สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ในความมืดมิดของเมฆบาร์นาร์ด

ในความมืดมิดของเมฆบาร์นาร์ด

1 ก.ค. 2542
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ภาพนี้ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์ เอ็นทีที (NTT-New Technology Telescope) เป็นภาพคุณภาพสูงของเมฆบาร์นาร์ด 68 อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงู ภาพนี้เกิดจากการรวมภาพ ภาพในย่านอินฟราเรดที่ความยาวคลื่น 1.25 1.65 และ 2.16 ไมครอน บริเวณของก้อนเมฆคือบริเวณที่มืดมิดเป็นก้อนอยู่ในใจกลางภาพจะเห็นดาวฤกษ์ฉากหลังประปรายอยู่ทั่วไปซึ่งถูกย้อมจนเป็นสีแดงจัดโดยก๊าซที่อยู่ในเมฆก้อนนี้ เนื่องจากเมฆนี้มีความโปร่งจนสามารถมองเห็นดาวข้างหลังได้มาก และไม่พบว่ามีดาวฤกษ์อยู่ภายใน นักดาราศาสตร์จึงเชื่อว่าเมฆ B68 นี้เกิดจากก๊าซที่กำลังเข้ารวมตัวกันโดยแรงดึงดูดร่วม ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกสุดของกระบวนการสร้างดาวฤกษ์ อีกประมาณ 100,000 ปีต่อจากนี้ เมฆ B68 ก็จะกลายเป็นดาวฤกษ์ดวงใหม่ 

กล้องเอ็นทีทีนี้เป็นของอีเอสโอ (European Southern Observatory) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.5 เมตรตั้งอยู่บนยอดเขาลา ซิลลา (La Silla) แห่งเทือกเขาแอนดีสในชิลี