สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวเทียมสำรวจรังสีพื้นหลังเอกภพดวงใหม่

ดาวเทียมสำรวจรังสีพื้นหลังเอกภพดวงใหม่

15 ก.ค. 2544
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา ที่แหลมคานาเวอรัล ฟลอริดา มีการปล่อยจรวดเพื่อนำดาวเทียมดวงหนึ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า ดาวเทียมดวงนี้มีความหมายมากสำหรับนักจักรวาลวิทยา มีชื่อว่า แมป (MAP--Microwave Anisotropy Probe) เป็นดาวเทียมของนาซา มีหน้าที่สำรวจความผันแปรของรังสีไมโครเวฟพื้นหลังของเอกภพ (cosmic background radiation)

รังสีพื้นหลังของเอกภพ เป็นคลื่นไมโครเวฟในอวกาศ มีอุณหภูมิ 2.73 เคลวิน เป็นรังสีที่หลงเหลือจากการระเบิดใหญ่ที่เป็นต้นกำเนิดของเอกภพ ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในปี 2508 ได้รับการยืนยันโดยดาวเทียมโคบี (COBE--Cosmic Background Explorer) ซึ่งสามารถตรวจพบการผันแปรอุณหภูมิของรังสีพื้นหลังประมาณ ใน 100,000 องศา ความผันแปรอุณหภูมิของรังสีพื้นหลังนี้เป็นหลักฐานที่สนับสนุนทฤษฎีระเบิดใหญ่ที่ชัดเจนมาก อย่างไรก็ตาม แผนที่ที่ได้จากโคบีมีความละเอียดต่ำมาก มีกำลังแยกภาพเพียง องศาเท่านั้น แม้ว่าการสำรวจในยุคต่อมาที่ทำบนพื้นโลกและจากบัลลูนจะให้ความละเอียดมากกว่า แต่ก็สามารถสำรวจท้องฟ้าได้เพียงพื้นที่แคบ ๆ เท่านั้น 

แมป มีประสิทธิภาพสูงกว่าโคบีมาก มีความไวสูงพอที่จะแยกความแตกต่างของอุณหภูมิที่ต่างกันเพียงหนึ่งในล้านองศาได้ และยังมีกำลังแยกภาพถึง 20 ลิปดา  นอกจากอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงแล้ว ข้อได้เปรียบที่สำคัญของแมปก็คือทำเลที่ตั้ง ตำแหน่งประจำของแมปจะอยู่ที่ตำแหน่ง ลากรันจ์ (L2) ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ห่างออกไป 1,500,000 กิโลเมตร การสำรวจอวกาศที่ตำแหน่งนี้จะเป็นการลดคลื่นรบกวนรังสีไมโครเวฟจากโลกและดวงอาทิตย์ได้เป็นอย่างดี แมปนับเป็นดาวเทียมดวงแรกที่สำรวจอวกาศที่ตำแหน่งนี้

แมปจะเริ่มปฏิบัติการได้ในอีก เดือนข้างหน้า 

    แมป (MAP--Microwave Anisotropy Probe) จะสำรวจรังสีพื้นหลังเอกภพด้วยประสิทธิภาพที่สูงกว่าโคบีถึง 4 เท่า

    แมป (MAP--Microwave Anisotropy Probe) จะสำรวจรังสีพื้นหลังเอกภพด้วยประสิทธิภาพที่สูงกว่าโคบีถึง 4 เท่า

    ที่มา: