สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวเคราะห์ชอบโลหะ

ดาวเคราะห์ชอบโลหะ

28 ส.ค. 2546
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
การค้นหาดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นในช่วงที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์มักพุ่งเป้าไปยังดาวฤกษ์ที่คล้ายดวงอาทิตย์ โดยเชื่อว่าดาวประเภทดวงอาทิตย์เป็นดาวที่น่าจะมีดาวเคราะห์มากกว่าชนิดอื่น ๆ แต่ต่อจากนี้นักดาราศาสตร์อาจต้องเปลี่ยนเป้าหมายเสียใหม่

นักล่าดาวเคราะห์ชื่อ เดบรา ฟิสเชอร์ จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียกับ เจฟฟ์ วาเลนตี จากสถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศได้วัดสเปกตรัมเพื่อหาสัดส่วนธาตุของเหล็ก นิกเกิล ไทเทเนียม ซิลิคอน และโซเดียมของดาวฤกษ์จำนวนกว่า 1,000 ดวง ในจำนวนนี้มีถึง 754 ดวงที่มีข้อมูลจากการเฝ้าติดตามมาเป็นเวลากว่า ปี ดังนั้นนักดาราศาสตร์จึงทราบดีว่าดวงไหนมีดาวเคราะห์จากการตีความหมายของการส่ายของดาวฤกษ์เหล่านั้น  

จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า มี 61 ดวงที่มีดาวเคราะห์ หลังจากนั้นจึงได้จัดหมวดหมู่ของดาวตามองค์ประกอบของดาว ผลที่ได้คือความสัมพันธ์อันน่าอัศจรรย์ระหว่างโอกาสการมีดาวเคราะห์กับสัดส่วนธาตุ กล่าวคือ ดาวฤกษ์ที่มีสัดส่วนโลหะเหมือนดวงอาทิตย์มีโอกาสมีดาวเคราะห์ราว 5-10 เปอร์เซ็นต์ ดาวฤกษ์ที่มีสัดส่วนโลหะมากกว่าดวงอาทิตย์ เท่ามีโอกาสมีดาวเคราะห์ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ดาวฤกษ์ที่มีสัดส่วนโลหะหนึ่งในสามของดวงอาทิตย์มีโอกาสเพียง เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนดาวที่มีธาตุหนักน้อยกว่านี้ซึ่งในตัวอย่างที่สำรวจมีถึง 29 ดวงไม่พบว่ามีดาวเคราะห์เป็นบริวารเลย

ข้อมูลนี้แสดงว่าสัดส่วนโลหะมีผลต่อโอกาสการมีดาวเคราะห์ของดาวฤกษ์ ดังนั้นต่อจากนี้ นักดาราศาสตร์ที่ต้องการหาระบบสุริยะอื่น ควรจะมองไปที่ดาวฤกษ์ที่มีอายุน้อยมากกว่าดาวฤกษ์อายุมาก ดาวฤกษ์อายุมากเกิดขึ้นในช่วงที่ในดาราจักรมีธาตุหนักน้อยกว่าปัจจุบันมาก เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้า ดาวฤกษ์รุ่นแรกเริ่มระเบิดเป็นซูเปอร์โนวาซึ่งเป็นการเพิ่มธาตุหนักให้กับดาราจักร ดาวฤกษ์รุ่นต่อ ๆ มาจึงเกิดขึ้นจากสสารที่มีส่วนผสมของโลหะมากกว่า จึงมีโอกาสมีดาวเคราะห์มากกว่า 

ข่าวที่คล้ายกัน:

    ที่มา: