สมาคมดาราศาสตร์ไทย

เครือข่ายไล่จับแสงวาบรังสีแกมมาทำงานเยี่ยม

เครือข่ายไล่จับแสงวาบรังสีแกมมาทำงานเยี่ยม

30 ต.ค. 2545
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อวันที่ ตุลาคม ดาวเทียมเฮเท-2 (HETE-2) หรือ High Energy Transient Explorer satellite ได้ตรวจพบแสงวาบรังสีแกมมาเข้มข้นมาจากกลุ่มดาวปลา หลังจากนั้นอีกไม่เพียงกี่วินาที นักดาราศาสตร์ที่เกี่ยวข้องทั่วทั้งโลกก็รับรู้ถึงปรากฏการณ์นี้และร่วมสำรวจแหล่งกำเนิดรังสีแห่งใหม่นี้ได้อย่างทันควัน 

เฮเทได้ส่งสัญญาณแจ้งให้ทั่วโลกได้ทราบอย่างรวดเร็วเพียง 11 วินาทีหลังการค้นพบเท่านั้น และหลังจากนั้นอีกเพียง 38 วินาทีสัญญาณแจ้งครั้งต่อมาก็ส่งตามมาเมื่อเฮเทสามารถระบุตำแหน่งที่แน่นอนของแสงวาบรังสีแกมมานี้ได้อย่างแม่นยำโดยมีความคลาดเคลื่อนเพียง 10 ลิปดา 

นักดาราศาสตร์จากเครือข่ายประสานงานแสงวาบรังสีแกมมา (Gamma-ray burse Coordinates Network) หรือ จีซีเอ็น ได้บังคับให้กล้องออสชินขนาด 48 นิ้วที่อยู่บนเขาพาโลมาร์หันหน้าไปในทิศทางนั้นภายในเวลาเพียง นาทีหลังการตรวจพบ และสามารถถ่ายภาพไว้ได้ ซึ่งเป็นภาพของแสงเรืองค้าง (afterglow) ที่อยู่ในย่านแสงขาวที่มีอันดับความสว่าง 15.5 นับเป็นแสงเรืองค้างที่สว่างเป็นอับสองเท่าที่เคยจับภาพไว้ได้ หลังจากนั้นอีก นาทีเมื่อกล้องชมิดต์เริ่มถ่ายภาพได้บ้าง แม้ว่าขณะนั้นแสงวาบได้ลดความสว่างไปอีกสองในสามแล้ว 

การสำรวจได้รับความร่วมมือจากหอสังเกตการณ์อีกหลายแห่งอย่างรวดเร็ว ทั้งจากหอสังเกตการณ์เกียวโต ซึ่งตอบสนองภายในเวลา 37 นาที ส่วนนักดาราศาสตร์ออสเตรเลียสามารถวัดการเลื่อนไปทางแดง (redshift) เบื้องต้นได้ 1.6 แต่หลังจากนั้นได้พบว่าค่าดังกล่าวเป็นการเลื่อนของแสงที่เกิดจากก้อนก๊าซที่อยู่ระหว่างแหล่งวาบกับโลกเท่านั้น ส่วนแหล่งวาบเองมีการเลื่อนของสเปกตรัม 2.3 ซึ่งตีความได้ว่า แหล่งวาบนี้อยู่ห่างจากโลก 10.5 พันล้านปีแสง 

แสงวาบรังสีแกมมาเป็นปรากฏการณ์ที่มีความรุนแรงและให้พลังงานมากที่สุดในเอกภพ แสงวาบธรรมดาครั้งหนึ่งอาจให้พลังงานมากกว่าดาราจักรทั้งดาราจักรเป็นพันล้านเท่า การเกิดแสงวาบรังสีแกมมาแต่ละครั้งกินเวลาสั้นมากตั้งแต่เสี้ยววินาทีจนถึงไม่กี่นาที ซึ่งหมายความว่าแหล่งกำเนิดแสงวาบนี้จะต้องมีขนาดเล็ก นักดาราศาสตร์เชื่อว่าแสงวาบรังสีแกมมาเกิดจากลำสสารที่เป่าออกมาจากแกนของดาวฤกษ์มวลมหาศาลที่กำลังจะยุบเป็นหลุมดำ 

การที่แสงวาบรังสีแกมมาเป็นปรากฏการณ์ที่สั้นมาก การสำรวจจึงต้องมีการตอบสนองรวดเร็วและทันเหตุการณ์อย่างยิ่ง การประสานงานและตอบสนองอย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นในครั้งนี้นับเป็นการร่วมมือสำรวจแสงวาบรังสีแกมมาที่ดีที่สุดนับตั้งแต่ที่มีการพบวัตถุชนิดนี้เป็นครั้งแรกเมื่อ 30 ปีก่อน นับว่าเป็นนิมิตดีสำหรับการศึกษาวัตถุชนิดนี้ในอนาคต 

ขณะนี้ความสว่างของแสงวาบได้ลดลงเรื่อย ๆ จนอันดับความสว่างสูงกว่า 21 มาตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคมแล้ว คาดว่าหลังจากนั้นอีกเพียงไม่กี่สัปดาห์ ความสว่างจะลดลงไปอีกจนสามารถศึกษาดาราจักรที่เป็นแหล่งที่อยู่ของแหล่งวาบนี้ได้ 

ซ้าย : ภาพแสงขาวของแสงวาบรังสีแกมมาที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2545 วงกลมใหญ่มีความกว้างเชิงมุม 4 ลิปดา ขวา : ภาพที่ตำแหน่งเดียวกันแต่ถ่ายก่อนหน้านั้น มองไม่เห็นทั้งแสงวาบและดาราจักรที่เป็นที่อยู่ของแสงวาบ (ภาพจาก Palomar Digitized Sky Survey)

ซ้าย : ภาพแสงขาวของแสงวาบรังสีแกมมาที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2545 วงกลมใหญ่มีความกว้างเชิงมุม 4 ลิปดา ขวา : ภาพที่ตำแหน่งเดียวกันแต่ถ่ายก่อนหน้านั้น มองไม่เห็นทั้งแสงวาบและดาราจักรที่เป็นที่อยู่ของแสงวาบ (ภาพจาก Palomar Digitized Sky Survey)

ที่มา: