สมาคมดาราศาสตร์ไทย

NT7 ดาวเคราะห์น้อย (เกือบ) อันตราย

NT7 ดาวเคราะห์น้อย (เกือบ) อันตราย

1 ส.ค. 2545
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อวันที่ กรกฎาคม 2545 ที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์จากคณะวิจัยดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกลินคอล์น หรือ ลิเนียร์ (LINEAR -- Lincoln Near-Earth Asteroid Research) ได้พบดาวเคราะห์ดวงใหม่ ชื่อว่า 2002 NT7 จากการวิเคราะห์วงโคจรเบื้องต้น นักดาราศาสตร์ต้องตกตะลึงเมื่อพบว่าดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีโอกาสสูงมากที่จะชนโลกในวันที่ กุมภาพันธ์ 2562 หรืออีกเพียง 17 ปีข้างหน้าเท่านั้น! นับเป็นดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่มีระดับความอันตรายในมาตราพาเลอร์โมสูงกว่า 0

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่มีการสำรวจเพิ่มเติมก็พบว่า โอกาสการชนโลกได้ค่อย ๆ ลดลงจนมีระดับความอันตรายในมาตราพาเลอร์โมเหลือต่ำกว่า แต่ยังมีระดับความอันตรายตามมาตราโตริโนอยู่ที่ระดับ ซึ่งหมายถึงเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ "ต้องจับตา" เท่านั้น และยังมีแนวโน้มที่จะลดลงไปอีกจนเหลือ เนื่องจากข้อมูลจากการสำรวจเพิ่มเติมในช่วงหลังยิ่งบ่งชี้ว่าโอกาสการชนโลกของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้น้อยลงเรื่อย 

ในเวลาไล่เลี่ยกัน นักดาราศาสตร์คณะเดียวกันได้พบดาวเคราะห์น้อยอีกดวงหนึ่งซึ่งจะสร้างความหวาดเสียวให้ชาวโลกได้เช่นกัน นั่นคือ ดาวเคราะห์น้อย 2002NY40 ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ถูกค้นพบในวันที่ 14 กรกฎาคม และคาดว่าจะเข้าเฉียดใกล้โลกที่สุดในวันที่ 18 สิงหาคมนี้ที่ระยะเพียง 531,000 กิโลเมตร หรือเพียง 1.4 เท่าของระยะห่างระหว่างโลกถึงดวงจันทร์ นับเป็นดาวเคราะห์น้อยที่จะเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 85 ปีข้างหน้า 2002NY40 มีเส้นผ่านศูนย์กลางต่ำกว่า 1 กิโลเมตรเล็กน้อย และคาดว่าจะมีความสว่างราว 10 ขณะที่เข้าใกล้โลกมากที่สุด
ดาวเคราะห์น้อย 2002 NT7 ถ่ายโดย จอห์น โรเจอร์ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2545

ดาวเคราะห์น้อย 2002 NT7 ถ่ายโดย จอห์น โรเจอร์ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2545

ที่มา: