กิจกรรมดาราศาสตร์สัญจร Star Party ท่องเที่ยวแอ่วเมืองน่าน “กระซิบรัก ล่าทางช้างเผือก ดอยเสมอดาว”
ณ ดอยเสมอดาว อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ต.ศรีษะเกษ อ.นาน้อย จ.น่าน
เดือนพฤศจิกายนเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว ท้องฟ้าโปร่งเปิดสดใส ลมหนาวเย็นพัดมา เป็นเดือนแห่งท่องเที่ยวชมธรรมชาติขุนเขา ไปสำรวจท้องฟ้านอนดูดาว ดูทางช้างเผือก ดูดาวตก หาดาวชาละวันดาวฤกษ์ชื่อไทย ไปรับลมหนาวบนดอยสูงทางภาคเหนือ กิจกรรมครั้งนี้จะพาท่านไปนอนดูดาว ล่าทางช้างเผือกกันอีกครั้ง ผู้ที่พลาดไปกับทริปครั้งก่อน สถานที่ที่จะพาไปนอนดูดาวที่มีชื่อเสียงเป็นสถานที่นอนดูดาวที่ดีที่สุด 1 ใน 10 สถานที่ดูดาว ของประเทศไทย ที่ใครๆ ได้ยินชื่อดอยแห่งนี้แล้ว ก็อยากจะไปสักครั้งหนึ่งในชีวิต ที่นั่นคือ “ดอยเสมอดาว” อยู่ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ต.ศรีษะเกษ อ.นาน้อย จ.น่าน “ดอยเสมอดาว” เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนเหมาะกับการดูดาวที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง เป็นลานกว้าง มีลานดูดาวบนสันเขา เห็นดาวเต็มท้องฟ้าระยิบระยับเหมือนท่านอยู่ท่ามกลางทะเลดาว สถานที่แห่งนี้ยังมีจุดเด่นอีกอย่างคือ สามรถเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นและตกได้ในที่เดียวกัน เช้าเห็นทะเลหมอก และยังได้เห็นแสงจักรราศี (Zodiacal Light) ได้อีกด้วย
สมาคมดาราศาสตร์ไทย ขอเชิญชวนท่านสมาชิกฯ และผู้สนใจร่วมเดินทางกับเรา ไปท่องเที่ยวกับกิจกรรมดาราศาสตร์สัญจร ท่องเที่ยวแอ่วเมืองน่าน ไปสัมผัสกับวิถีชีวิตคนเมืองน่าน ตามหา “ปู่ม่าน ย่าม่าน” (กระซิบรักบันลือโลก) ที่วัดภูมินทร์ สักการะศาลหลักเมืองที่ วัดมิ่งเมือง สักการะพระบรมธาตุแช่แห้ง ที่วัดพระธาตุแช่แห้ง สักการะพระบรมสารีริกธาตุที่วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ชมพระยางาช้างดำ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เป็นของโบราณเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดน่าน มีแห่งเดียวในไทย กินลม ชมวิว รับลมหนาว นอนดูดาว ชมทางช้างเผือก ดูฝนดาวตก บนดอยสูงที่ “ดอยเสมอดาว” กับกิจกรรมดาราศาสตร์สัญจร Star Party ท่องเที่ยวแอ่วเมืองน่านครั้งนี้กันกับ
“กระซิบรัก ล่าทางช้างเผือก ดอยเสมอดาว” วันศุกร์ที่ 17 - วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน 2560 ( แรม 15 ค่ำ ) ณ อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ต.ศรีษะเกษ อ.นาน้อย จ.น่าน
ดอยเสมอดาว เป็นดอยหนึ่งที่อยู่ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติศรีน่าน มีความสูงประมาณ 888 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง จุดเด่นของดอยเสมอดาว คือ เป็นดอยสูงมีลานเปิดกว้าง ที่สามารถชมดวงอาทิตย์ขึ้น และดวงอาทิตย์ตกได้ในสถานที่เดียวกัน มีจุดชมวิว ลานดูดาวบนสันเขา เป็นสถานที่ดูดาว ที่เห็นดาวได้ชัดเจน และทางช้างเผือกเห็นได้ชัดที่สุดเพราะไม่มีแสงไฟตัวเมืองมารบกวน เหมาะกับการนอนดูดาว ถ่ายภาพดาวและทางช้างเผือก ที่ติด 1 ใน 10 เป็นสถานที่ดูดาวที่ดีที่สุดของประเทศไทย นอกจากกิจกรรมนอนดูดาว ชมทางช้างเผือกแล้ว ดูดาวตก จะพาท่านท่องเที่ยวสถานที่ที่ใกล้เคียง ไม่ไกลนักคือ “ผาหัวสิงห์” เป็นหินผาที่มองเห็นเป็นหัวสิงโต ข้างบนเป็นจุดชมวิวดูได้รอบทิศ 360 องศา และที่ทำการอุทยานแห่งชาติศรีน่าน มีสถานที่ท่องเที่ยง คือ “ผาชู้” บนยอดผาชู้มีธงชาติไทยอยู่ข้างบนจึงมีที่มา “สายธงชาติที่ยาวที่สุดในประเทศไทย” และยังพาท่านไปท่องเที่ยวไหว้พระตามวัดในตัวจังหวัดน่าน เช่น สักการะศาลหลักเมืองที่วัดมิ่งเมือง เพื่อเป็นสิริมงคลที่มาเยือนเมืองน่าน, วัดภูมินทร์ ชมภาพจิตรกรรมฝาผนังภาพ “ปู่ม่าน ย่าม่าน” หรือภาพกระซิบรักบันลือโลก สักการะพระประธานจตุรพักตร์นาคสะดุ้งที่หันพระพักตร์ทั้ง 4 ด้าน, วัดพระบรมธาตุแช่แห้ง (เป็นพระธาตุประจำปีเกิดนักษัตรของคนที่เกิดปีเถาะ [ปีกระต่าย], วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ที่บรรจุพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เพื่อเป็นสิริมงคล, ชมพระยางาช้างดำ หนึ่งเดียวของไทยเป็นของโบราณเก่าแก่ของเมืองน่าน ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ค่ำคืนวันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2560 เราจะไปนอนค้างคืนบนดอยเสมอดาว (นอนเต็นท์ของอุทยานฯ) ทำกิจกรรมเรียนรู้การดูดาวเบื้องต้น, ใช้แผนที่ฟ้า, สังเกตลักษณะของกลุ่มดาว, ชมทางช้างเผือก, วัตถุท้องฟ้ากระจุกดาว, วัตถุ M ต่างๆ, กาเล็กซีเพื่อนบ้าน แอนดรอเมดา, ดูดาวเคราะห์ผ่านกล้องโทรทรรศน์เช่น ดาวพุธ, และชมวงแหวนดาวเสาร์(ก่อนลับขอบฟ้าช่วงเย็น) ดาวอังคาร, ดาวพฤหัสบดี, ดาวศุกร์(ก่อนเช้าวันใหม่) วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน 2560 วันเดินทางกลับมาแวะ วัดท่าหลวง สักการะหลวงพ่อเพชร จังหวัดพิจิตร เหื่อเป็นสิริมงคล ก่อนเดินทางกลับถึงกรุงเทพฯ
กำหนดการเดินทาง
วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
20:30 น. – พร้อมกันมาลงทะเบียน ที่สมาคมดาราศาสตร์ไทย (มีอาหารว่างให้ทุกท่านก่อนออกเดินทาง)
21:00 น. – ออกเดินทางด้วยรถตู้ปรับอากาศ VIP จากสมาคมดาราศาสตร์ไทย สู่จังหวัดน่าน
วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
07:00 น. – ถึงจังหวัดน่าน แวะที่ร้านอาหารในตัวเมืองเพื่อมาทานอาหารเช้า ทำธุระส่วนตัว แล้วพักผ่อนตามอัธยาศัย
08:00 น. – ออกเดินทางไปสักการะศาลหลักเมือง หรือที่ชาวพื้นเมืองน่านรียกว่า “เสามิ่ง” หรือเสามิ่งเมือง จึงเป็นที่มาที่เรียกว่า