ดาวเสาร์เพ็ญใกล้โลกที่สุดในรอบปี 2561
สมาคมดาราศาสตร์ไทย
เดือนมิถุนายนนี้
จะมีปรากฏการณ์ “ดาวเสาร์เพ็ญใกล้โลกที่สุดในรอบปี” จะปรากฏให้เห็นได้ตลอดทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้า มีความสว่างสุกใส สามรถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่ามีลักษณะเป็นดวงสีเหลือง ถ้ามองผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยายตั้งแต่ 50 เท่าขึ้นไปจะเห็นวงแหวนของดาวเสาร์ที่สวยงม ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 ในระบบสุริยะ มีความโดดเด่นที่สุดพี่น้องดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวงมีวงแหวนที่สวยงามที่สุด จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ซึ่งจะอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกมากที่สุดในรอบปีด้วย ตรงกับค่ำวันพุธที่ 27 มิถุนายน 2561 เวลา 20:15 น.(ตามเวลาประเทศไทย) ที่ระยะทางประมาณ 1,352 ล้านกิโลเมตร หรือ 9.04 หน่วยดาราศาสตร์ มีความสว่างปรากฏ 0.0 วงแหวนของดาวเสาร์มีความเอียงเป็นมุม 26 องศา
ดาวเสาร์อยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ (Saturn Opposition) หมายถึง ตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์ โลก และดาวเสาร์ โคจรมาเรียงอยู่ในตำแหน่งเส้นตรงเดียวกัน ซึ่งมีโลกอยู่ตรงกลางระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเสาร์ เป็นตำแหน่งใกล้โลกที่สุดด้วย นั่นหมายความว่า ดาวเสาร์จะปรากฏให้เห็นบนท้องฟ้าต่อเมื่อดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ดาวเสาร์ก็จะขึ้นมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เวลาประมาณ 19:00น. จะเห็นได้ตลอดทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 28 มิถุนายน 2561 เวลาประมาณ 05:19 น. คืนวันดังกล่าวดาวเสาร์จะสุกสว่างสดใสปรากฏอยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู (Sagittarius) ถ้ามองผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยายตั้งแต่ 50 เท่าขึ้นไป จะสามารถมองเห็นวงแหวนของดาวเสาร์ที่สวยงามทำมุมเอียงขว้างสุดเอียงเข้าหาโลก 26 องศาทำให้มองเห็นขั้วเหนือของดาวเสาร์ด้วย ถ้าใช้กำลังขยาย 100 เท่า ก็จะเห็นช่องว่าง Cassini เป็นช่องว่างอยู่ระหว่างวงแหวนหลักคือ วงแหวน A และวงแหวน B ผู้ที่ค้นพบช่องว่างนี้เป็นคนแรกคือ จีโอวานนิ โดมีนิโค แคสซินี (Giovanni Domenico Cassini) ช่องว่างนี้จึงได้ถูกตั้งชื่อว่า “แคสซินี่” (Cassini) ยังมองเห็นวงจันทร์ใหญ่สุดของดาวเสาร์ด้วยคือ ดวงจันทร์ไททัน (Titan moon) ถ้าค่ำคืนวันดังกล่าวอยู่สถานที่ไม่มีเมฆ ไม่มีแสงไฟจากตัวเมือง ไม่มีแสงจันทร์มารบกวน เห็นดาวเสาร์ลอยเด่นอยู่ท่ามกลางศูนย์กลางทางช้างเผือกพอดี แต่ทว่าวันนั้นมีดวงจันทร์สว่างเพ็ญเต็มดวง ขึ้น 15 ค่ำ แต่ไม่มีปัญหาการดูดาวเคราะห์ นอกจากได้เห็นดาวเสาร์เพ็ญใกล้โลกที่สุดในรอบปีแล้ว ยังมีพี่น้องดาวเคราะห์มาปรากฏให้เห็นอีก 5 ดวงอีก 1 ดวงจันทร์เพ็ญด้วย ดวงแรกคือ ดาวพุธใกล้ตกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือหลังจากดวงอาทิตย์ตกไปแล้ว แต่เห็นได้ยากมากเพราะอยู่ในตัวเมือง ดวงที่สองคือ ดาวศุกร์ เห็นทางทิศตะวันตกหลังจากดวงอาทิตย์ตกไปแล้ว เห็นสุกสว่างที่สุดบนท้องฟ้า หรือที่เรียกว่า ดาวประจำเมือง ดวงที่สามคือ พฤหัสบดี ยังมีความสว่างสุกใส ถึงแม้ผ่านวันที่ดาวพฤหัสบดีเพ็ญใกล้โลกที่สุดในรอบปีมาแล้วเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2561 ยังเห็นได้ตลอดทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้า ดวงที่สี่คือ ดาวเสาร์ที่อยู่ตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เห็นได้ตลอดทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้า ดวงที่ห้าคือ ดาวอังคาร ดาวอังคารจะขึ้นตามหลังดาวเสาร์ เห็นได้เวลาประมาณ 22: 00 น. เห็นได้จนถึงรุ่งเช้า และมีดวงจันทร์เพ็ญจะอยู่สูงเหนือดาวเสาร์ขึ้นไป อยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู (Sagittarius) เช่นกัน
สมาคมดาราศาสตร์ไทย จะจัดกิจกรรมขม “ดาวเสาร์เพ็ญใกล้โลกที่สุดในรอบปี 2561” Saturn Opposition June 27, 2018 ราชาแห่งวงแหวน (The Lord of the Ring) วันพุธที่ 27 มิถุนายน 2561 ตั้งแต่เวลา 18:30 – 21:30 น. สถานที่ ข้างอาคารศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา บริเวณท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ถนนสุขุมวิท (เอกมัย) แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ
สมาคมดาราศาสตร์ไทย ขอเชิญชวน ออเจ้าท่านสมาชิกฯ และประชาชนผู้สนใจ ที่อยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑลมาร่วมกับกิจกรรมชม “ดาวเสาร์เพ็ญใกล้โลกที่สุดในรอบปี 2561” ยังได้ชมพี่น้องดาวเคราะห์ และหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ด้วย สมาคมดาราศาสตร์ไทยจะนำกล้องโทรทรรศน์หลายขนาดมาตั้งให้บริการได้ชม วงแหวนดาวเสาร์ที่เป็นจุดเด่นของค่ำคืนนี้ ทุกท่านจะได้ชมวงแหวนของดาวเสาร์กับตาท่านเอง และดวงจันทร์ไททัน ดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ ดาวศุกร์ ดาวพฤหัสบดีพร้อมดวงจันทร์บริวาร หลุมบนดวงจันทร์ผ่านกล็องโทรทรรศน์
และยังมีปรากฏการณ์ให้เห็นอีกตอนหัวค่ำวันดังกล่าวด้วย น้อยคนที่จะรู้จักและไม่เคยได้เห็นปรากฏการณ์นี้ มันไม่ได้เป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ แต่เป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “อิริเดียมแฟร์” (Iridium Flares) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากดาวเทียมสื่อสารที่โคจรรอบโลกอยู่สูงประมาณ 500 กิโลเมตรจากพื้นโลกขึ้นไป สาเหตุที่ทำให้เกิด Iridium Flares ก็คือ แผง Main Mission Antenna ที่ติดอยู่บนดาวเทียมทั้งสามด้าน ซึ่งทำจากแผ่นอลูมิเนียมที่มีคุณสมบัติสะท้อนแสงได้สูง ทำมุมพอดีที่จะสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ให้ตกลงมาบนผิวโลกได้ ก่อให้เกิดพื้นที่ที่รับแสงจากแผงเหล่านี้บนพื้นโลก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 กิโลเมตร คนบนโลกจะเห็นเป็นแสงสว่างวาบบนท้องฟ้า แสงนี้สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จึงเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ ไม่บ่อยครั้งและไม่มาให้เห็นทุกวัน ที่จะได้เห็นแสงสว่างวาบของ อิริเดียมแฟร์