สมาคมดาราศาสตร์ไทย

แหล่งกำเนิดดาวยักษ์

แหล่งกำเนิดดาวยักษ์

30 พ.ย. 2546
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
นักดาราศาสตร์จากองค์การอวกาศยุโรปได้พบแหล่งกำเนิดดาวแห่งหนึ่ง เป็นแหล่งกำเนิดดาวดึกดำบรรพ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมา

การค้นพบนี้เกิดขึ้นขณะที่นักดาราศาสตร์กำลังศึกษากระจุกดาราจักรที่อยู่ห่างไกลออกไป 5,400 ล้านปีแสงกระจุกหนึ่งในกลุ่มดาวแมวป่า ขณะนั้นได้พบแสงประหลาดสีแดงอยู่เบื้องหลัง เมื่อพยายามเทียบสเปกตรัมของแสงนี้กับวัตถุชนิดอื่นแต่ไม่พบว่าใกล้เคียงกับวัตถุชนิดใดเลย แต่มีส่วนคล้ายคลึงกับเนบิวลานายพรานที่ถูกยืดออกไป แสดงว่าแหล่งกำเนิดแสงนี้เป็นแหล่งกำเนิดดาวเช่นเดียวกับเนบิวลานายพราน แต่อยู่ห่างออกไปไกลลิบถึง 12,000 ล้านปีแสง ทั้งใหญ่กว่า ร้อนกว่า และสว่างกว่าแหล่งกำเนิดดาวใดที่เคยรู้จัก

เนบิวลานายพรานเป็นแหล่งกำเนิดดาวที่รู้จักกันดี ส่องสว่างด้วยดาวฤกษ์ยักษ์ร้อนแรง ดวง แต่ในกรณีของแหล่งกำเนิดดาวนี้ซึ่งนักดาราศาสตร์ตั้งชื่อว่า แสงโค้งแมวป่า (Lynx Arc) นี้ มีดาวยักษ์ที่ร้อนกว่าดาวในเนบิวลาทั่วไปในดาราจักรทางช้างเผือกไม่น้อยกว่าสองเท่า และมีอยู่ถึง ล้านดวง ดาวฤกษ์ยักษ์ทั่วไปที่รู้จักกันมีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 40,000 องศาเซลเซียส แต่ดาวฤกษ์ในแสงโค้งแมวป่านี้มีอุณหภูมิถึง 80,000 องศาเซลเซียส ความส่องสว่างมากกว่าเนบิวลานายพรานถึง ล้านเท่า!

นักดาราศาสตร์เชื่อว่า แหล่งกำเนิดดาวอภิมหายักษ์อย่างนี้มีอยู่หลายแห่ง แต่อยู่ไกลมากจนสังเกตได้ยาก เป็นความโชคดีที่แหล่งกำเนิดดาวนี้ที่มีกระจุกดาราจักรขวางอยู่ ความโน้มถ่วงจากกระจุกดาราจักรขยายแสงจากแหล่งกำเนิดดาวนี้ให้สว่างขึ้น ทำให้นักดาราศาสตร์สามารถมองเห็นและศึกษาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่เอกภพมีอายุเพียง 15 เปอร์เซ็นต์ของอายุปัจจุบันได้ 

    ภาพวาดตามจินตนาการของศิลปินของแสงโค้งแมวป่า (ภาพจาก ESO/ST-ECF)

    ภาพวาดตามจินตนาการของศิลปินของแสงโค้งแมวป่า (ภาพจาก ESO/ST-ECF)

    กระจุกดาราจักรแมวป่า ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล แสงโค้งแมวป่าคือขีดสีแดงที่มีจุดสว่างสองจุดอยู่ในขีดทางขวาของกึ่งกลางภาพเล็กน้อย

    กระจุกดาราจักรแมวป่า ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล แสงโค้งแมวป่าคือขีดสีแดงที่มีจุดสว่างสองจุดอยู่ในขีดทางขวาของกึ่งกลางภาพเล็กน้อย

    ที่มา: