ดาวพฤหัสบดีเพ็ญใกล้โลกในรอบปี 2561
สนามข้างอาคารศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ
วันพุธที่ 9 พฤษภาคม 2561 เป็นอีกวันหนึ่งที่จะมีปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์บนท้องฟ้า "ดาวพฤหัสบดีเพ็ญใกล้โลกในรอบปี 2561" คำว่า พฤหัสบดีเพ็ญ หมายถึง ดาวพฤหัสบดีมีความสว่างสุกใส ดวงโต ที่อยู่ตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์
การที่ดาวพฤัสบดีโคจรมาอยู่ที่ตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์(Jupiter Opposition) หมายถึง ดวงอาทตย์ โลก และดาวพฤหัสบดี ที่มีโลกอยู่ตรงกลาง โคจรมาอยู่ในระนาบเรียงเป็นเส้นตรง จึงเป็นตำแหน่งใกล้โลกมากในรอบปีนี้ด้วย การที่ดาวพฤหัสบดีตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ นั่นหมายถึง เมื่อดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกแล้ว ดาวพฤหัสบดีก็จะขึ้นมาจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออก และดาวพฤหัสบดีจะปรากฏอยู่บนท้องฟ้าเป็นเวลายาวนานให้เราเห็นได้ตลอดทั้งคืน จนถึงรุ่งเช้าของวันใหม่ถัดไป
ดาวพฤหัสบดีเพ็ญใกล้โลกครั้งนี้จะเกิดขึ้นช่วงเช้าวันพุธที่ 9 พฤษภาคม 2561 เวลาประมาณ 07:10 น. (ตามเวลาประเทศไทย) ดาวพฤหัสบดีอยู่ห่างจากโลกที่ระยะทางประมาณ 658 ล้านกิโลเมตร หรือ ระยะทาง 4.40 หน่วยดาราศาสตร์ เราจะเห็นดาวพฤหัสบดีได้ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกดินทางทิศตะวันตก มองเห็นได้ตลอดทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้าของวันใหม่ มีความสว่างสุกใส ด้วยความสว่างปรากฏ -2.5 สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ (สว่างกว่าดาวซิริอัสที่มีความสว่างปรากฏ -1.4)
ดาวพฤหัสบดีคืนวันที่9 พฤษภาคม 2561 ปรากฏอยู่ในกลุ่มดาวคันชั่ง (Libra) เป็นกลุ่มดาวจักรราศี 1 ใน 12 จักรราศี เราสามารถเห็นดาวพฤหัสบดีได้ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน ได้ทุกพื้นที่ของประเทศไทย หากเรามีกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กหน้ากล้อง 3 นิ้ว กำลังขยาย 50 เท่า หรือกล้องโทรทรรศน์ที่มีหน้ากล้องตั้งแต่ 8 นิ้วขึ้นไป (ต้องมีฐานกล้องระบบตามดาว) จะเห็นดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสบดีที่มีขนาดใหญ่ 4 ดวง ที่เรียกว่า ดวงจันทร์กาลิเลียน (Galilean Moons) ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแด่ Galileo Galilei ผู้ส่องกล้องโทรทรรศน์พบดวงจันทร์ทั้ง 4 ของดาวพฤหัสบดีเป็นคนแรก ได้แก่ 1. ดวงจันทร์ไอโอ (Io) 2. ดวงจันทร์ยูโรปา (Europa) 3. ดวงจันทร์แกนีมีด (Ganymede) 4. ดวงจันทร์คัลสิสโต (Callisto) และยังเห็นแถบเมฆบนดาวพฤหัสบดี หรืออาจมองเห็นจุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสบดี (Great Red Spot) เป็นพายุหมุนขนาดใหญ่บนดาวพฤหัสบดีได้อีกด้วย
ในวันพุธที่9 พฤษภาคม 2561 หลังดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกไป นอกจากเราจะได้เห็นดาวพฤหัสบดีขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้แล้ว ยังมองเห็นดาวศุกร์ (ใกล้เพ็ญ) อีกด้วยทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หรือที่เรียกว่า "ดาวประจำเมือง" จะปรากฏให้เห็นได้ประมาณ 1 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลาประมาณ 18:30 น. - 19:30 น.
เป็นวันที่ดาวพฤหัสบดีเพ็ญใกล้โลกในรอบปีและดาวศุกร์ใกล้เพ็ญที่มาให้ยลโฉมด้วย ยังมีปรากฏการณ์ที่น้อยคนจะได้เห็นกับตา คือ จะได้เห็นจุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสบดี (Great Red Spot) และเกิดปรากฏการณ์อุปราคาบนดาวพฤหัสบดี
ในวันดังกล่าวจุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสบดี(Great Red Spot) จะปรากฏให้เห็นตั้งแต่เวลาประมาณ 22:50 น. - 02:20 น. ของวันที่ 10 พฤษภาคม 2561
และมีปรากฏการณ์หนึ่งที่อยากให้ติดตามชมให้เห็นกับตาคือ เกิดปรากฏการณ์อุปราคาบนดาวพฤหัสบดีด้วย ที่ดวงจันทร์ยูโรปา (Europa) โคจรผ่านหน้าดาวพฤหัสบดี เกิดเป็นอุปราคาบนดาวพฤหัสบดี (เป็นสุริยุปราคาที่ไม่สามารถบังดาวพฤหัสบดีได้เพราะดวงจันทร์ยูโรปาเล็กกว่าดาวพฤหัสบดี) ในช่วงเวลาประมาณ 18:30 น. (ไม่สามารถมองเห็นได้เพราะอยู่ใกล้ขอบฟ้า) - 20:20 น. ( ณ ตำแหน่งสังเกตการณ์ที่กรุงเทพฯ)
ครั้งที่ดาวพฤหัสบดีเพ็ญใกล้โลกมากที่สุดเมื่อวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2554) ระยะทางห่างจากโลก 591 ล้านกิโลเมตร มีความสว่างปรากฏ - 2.9
ครั้งนี้วันที่9 พฤษภาคม ค.ศ. 2018 (พ.ศ. 2561) ระยะทางห่างจากโลก 658 ล้านกิโลเมตร มีความสว่างปรากฏ - 2.5
ครั้งต่อไปดาวพฤหัสบดีเพ็ญใกล้โลกที่สุดวันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 2019 (พ.ศ. 2562) ระยะทางห่างจากโลก 640 ล้านกิโลเมตร มีความสว่างปรากฏ -2.6
สมาคมดาราศาสตร์ไทยขอเชิญชวนสมาชิก ออเจ้าทั้งหลาย และออเจ้าผู้สนใจ มาร่วมกิจกรรม "ชวนชม ดาวพฤหัสบดีเพ็ญใกล้โลกในรอบปี 2561" JUPITER OPPOSITION 9 MAY 2018
วันพุธที่9 พฤษภาคม 2561 ตั้งแต่เวลา 18:00 น. - 21:00 น. ณ สนามข้างอาคารศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (บริเวณท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) ถ. สุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ
9 พฤษภาคม 2561
18:00น. - ลงทะเบียนที่หน้างาน
18:30น.
การที่ดาวพฤัสบดีโคจรมาอยู่ที่ตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์
ดาวพฤหัสบดีเพ็ญใกล้โลกครั้งนี้
ดาวพฤหัสบดีคืนวันที่
ในวันพุธที่
เป็นวันที่ดาวพฤหัสบดีเพ็ญใกล้โลกในรอบปี
ในวันดังกล่าวจุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสบดี
และมีปรากฏการณ์หนึ่งที่อยากให้ติดตามชมให้เห็นกับตาคือ
ครั้งที่ดาวพฤหัสบดีเพ็ญใกล้โลกมากที่สุด
ครั้งนี้วันที่
ครั้งต่อไปดาวพฤหัสบดีเพ็ญใกล้โลกที่สุด
สมาคมดาราศาสตร์ไทย
วันพุธที่
กำหนดการ
วันที่18:00
18:30