของเราอีกต่อไป ขณะนี้นักดาราศาสตร์เริ่มขยายขอบเขตการศึกษาออกไปถึงดาวหางของดาวฤกษ์ดวงอื่นกันแล้ว

เมื่อไม่นานมานี้ นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเพนน์สเตตใช้กล้องโทรทรรศน์ฮอบบี-เอเบอร์ลีขนาด 9.2 เมตรของหอดูดาวแมกดอนัลด์ในเทกซัสเฝ้าติดตามดาวฤกษ์ทารกดวงหนึ่งเพื่อค้นหากิจกรรมบางอย่างของดาวหาง และพบว่ามีดาวหางยักษ์ดวงหนึ่งปฏิบัติการแบบคะมิกะเซะด้วยการพุ่งเข้าชนดาวฤกษ์ของตัวเอง

ดาวฤกษ์ดวงนี้ชื่อ แอลเคเอชเอ 234 อยู่ห่างออกไป 3,200 ปีแสงในกลุ่มดาวซีฟิอัส เป็นดาวฤกษ์หนักชนิดหนึ่งที่เรียกว่าวัตถุเฮอร์บิกบีอี (Herbig Be object) มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ เท่า มีอายุน้อยมากเพียง 100,000 ปี และยังคงถูกห่อหุ้มอยู่ในเนบิวลาที่เป็นส่วนหนึ่งของเอ็นจีซี 7129 

จากการสำรวจเป็นเวลากว่า 30 วัน พบสเปกตรัมของโซเดียมและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากและรวดเร็วชนิดวันต่อวัน เชื่อว่าเป็นผลจากวัตถุจำพวกดาวหางที่มีขนาดใหญ่ถึง 100 กิโลเมตรที่พุ่งเข้าชนดาวฤกษ์ และสลายตัวเมื่อเข้าใกล้ดาวฤกษ์ประมาณหนึ่งในสิบของระยะห่างระหว่างโลกถึงดวงอาทิตย์ 

  

นักดาราศาสตร์ทราบอุณหภูมิของดาวและทราบว่าอะตอมโซเดียมกลางจะสามารถเข้าใกล้ดาวมากที่สุดเพียงใด และจากการเคลื่อนที่ของวัตถุคล้ายดาวหางขณะพุ่งเข้าชนดาวฤกษ์ จึงทราบว่าวัตถุนั้นจะต้องมีขนาดเท่าใดจึงจะเข้าใกล้ดาวฤกษ์มากขนาดนั้นได้

การค้นพบนี้เป็นการค้นพบที่สำคัญมาก การพบดาวหางหรือวัตถุคล้ายดาวหางพุ่งเข้าชนดาวฤกษ์แม่ของตัวเองครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก เพราะนักดาราศาสตร์เคยพบหลักฐานทางสเปกตรัมที่แสดงว่าดาวหางของดาวบีตาขาตั้งภาพได้พุ่งเฉียดหรือพุ่งชนตัวเองมาแล้ว และในระบบเดียวกันนี้ยังพบว่ามีดาวเคราะห์แรกเกิด (planetesimal) ขนาดหลายสิบกิโลเมตรสลายตัวอีกด้วย แต่ดาวบีตาขาตั้งภาพมีอายุมากกว่าดาวแอลเคเอชเอ 234 มาก การค้นพบครั้งนี้แสดงว่าดาวฤกษ์ที่มีอายุน้อยเพียง 100,000 ปีก็สามารถให้กำเนิดวัตถุแข็งที่มีขนาด 100 กิโลเมตรได้แล้ว

ข่าวที่คล้ายกัน:

    ภาพในจินตนาการของศิลปิน แสดงดาวแอลเคเอชเอ 234 ที่ถูกห้อมล้อมด้วยแก็สและจานกำเนิดดาวเคราะห์ มีวัตถุคล้ายดาวหางขนาดกว่า 100 กิโลเมตรพุ่งเข้าชนพร้อมกับทิ้งหางยาวที่มีแก๊สโซเดียมอยู่ด้วย (ภาพจาก Tigran Ghulyan, Penn State University)

    ภาพในจินตนาการของศิลปิน แสดงดาวแอลเคเอชเอ 234 ที่ถูกห้อมล้อมด้วยแก็สและจานกำเนิดดาวเคราะห์ มีวัตถุคล้ายดาวหางขนาดกว่า 100 กิโลเมตรพุ่งเข้าชนพร้อมกับทิ้งหางยาวที่มีแก๊สโซเดียมอยู่ด้วย (ภาพจาก Tigran Ghulyan, Penn State University)

    ที่มา: