สมาคมดาราศาสตร์ไทย

แสงวาบรังสีแกมมาที่ไกลที่สุด

แสงวาบรังสีแกมมาที่ไกลที่สุด

1 พ.ย. 2543
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อต้นปี 2543 ที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ได้พบแสงวาบรังสีแกมมาดวงใหม่ดวงหนึ่ง เป็นแสงวาบรังสีแกมมาที่อยู่ไกลที่สุดเท่าที่เคยพบมา เพราะอยู่ไกลถึง 11,000 ล้านปีแสง การค้นพบครั้งนี้เกิดขึ้นโดยเครือข่ายอินเตอร์พลาเนตารี ซึ่งเป็นเครือข่ายการสำรวจอวกาศของยานอวกาศ ลำ ประกอบด้วยยูลิสซีส เนียร์ และ วินด์เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2543

แสงวาบรังสีแกมมานี้มีชื่อว่า GRB 000131 ในตอนแรก มันดูไม่มีอะไรแปลกประหลาดไปกว่าแสงวาบรังสีแกมมาทั่ว ๆไป ซึ่งพบได้บ่อยถึงสัปดาห์ละครั้งโดยเฉลี่ย แต่ความไม่ปรกติของแสงวาบดวงนี้ ถูกพบในวันรุ่งขึ้น เมื่อนักดาราศาสตร์จากยุโรปได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ของอีเอสโอในชิลี สำรวจแสงขาวที่สว่างติดตามรังสีแกมมามา หรือที่เรียกว่าแสงเรืองค้าง (afterglow) แสงเรืองค้างที่พบในครั้งนี้ มีสีแดงมากกว่าแสงเรืองค้างในแสงวาบรังสีแกมมาอื่นๆ ที่เคยสำรวจมา แสดงว่าแสงขาวของมัน ถูกเลื่อนไปในทางสีแดงมาก ซึ่งหมายความว่าแหล่งกำเนิดแสงนี้ อยู่ห่างออกไปไกลมาก

จากการสำรวจสเปกตรัมโดยกล้องวีแอลที ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง เมตร พบว่าส่วนในสเปกตรัมที่เรียกว่า Lyman-alpha forest ของ GRB 000131 ซึ่งเกิดจากการดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตของไฮโดรเจน เลื่อนมาอยู่ในย่านแสงขาวแทนที่จะอยู่ในย่านรังสีอัลตราไวโอเลต แสดงว่า GRB 000131 มีค่าการเลื่อนไปทางแดงสูงมาก ซึ่งจากการสำรวจพบว่าสูงถึง 4.5

จากค่าการเลื่อนไปทางแดงนี้บอกระยะทางของมันได้ว่ามันอยู่ห่างออกไป 11,000 ล้านปีแสง ทำให้ GRB 000131 เป็นแสงวาบรังสีแกมมาที่อยู่ห่างจากโลกมากที่สุดเท่าที่เคยพบมา ระยะที่ห่างที่มากนี้แสดงถึงความเก่าแก่ของมันด้วย มันอาจจะเกิดขึ้นในขณะที่เอกภพมีอายุเพียง พันล้านปี ดังนั้นการศึกษาแสงวาบรังสีแกมมาที่อยู่ไกลโพ้นอย่างนี้จึงเป็นการศึกษาเอกภพในยุคเริ่มต้นทางหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม การค้นพบครั้งนี้ก็ยังไม่ได้ช่วยนักดาราศาสตร์ในการค้นหาคำตอบของสุดยอดปัญหาปริศนาที่ว่า แสงวาบรังสีแกมมาเกิดขึ้นมาได้อย่างไร 




สเปกตรัมของแสงเรืองค้างของ GRB 000131 ถ่ายโดยอุปกรณ์ FORS1 ของกล้องโทรทรรศน์วีแอลที เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2543 แสดงให้เห็น Lyman-alpha break ที่ความยาวคลื่น 670.1 นาโนเมตร

สเปกตรัมของแสงเรืองค้างของ GRB 000131 ถ่ายโดยอุปกรณ์ FORS1 ของกล้องโทรทรรศน์วีแอลที เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2543 แสดงให้เห็น Lyman-alpha break ที่ความยาวคลื่น 670.1 นาโนเมตร

ภาพชุดที่ถ่ายโดยกล้องวีแอลทีเมื่อวันที่ 4, 6, 8 กุมภาพันธ์ และ 5 มีนาคม แสดงการหรี่ลงอย่างรวดของแสงวาบรังสีแกมมา GRB 000131 (อยู่ที่ตำแหน่งใกล้กลางภาพเยื้องไปทางซ้ายเล็กน้อย)

ภาพชุดที่ถ่ายโดยกล้องวีแอลทีเมื่อวันที่ 4, 6, 8 กุมภาพันธ์ และ 5 มีนาคม แสดงการหรี่ลงอย่างรวดของแสงวาบรังสีแกมมา GRB 000131 (อยู่ที่ตำแหน่งใกล้กลางภาพเยื้องไปทางซ้ายเล็กน้อย)

<span class='mkbb-indentation'></span>แสงวาบรังสีแกมมา <wbr>GRB <wbr>000131 <wbr>(ศรชี้) <wbr>ถูกค้นพบเมื่อวันที่ <wbr>31 <wbr>มกราคม <wbr>2543 <wbr>ถ่ายโดยกล้องวีแอลที <wbr>(Very <wbr>Large <wbr>Telescope) <wbr>ของอีเอสโอ <wbr>จุดสว่างที่สุดในภาพ <wbr>คือดาวฤกษ์ความสว่าง <wbr>9 <wbr>(ESO)<br />

แสงวาบรังสีแกมมา GRB 000131 (ศรชี้) ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2543 ถ่ายโดยกล้องวีแอลที (Very Large Telescope) ของอีเอสโอ จุดสว่างที่สุดในภาพ คือดาวฤกษ์ความสว่าง (ESO)

ที่มา: