สมาคมดาราศาสตร์ไทย

จันทรุปราคาเต็มดวง 28 กรกฎาคม 2561

จันทรุปราคาเต็มดวง 28 กรกฎาคม 2561

24 กรกฎาคม 2561
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 27 กรกฎาคม 2561
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด
คืนวันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันอาสาฬหบูชา เข้าสู่เช้ามืดวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2561 ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรรษา และวันเข้าพรรรษา จะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง เห็นได้ด้วยตาเปล่าจากทั่วประเทศ หากท้องฟ้าเปิด สามารถสังเกตดวงจันทร์ถูกเงามืดของโลกบังหมดทั้งดวงนาน ชั่วโมง 43 นาที นับเป็นจันทรุปราคาเต็มดวงที่นานที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21
จันทรุปราคาเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละ ครั้ง บางปีอาจมีได้มากถึง ครั้ง แต่เราไม่เห็นจันทรุปราคาทุกครั้งที่เกิด ขึ้นอยู่กับว่าช่วงเวลาที่เกิดปรากฏการณ์ตรงกับเวลากลางคืนของสถานที่ที่เราอยู่หรือไม่ จันทรุปราคาเกิดได้เฉพาะในช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เมื่อมองจากโลก หรือตรงกับวันที่ดวงจันทร์เต็มดวง
เรามีโอกาสเห็นจันทรุปราคาได้บ่อยกว่าสุริยุปราคา เพราะเมื่อเกิดจันทรุปราคา ซีกโลกด้านกลางคืนที่หันเข้าหาดวงจันทร์สามารถเห็นปรากฏการณ์ได้พร้อมกันทั้งหมด ส่วนสุริยุปราคาเกิดเมื่อเงาของดวงจันทร์พาดมาบนผิวโลก เงาดวงจันทร์มีขนาดเล็กกว่าโลก พื้นที่ซึ่งเห็นสุริยุปราคาได้จึงต้องอยู่ใต้เงาของดวงจันทร์เท่านั้น

จันทรุปราคาเต็มดวง 16 กันยายน 2540 (จาก กฤษดา โชคสินอนันต์/พรชัย อมรศรีจิรทร)

ชนิดของจันทรุปราคา

เงาโลกมีสองส่วน ได้แก่ เงามืดและเงามัว เงามืดซึ่งทึบแสงกว่าอยู่ด้านใน ล้อมรอบด้วยเงามัว  จันทรุปราคาแบ่งได้เป็น ชนิด ได้แก่ จันทรุปราคาเงามัว จันทรุปราคาบางส่วน และจันทรุปราคาเต็มดวง จันทรุปราคาเงามัวเกิดเมื่อดวงจันทร์ผ่านส่วนที่เป็นเงามัวของโลกเท่านั้น จันทรุปราคาบางส่วนเกิดเมื่อดวงจันทร์ผ่านเงามืด แต่มีเพียงบางส่วนของผิวดวงจันทร์ที่อยู่ในเงามืด ส่วนจันทรุปราคาเต็มดวงเกิดเมื่อดวงจันทร์ทั้งดวงผ่านเข้าไปในเงามืด

การเกิดเงามืดและเงามัวระหว่างจันทรุปราคา (ไม่ได้วาดตามมาตราส่วนจริง) (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด)

สถิติในช่วง 5,000 ปี นับตั้งแต่ 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถึงคริสต์ศักราช 3000 มีจันทรุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นทั้งหมด 3,479 ครั้ง คิดเป็น 28.8% ของจันทรุปราคาทั้งหมด จันทรุปราคาบางส่วนเกิดขึ้นทั้งหมด 4,207 ครั้ง คิดเป็น 34.9% และจันทรุปราคาเงามัวเกิดขึ้นทั้งหมด 4,378 ครั้ง คิดเป็น 36.3%
จันทรุปราคาในแต่ละปีปฏิทินมีจำนวนไม่เท่ากัน จำนวนปีที่มีจันทรุปราคา ครั้ง มีมากที่สุดถึง 70.8% จำนวนปีที่มีจันทรุปราคา ครั้ง คิดเป็น 17.7% จำนวนปีที่มีจันทรุปราคา ครั้ง คิดเป็น 10.8% และจำนวนปีที่มีจันทรุปราคา ครั้ง คิดเป็น 0.7%

ลำดับเหตุการณ์

จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งนี้เกิดขึ้นหลังเที่ยงคืนของคืนวันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม ต่อเนื่องถึงเช้ามืดวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2561 ปรากฏการณ์เริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงจันทร์แตะเงามัวของโลกในเวลา 00:15 น. แต่เรายังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ดวงจันทร์จะหมองคล้ำจนอาจเริ่มสังเกตได้เมื่อเวลาประมาณตี เป็นเวลาที่เงามัวกินลึกเข้าไปราวครึ่งหนึ่งของพื้นผิวด้านสว่างของดวงจันทร์
เวลา 01:24 น. ดวงจันทร์เริ่มแตะเงามืดของโลก ถือเป็นการเริ่มต้นจันทรุปราคาบางส่วน ดวงจันทร์จะเริ่มแหว่งเว้าเนื่องจากเงามืดเริ่มบัง (เราอาจรู้สึกว่าดวงจันทร์ดูเหมือนแหว่งไปบ้างแล้วก่อนหน้าเวลานี้ไม่นาน เนื่องจากขอบเงามืดไม่คมชัดอย่างที่แสดงในแผนภาพการเกิดจันทรุปราคา)
เมื่อเวลาผ่านไป เงามืดจะกินลึกเข้าไปในดวงจันทร์มากขึ้นเรื่อย ๆ บังถึงราว ใน ส่วนที่เวลาประมาณ 01:45 น. บังครึ่งดวงที่เวลา 02:00 น. และบังราว ใน ส่วนที่เวลา 02:15 น. และเริ่มบังหมดทั้งดวงตั้งแต่เวลา 02:30 น. ดวงจันทร์เคลื่อนเข้าไปในเงามืดลึกที่สุดในเวลา 03:22 น. จากนั้นจันทรุปราคาเต็มดวงสิ้นสุดเมื่อขอบดวงจันทร์ด้านบนเริ่มสว่างขึ้นในเวลา 04:13 น. รวมเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงนาน ชั่วโมง 43 นาที

แนวการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์เทียบกับเงาโลก (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด)

ระหว่างที่เกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์ไม่มืดสนิทแต่มีสีแดงคล้ำ อาจผสมกับสีน้ำตาล ส้ม เหลือง และบางครั้งมีสีฟ้าเจืออยู่เล็กน้อยที่ขอบดวง โดยเฉพาะในช่วงเริ่มหรือสิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง สาเหตุที่ดวงจันทร์เป็นสีแดงเนื่องจากแสงอาทิตย์ส่องผ่านบรรยากาศโลก เกิดการกระเจิงและการหักเหของแสง แสงสีแดงกระเจิงน้อยที่สุด จึงผ่านบรรยากาศโลกไปตกกระทบผิวดวงจันทร์
สีและความสว่างที่ต่างกันในจันทรุปราคาแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับระยะห่างระหว่างดวงจันทร์กับศูนย์กลางเงาโลกและสภาพของบรรยากาศโลกตรงบริเวณแนวที่คั่นระหว่างด้านกลางวันกับด้านกลางคืนของโลก นักดาราศาสตร์บอกความสว่างและสีของดวงจันทร์ด้วยค่าแอล (L) ตามมาตราดังชง คิดค้นโดย อองเดร ลุย ดังชง นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส กำหนดให้

L=0ดวงจันทร์มืดมาก เกือบมองไม่เห็น โดยเฉพาะในช่วงที่ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด
L=1ดวงจันทร์มืด มีสีเทาหรือน้ำตาล มองเห็นรายละเอียดบนพื้นผิวได้ยาก
L=2ดวงจันทร์มีสีแดงเข้ม หรือสีสนิมเหล็ก บริเวณใกล้ใจกลางมืดมาก แต่ขอบดวงจันทร์สว่างกว่า
L=3ดวงจันทร์มีสีแดงอิฐ ขอบเงามืดมีสีเหลืองหรือสว่าง
L=4ดวงจันทร์สว่างเป็นสีทองแดงหรือสีส้ม ขอบเงามืดมีสีฟ้าและสว่างมาก


หลังจากสิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง เงามืดจะค่อย ๆ เคลื่อนออกจากดวงจันทร์ มองเห็นดวงจันทร์แหว่งเนื่องจากเงามืดบังอยู่ราว ใน ส่วนที่เวลา 04:30 น. บังครึ่งดวงที่เวลา 04:45 น. และบังราว ใน ส่วนที่เวลา 05:00 น. จันทรุปราคาบางส่วนสิ้นสุดเวลา 05:19 น. แต่ดวงจันทร์ยังไม่สว่างเต็มที่ เพราะยังอยู่ในเงามัว ดวงจันทร์ทั้งดวงจะออกจากเงามัวในเวลา 06:29 น. ถือเป็นจุดสิ้นสุดปรากฏการณ์อย่างสมบูรณ์
 

จันทรุปราคาครั้งถัดไป

จันทรุปราคาครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายของปี 2561 ปีหน้ามีจันทรุปราคาเต็มดวงในวันที่ 21 มกราคม 2562 แต่ไม่เห็นในประเทศไทย อีกครั้งเป็นจันทรุปราคาบางส่วน เห็นได้ในประเทศไทยในช่วงเช้ามืดของวันพุธที่ 17 กรกฎาคม 2562 โดยจันทรุปราคาบางส่วนเริ่มเวลา 03:02 น. สิ้นสุดเวลา 06:00 น. ด้วยขนาดการบังเต็มที่ประมาณ 2/3 ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงจันทร์

จันทรุปราคาเต็มดวงกับดาวอังคาร

จันทรุปราคาเต็มดวงในวันที่ 28 กรกฎาคม 2561 นอกจากจะมีระยะเวลายาวนานแล้ว ยังมีความพิเศษอีกประการหนึ่งคือเกิดขึ้นในคืนที่ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์พอดี และดาวอังคารก็อยู่ที่ตำแหน่งใกล้โลกมากเป็นพิเศษซึ่งเกิดขึ้นทุก ๆ 14-15 ปี ทำให้เราเห็นดาวอังคารเป็นดาวสว่างสีส้ม (โชติมาตร -2.8) อยู่ใกล้ดวงจันทร์ที่กลายเป็นสีแดงในช่วงเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง โดยใกล้กันที่ระยะเชิงมุม 6° หากเรากำมือแล้วเหยียดแขนออกไปให้สุด กำปั้นของเราสามารถบังทั้งดวงจันทร์และดาวอังคารได้พร้อมกัน
จันทรุปราคาที่มีดาวเคราะห์อยู่ใกล้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ดาวเคราะห์ที่สามารถปรากฏอยู่ใกล้ดวงจันทร์เพ็ญได้มีเฉพาะดาวเคราะห์วงนอก ได้แก่ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน โดยดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์สว่างที่สุดที่สามารถอยู่ใกล้ดวงจันทร์ได้ขณะเกิดจันทรุปราคา (หากเกิดในช่วงราวเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ดาวอังคารมีโอกาสจะสว่างกว่าดาวพฤหัสบดี)
ก่อนหน้านี้ จันทรุปราคาเต็มดวงที่อยู่ใกล้ดาวอังคารเกิดขึ้นครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2557 ซึ่งไม่เห็นในประเทศไทย และดาวอังคารก็ไม่สว่างเท่าปีนี้ (ขณะนั้นดาวอังคารมีโชติมาตร -1.4)
ย้อนไปเมื่อเช้ามืดวันที่ สิงหาคม พ.ศ. 2514 ประเทศไทยเคยมีโอกาสเห็นจันทรุปราคาเต็มดวงอยู่ใกล้ดาวอังคาร ซึ่งอยู่ในตำแหน่งใกล้เคียงกับช่วงที่ใกล้โลกเป็นพิเศษคล้ายกับปีนี้ ทำให้ขณะนั้นดาวอังคารสว่างที่โชติมาตร -2.8
หลังจากปีนี้ เราจะมีโอกาสเห็นดาวอังคารอยู่ใกล้จันทรุปราคาเต็มดวงในเช้ามืดวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2587 (ดาวอังคารสว่างที่โชติมาตร -1.2) และคืนวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2608 (ดาวอังคารสว่างที่โชติมาตร -2.7)
น่าสังเกตว่าจากการค้นหาในช่วง 200 ปี (ค.ศ. 1901-2100) ไม่พบจันทรุปราคาเต็มดวงครั้งใดที่มีดาวพฤหัสบดีอยู่ใกล้ภายในระยะประมาณ 10° เลยแม้แต่ครั้งเดียว

ภาพถ่ายดาวอังคารจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2561 จุดสว่างสองจุดคือดาวบริวารของดาวอังคาร (จาก NASA/ESA/STScI)

สำหรับดาวเคราะห์ที่ไม่สว่างอย่างดาวยูเรนัส จันทรุปราคาเต็มดวงในเวลาหัวค่ำของคืนวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ดวงจันทร์จะบังดาวยูเรนัสขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงด้วย ที่กรุงเทพฯ กล้องโทรทรรศน์สามารถส่องเห็นดาวยูเรนัสปรากฏที่ขอบดวงจันทร์ขณะสิ้นสุดการบังในเวลา 18:32 น. ก่อนที่จันทรุปราคาเต็มดวงจะสิ้นสุดในเวลา 18:42 น.