สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาราศาสตร์สัญจร : ตามหาช้างเผือก บนดอยเสมอดาว

วันที่ 28-30 ตุลาคม 2559 ณ ดอยเสมอดาว อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ต.ศรีษะเกษ อ.นาน้อย จ.น่าน

ปลายเดือนตุลาคมเข้าสู่ต้นเดือนพฤศจิกายนเป็นการเปลี่ยนฤดูกาลจากฤดูฝนไปสู่ฤดูหนาว หรือที่เรียกว่า “ปลายฝน ต้นหนาว” แสดงว่าท้องฟ้าเริ่มเปิดแจ่มใส ลมหนาวพัดมา ยามเช้าอาจมีทะเลหมอกให้เห็น เป็นเทศกาลออกไปท่องเที่ยวนอนดูดาว ตามหาช้างเผือก มารู้จักเพื่อนบ้านในเอกภพ สำรวจท้องฟ้ายามค่ำคืน รับลมหนาวบนดอยสูงทางภาคเหนือ กิจกรรมครั้งนี้จะพาท่านไปนอนดูดาวแล้วยังพาไปท่องเที่ยวแอ่วเมืองเหนือ จังหวัด สถานที่ที่จะพาไปนอนดูดาวที่มีชื่อเสียงเป็นสถานที่นอนดูดาวที่ดีที่สุด ใน 10 สถานที่ดูดาวของประเทศไทย ที่ใครๆ ได้ยินชื่อดอยแห่งนี้แล้ว ก็อยากจะไปสักครั้งหนึ่งในชีวิตนั่นก็คือ “ดอยเสมอดาว” ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ต.ศรีษะเกษ อ.นาน้อย จ.น่าน ดอยเสมอดาวเป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อน เป็นลานกว้าง มีลานดูดาวบนสันเขา หรือจะนอนดูดาวยามค่ำคืน ที่มองเห็นดวงดาวเต็มท้องฟ้า เสมือนเราอยู่ท่ามกลางของทะเลดาว

สมาคมดาราศาสตร์ไทย ขอเชิญชวนท่านสมาชิกฯ และผู้สนใจร่วมเดินทางไปท่องเที่ยวกับกิจกรรมดาราศาสตร์สัญจร ท่องเที่ยวแอ่วเมืองเหนือ จังหวัด จังหวัดน่าน จังหวัดแพร่ และจังหวัดพิษณุโลก ไปสัมผัสกับธรรมชาติอย่างแท้จริง กินลม ชมวิว รับลมหนาว นอนดูดาว ชมทางช้างเผือก บนดอยสูง กับกิจกรรมดาราศาสตร์สัญจร Star Party ท่องเที่ยวแอ่วเมืองเหนือ จังหวัด

“ตามหาช้างเผือก บนดอยเสมอดาว” วันศุกร์ที่ 28 วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม 2559 แรม 13 ค่ำ พักบนดอยเสมอดาว วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม 2559 ณ อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ต.ศรีษะเกษ อ.นาน้อย จ.น่าน ดอยเสมอดาว เป็นดอยหนึ่งที่อยู่ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติศรีน่าน มีความสูงประมาณ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง จุดเด่นของดอยเสมอดาว คือ เป็นดอยสูงมีลานเปิดกว้าง ที่สามารถชมดวงอาทิตย์ขึ้น และดวงอาทิตย์ตกได้ในสถานที่เดียวกัน มีจุดชมวิว ลานดูดาวบนสันเขา เป็นสถานที่ดูดาว ที่เห็นดาวได้ชัดเจน และทางช้างเผือกเห็นได้ชัดที่สุดเพราะไม่มีแสงไฟตัวเมืองมารบกวน เหมาะกับการนอนดูดาว ถ่ายภาพดาวและทางช้างเผือก ที่ติด ใน 10 เป็นสถานที่ดูดาวที่ดีที่สุดของประเทศไทย นอกจากกิจกรรมนอนดูดาว ชมทางช้างเผือกแล้ว จะพาท่านท่องเที่ยวสถานที่ที่ใกล้เคียง ไม่ไกลนักคือ “ผาหัวสิงห์” เป็นหินผาที่มองเห็นเป็นหัวสิงโต ข้างบนเป็นจุดชมวิวดูได้รอบทิศ 360 องศา และที่ทำการอุทยานแห่งชาติศรีน่าน มีสถานที่ท่องเที่ยว คือ “ผาชู้” บนยอดผาชู้มีธงชาติไทยอยู่ข้างบนจึงมีที่มา “สายธงชาติที่ยาวที่สุดในประเทศไทย” และยังพาท่านไปท่องเที่ยวไหว้พระตามวัดในตัวจังหวัดแพร่ เช่น วัดพระธาตุช่อแฮ (เป็นวัดประจำปีเกิดนักษัตรของคนที่เกิดปีขาล [ปีเสือ]), วัดพระธาตุจอมแจ้ง ที่บรรจุพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เพื่อเป็นสิริมงคล ค่ำคืนวันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม 2559 เราจะนอนค้างคืนที่บนดอยเสมอดาว (นอนเต็นท์ของอุทยานฯ) ทำกิจกรรมเรียนรู้การดูดาวเบื้องต้น, ใช้แผนที่ฟ้า, สังเกตลักษณะของกลุ่มดาว, วัตถุท้องฟ้า, กาแล็กซีเพื่อนบ้าน แอนโดรเมดา, ดูดาวเคราะห์ผ่านกล้องโทรทรรศน์เช่น ดาวอังคาร, ดาวพฤหัสบดี, ดาวศุกร์, และวงแหวนที่สวยงามของดาวเสาร์, สังเกตทางช้างเผือกบนดอยเสมอดาว วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม 2559 วันเดินทางกลับมาแวะมนัสการพระพุทธชินราช ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) จังหวัดพิษณุโลก เพื่อเป็นสิริมงคลก่อนเดินทางกลับถึงกรุงเทพฯ

กำหนดการ

วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม 2559
20:30 น. – พร้อมกันมาลงทะเบียน ที่สมาคมดาราศาสตร์ไทย (มีอาหารว่างให้ทุกท่านก่อนออกเดินทาง)
21:00 น. – ออกเดินทางด้วยรถตู้ปรับอากาศ VIP จากสมาคมดาราศาสตร์ไทย
วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม 2559
07:00 น. – ถึงจังหวัดแพร่ แวะที่ร้านอาหารเพื่อมาทานอาหารเช้า ทำธุระส่วนตัว แล้วมารับประทานอาหารเช้าพร้อมกัน แล้วพักผ่อนตามอัธยาศัย
08:00 น. – ออกเดินทางไปท่องเที่ยวไหว้พระที่ วัดพระธาตุจอมแจ้ง อยู่ที่บ้านไคร้ ต.ช่อแฮ อ.ป่าแดง จ.แพร่
08:30 น. – ถึงวัดพระธาตุจอมแจ้ง มนัสการพระเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุพระหัตถ์ซ้ายของพระพุทธเจ้า ภายในวิหารมีหลวงพ่อจอมแจ้งซึ่งมีอายุประมาณ 600 กว่าปี ประดิษฐานเป็นพระประธาน ด้านหลังวิหารยังมีองค์ พระธาตุเก่าแก่อีกองค์หนึ่งยังคงสภาพเดิม พักผ่อนตามอัธยาศัย
09:00 น. – ออกเดินทางไปท่องเที่ยวไหว้พระที่ วัดพระธาตุช่อแฮ ถนนช่อแฮ ต.ช่อแฮ อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ อยู่ห่างจากวัดพระธาตุ จอมแจ้งเพียง กิโลเมตร
09:20 น. – ถึงวัดพระธาตุช่อแฮ วัดพระธาตุช่อแฮ เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์ที่เก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดแพร่ และเป็นวัดพระธาตุประจำปีเกิด นักษัตร ใน 12 ราศี ผู้ที่เกิดปีขาล (ปีเสือ) ที่บรรจุพระสารีริกธาตุ (พระเกศาธาตุ) ของพระพุทธเจ้า ภายในวิหารหลวงมี หลวงพ่อช่อแฮ ประดิษฐานเป็นพระประธาน ศิลปะล้านนา เชียงแสน สุโขทัย พักผ่อนตามอัธยาศัย ซื้อของฝากสินค้า พื้นเมืองของจังหวัดแพร่ บริเวณลานจดรถของวัด
10:30 น. – ออกเดินทางจากวัดพระธาตุช่อแฮ ไปร้านอาหาร ทานอาหารกลางวัน
11:00 น. – ถึงร้านอาหารรับประทานอาหารกลางวัน พักผ่อนตามอัธยาศัย
11:30 น. – ออกเดินทางไปที่อุทยานแห่งชาติศรีน่าน
14:30 น. – ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ลงทะเบียนเยี่ยมชม พบเจ้าหน้าที่อุทยานฯ เดินชม ผาชู้ ที่มีสายธงชาติที่ยาวที่สุด ประเทศไทย ชมวิวรอบๆ ที่ทำการอุทยานฯ แล้วออกเดินทางไปยังดอยเสมอดาวที่อยู่ไม่ไกลจากที่ทำการ
15:00 น. – ถึงดอยเสมอดาว พักผ่อนตามอัธยาศัย นำสัมภาระไว้ในเต็นท์ที่จัดไว้ให้ ที่ลานกางเต็นท์ของอุทยานฯ
15:30 น. – เริ่มกิจกรรมการบรรยาย การดูดาวเบี่ยงต้น การขึ้นและตกของดวงดาว ทรงกลมท้องฟ้า การวัดมุมดาว การใช้แผนที่ ดาวอย่างถูกต้อง การใช้กล้องโทรทรรศน์ การใช้กล้องสองตา (กล้องส่องทางไกล) ค่ำคืนนี้เราจะสำรวจดูอะไรบ้าง การสังเกตลักษณะกลุ่มดาวจักรราศีและกลุ่มดาวสำคัญๆ สังเกตลักษณะของทางช้างเผือก และเทคนิคการถ่ายภาพดาว
16:30 น. – พักผ่อนตามอัธยาศัย จะเดินชมวิวถ่ายภาพบนดอยเสมอดาว หรือจะถ่ายภาพกับผาหัวสิงห์ที่อยู่ใกล้ๆ กัน หรือจะขึ้นไปบน ยอดผาหัวสิงห์ที่เป็นจุดชมวิวดูได้โดยรอบ 360 องศา
17:00 น. – รับประทานอาหารเย็น พักผ่อนตามอัธยาศัย ช่วงเวลานี้ก่อนดวงอาทิตย์ตกเป็นช่วงที่ท้องฟ้าทิศตะวันตกสวยงามมาก
18:30 น. – มาพร้อมกันที่เต็นท์ สำรวจท้องฟ้าจริงดวงดาวปรากฏให้เห็น มาดูดาวเคราะห์ ดวงผ่านกล้องโทรทรรศน์ คือ ดาวศุกร์ และดาวเสาร์ กันก่อนที่ดาวเคราะห์ทั้ง ดวงนี้จะตกรับขอบฟ้าไปก่อนทางทิศตะวันตกเวลา 19:30 น. (ณ ตำแหน่ง จ.น่าน จากโปรแกรม Stellarium 0.14.3 และ Starry Night Pro Plus 6.4) นั่นคือเราจะมีเวลาดูดาวเคราะห์ ดวงนี้ได้เพียง ชั่วโมง ดาวเคราะห์ทั้ง ดวงอยู่ในกลุ่มดาวแมงป่องอยู่ตรงบริเวณของศูนย์กลางทางช้างเผือก และจะเห็นดาวอังคาร อยู่สูงขึ้นไปอยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู มาชมกาเล็กซีเพื่อนบ้านที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าคือ กาแล็กซี แอนโดรเมดา สังเกตกลุ่มดาวทางขั้วฟ้าเหนือ และทางซีกฟ้าใต้ โดยใช้แผนที่ฟ้า(แผนที่ดาว) วัดมุมดาว หากลุ่มดาวที่บอกตำแหน่งทิศ เหนือ สังเกตลักษณะกลุ่มดาวจักรราศีและกลุ่มดาวสำคัญๆ ตำแหน่งเส้นต่างๆ บนท้องฟ้า สังเกตวัตถุท้องฟ้าผ่านกล้อง โทรทรรศน์ เช่น M57 เนบิวลาวงแหวน, M13 กระจุกดาวทรงกลมเฮอร์คิวลีส, กระจุกดาวคู่, สังเกตทางช้างเผือก
22:00 น. – รับประทานอาหารว่าง กาแฟ โอวัลติน ร้อนๆ คลายหนาวกัน
23:00 น. – พักผ่อนตามอัธยาศัย หรือท่านใดที่ยังไม่ง่วงอยากจะถ่ายภาพดาว อยากจะดูดาวต่อ มาดู M42 เนบิวลาสว่างใหญ่นายพราน M35 กระจุกดาวเปิด, M1 เนบิวลาปู (ซากซูเปอร์โนวา) ผ่านกล้องโทรทรรศน์

วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม 2559
04:00 น. – ตื่นมาดูกลุ่มดาวขึ้นมาใหม่ก่อนเช้าที่แสงรุ่งอรุณสีทองจะมา สังเกตดาวฤกษ์ดวงแรกชื่อไทย ในเอกภพคือ ดาวชาละวัน (47 Ursae Majoris) อยู่ในกลุ่มดาวหมีใหญ่ หรือกลุ่มดาวจระเข้ สามรถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ชมทางช้างเผือกที่เปลี่ยน ตำแหน่ง ตามล่าหาดาวเทียมกันจะเห็นได้ดีก่อนเช้ามืด ชมดาวพฤหัสบดี และดวงจันทร์ ดวง ก่อนที่แสงรุ่งอรุณของ ดวงอาทิตย์ขึ้นอบฟ้า รับลมเย็นที่สันเขา รอชมดวงอาทิตย์ขึ้น ถ่ายภาพเป็นที่ระลึก พักผ่อนตามอัธยาศัย เก็บสัมภาระ ส่วนตัวให้เรียบร้อย
07:00 น. – รับประทานอาหารเช้า พักผ่อนตามอัธยาศัย เตรียมตัวเดินทางออกจากดอยเสมอดาว
08:00 น. – ออกเดินทางจากดอยเสมอดาว ไปท่องเที่ยวกันต่อที่ จังหวัดพิษณุโลก มนัสการพระพุทธชินราช ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร (วัดใหญ่)
12:00 น. – ถึงตัวจังหวัดพิษณุโลกไปมนัสการพระพุทธชินราช ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่)
12:30น. – ทานอาหารกลางวันที่ร้านก๋วยเตี๋ยวห้อยขา เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดพิษณุโลก
13:00 น. – ออกเดินทางกลับสู่กรุงเทพฯ
21:00 น. – ถีงกรุงเทพฯ ที่สมาคมดาราศาสตร์ไทยโดยสวัสดิภาพ

หมดเขตรับสมัครลงทะเบียนวันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2559 (รับจำนวนจำกัด 16 ท่าน)

ประเภทที่พักเต็นท์นอนอุทยานฯอัตราค่าสมัครต่อคน (บาท) บุคคลทั่วไปอัตราค่าสมัครต่อคน (บาท) สำหรับสมาชิกฯ
เต็นท์นอน ท่าน พร้อมเครื่องนอน ที่รองนอน หมอน ถุงนอน ชุด5,900.-5,600.-
เต็นท์นอน ท่าน พร้อมเครื่องนอน ที่รองนอน หมอน ถุงนอน ชุด6,075.-5,775.-
สมัครมาเป็นกลุ่ม คนขึ้นไปมีส่วนลดลดลงท่านละ 100.--


ค่าลงทะเบียนร่วมกิจกรรมตามรายการข้างต้น โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
1. ค่ารถตู้ปรับอากาศ
2. ค่าอาหาร มื้อ
3. ค่าที่พักเต็นท์นอนอุทยานฯ (เต็นท์นอน คน) พร้อมเครื่องนอน ที่รองนอน, หมอน, และถุงนอน
4. ค่าธรรมเนียมเข้าชมอุทยานฯ
5. ค่าแผนที่ฟ้า ไฟฉายแดง และเอกสารของกิจกรรม
6. ค่าเบี้ยประกันการเดินทาง

สิ่งที่ต้องเตรียมนำติดตัวไป

1. ของใช้ส่วนตัวที่จำเป็น
2. เสื้อกันหนาว
3. หมวกกันน้ำค้าง
4. ยารักษาโรคประจำตัว
5. ไฟฉายส่องทาง
6. ยากันยุง
7. ร่มพับได้ หรือหมวกติดไปด้วยเพราะกลางวันอากาศร้อนตอนเดินทางไปท่องเที่ยว

หมายเหตุ
1. กำหนดการดังกล่าวข้างต้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมตามสภาพอากาศ
2. ถ้าสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมไม่ถึง ท่าน สมาคมฯ ขอสงวนสิทธิ์ขอยกเลิกจัดกิจกรรม (สมาคมฯ จะคืนค่าลงทะเบียนให้กับสมาชิก)
3. ในกรณีที่ท่านสมัครลงทะเบียนกิจกรรมสัญจรที่ชำระเงินแล้ว จะขอยกเลิกโปรดแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ สมาคมฯ ดังนี้
3.1 แจ้งภายในวันที่ 12 ตุลาคม คืนเงินค่าลงทะเบียนทั้งหมด
3.2 แจ้งภายในวันที่ 13 ตุลาคม – 14 ตุลาคม สมาคมฯ ขอสงวนสิทธิเก็บค่าใช้จ่าย 50% ของค่าลงทะเบียน 
3.3 แจ้งหลังวันที่ 14 ตุลาคม สมาคมฯ ขอสงวนสิทธิเก็บค่าใช้จ่ายเต็มจำนวนของค่าลงทะเบียน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

สมาคมดาราศาสตร์ไทย เลขที่ 928 ชั้น ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทร. 02-381-7409 02-381-7410 หรือ 086 889 1672 คุณสุกัญญา พึ่งผลงาม เจ้าหน้าที่สมาคมฯ โทรสาร. 02-381-7410 
หรือที่ E-mail: thaiastro@hotmail.com เว็บไซต์ http://thaiastro.nectec.or.th Facebook สมาคมดาราศาสตร์ไทย https://www.facebook.com/groups/thaiastro/ 
หรือ https://www.facebook.com/ThaiAstronomicalSociety