สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดูดาวที่กรุงเก่า

ดูดาวที่กรุงเก่า

หอพิสัยศัลลักษณ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม พระนครศรีอยุธยา

9-17 พฤศจิกายน 2567

โดย: วิษณุ เอื้อชูเกียรติ 13 พฤศจิกายน 2567
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 25 ธันวาคม 2567
ในเมืองเก่าอยุธยา มีหอดูดาวโบราณแห่งหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ร.4 ทรงสร้างไว้บนฐานหอดูดาวเก่าสมัยพระนารายณ์มหาราช ความสูง 22 เมตรทำให้หอพิสัยศัลลักษณ์เหมาะแก่การดูดาว และต่อมากลายเป็นหอสังเกตการณ์ทั่วทั้งเกาะเมืองและติดเครื่องสัญญาณเตือนภัยของมณฑลกรุงเก่า

หอพิสัยศัลลักษณ์ 

หอพิสัยศัลลักษณ์ตั้งอยู่ในบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม ซึ่งแต่ก่อนเคยเป็นพระราชวังที่ประทับของพระมหาอุปราช เช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ชื่อวังเป็นชื่อจากรัชกาลที่ 4

เมื่อวันที่ 9–17 พฤศจิกายน 2567 สำนักศิลปากรที่ พระนครศรีอยุธยา “4 วัด วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” เป็นการเปิดโบราณสถานให้ประชาชนชมในยามค่ำคืน โบราณสถานที่เปิดได้แก่ วัดไชยวัฒนาราม วัดราชบูรณะ วัดมหาธาตุ วัดพระราม และพระราชวังจันทรเกษม มีกิจกรรมสมทบมากมาย ในงานนี้ สมาคมดาราศาสตร์ไทยได้รับเชิญให้ไปจัดกิจกรรมที่หอพิสัยศัลลักษณ์ด้วย

พิพิธภัณฑ์มีพื้นที่มาก แม้แต่หอพิสัยศัลลักษณ์ก็มีสนามใหญ่ด้านหน้า มีลานปูกระเบื้องหน้าหอ แล้วยังมีห้องข้างบนอีก ชั้น ถ้านับชั้นดาดฟ้าด้วยก็ ชั้น สมาคมดาราศาสตร์ไทยจะตั้งกล้องและทำนิทรรศการตรงไหนดี

บันไดทางขึ้นชั้น ในหอพิสัยศัลลักษณ์ 

เมื่อได้ดูสถานที่ เราตกลงว่าจะตั้งกล้องดูดาวกันตรงระเบียงชั้น ซึ่งมีบันไดขึ้นไปได้สะดวก ห้องด้านหลังจัดนิทรรศการได้ ชั้นอื่นบันไดขึ้นแคบเล็กและชัน ไม่เหมาะแก่การยกอุปกรณ์ขึ้น และแจ้งแก่สำนักศิลปากรว่าเราจะตั้งกล้องเพียง คืน ในคืนวันเสาร์ที่ และคืนวันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน และขอให้ช่วยบังไฟส่องหอที่ตั้งอยู่ด้านหน้าหอ เพื่อลดการรบกวนสายตาเวลาส่องกล้อง

ระเบียงชั้น หอพิสัยศัลลักษณ์มองไปทางทิศตะวันตก 

ผมไปถึงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม ประมาณ 15.00 น. ของวันที่ เจออาจารย์พันทิพา สมาชิกสมาคมดาราศาสตร์ไทยที่เป็นคนอยุธยา ล่วงหน้ามาเที่ยวและช่วยคุยกับเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับสมาคมฯ ตั้งแต่เช้า

ทางเข้าหอพิสัยศัลลักษณ์ 

ทีมงานคนอื่น ได้แก่กานต์ สุกัญญา ปู และปอนด์ (เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสมาคมฯ) ตามไปถึงในครึ่งชั่วโมงต่อมา เมื่อเราพร้อมกันแล้ว จึงเอารถไปเข้าที่จอดด้านหลังซึ่งอยู่ใกล้หอพิสัยศัลลักษณ์ เพื่อขนของขึ้น

โต๊ะประชาสัมพันธ์สินค้าสมาคมดาราศาสตร์ไทย 

เราเริ่มจัดวางนิทรรศการ แดดยังร้อนอยู่ กล้องโทรทรรศน์ทั้ง กล้องจึงยังไม่ได้ถูกนำออกไปวางตรงระเบียงที่รับแดดบ่ายเต็มที่ ระหว่างนั้นคือช่วยกันจัดโต๊ะจัดเก้าอี้ ตั้งป้ายตราสมาคมฯ แผ่นประชาสัมพันธ์ แผนที่ฟ้าขนาดใหญ่ แผ่นหมุนสามร้อยปีดิถีจันทร์ขนาดใหญ่ และแผนภูมิดาวเคราะห์ ระหว่างนั้นวรพล (กรรมการบริหารสมาคมฯ) ที่เดินทางจากราชบุรีก็มาถึง ผมตั้งคอมพิวเตอร์ฉายวีดิทัศน์สารคดีความรู้ดาราศาสตร์ โดยตั้งใจว่าจะฉายวนไป เผื่อคนผ่านมาจะได้ชมและเรียนรู้ จัดยังไม่ทันเสร็จก็มีคนเข้ามาดู วรพลเข้าไปคุยและอธิบายได้ทันที

วรพลอธิบายการใช้แผ่นหมุนสามร้อยปีดิถีจันทร์ 

หลัง 17.30 น. ประชาชนจึงค่อยๆ ทยอยขึ้นมาบนหอ คนส่วนใหญ่มีจุดมุ่งหมายที่จะปีนขึ้นไปให้ถึงดาดฟ้า พอถึงชั้น ก็เจอสมาคมดาราศาสตร์ไทยก่อน เราบอกทุกคนว่าจะตั้งกล้องตอนค่ำ แต่ขณะนั้นกานต์ก็เอากล้องโทรทรรศน์ออกไปส่องดวงจันทร์ให้คนดูได้แล้ว

กานต์นำชมดวงจันทร์ตอนฟ้ายังไม่มืด 

พอฟ้ามืด งานในส่วนอื่นของพิพิธภัณฑ์ก็มีคนมาชมมากขึ้น มีคนขึ้นหอพิสัยศัลลักษณ์อย่างต่อเนื่อง เมื่อทราบว่าเราตั้งกล้องดูดวงจันทร์ ก็แวะไปเข้าคิวรอดูเกือบ 10 คน ทุกคนได้เห็นหลุมอุกกาบาตและทะเลบนดวงจันทร์ที่คมชัดอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

ตำแหน่งดวงจันทร์เหนือหอพิสัยศัล​ลักษณ์​ทำให้เราตั้งกล้องกลางระเบียงไม่ได้ ต้องวางกล้องชิดไปจนสุดระเบียง 

ปอนด์พูดขึ้นมาว่าวันนี้ ISS (สถานีอวกาศนานาชาติ) จะเคลื่อนผ่าน ผมดูใน Heavens Above แล้วยืนยันได้ว่ามีจริง ISS จะมาเวลาประมาณ 18.20 น. และเมื่อดูแนวโคจรของวันนั้นก็ดีใจมาก เพราะยานจะอยู่ค่อนไปทางตะวันออก มองจากสนามใหญ่ของพิพิธภัณฑ์ได้ จึงแจ้งให้เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ทราบและประกาศเชิญชวนให้คนลงสนามไปดูกัน

มีคนลงไปรอดู ISS ที่สนาม 50-60 คน ทุกคนได้เห็น ISS ผ่านเหนือหอพิสัยศัลลักษณ์ พระที่นั่งพิมานรัตยา และพลับพลาจัตุรมุข อาคารโบราณในพิพิธภัณฑ์ เป็นเรื่องตื่นตาตื่นใจที่เกิดขึ้นเป็นพิเศษในคืนนั้น

วันรุ่งขึ้น เป็นวันอาทิตย์ที่ 10 พ.ย. ก็มี ISS เคลื่อนผ่านอีกเหมือนกัน เป็นความบังเอิญอย่างยิ่ง ISS จะมาในเวลา 19.09 น. ข้ามฟ้าด้านตะวันตก เท่ากับว่าเราสามารถดูได้จากระเบียงชั้น ของหอพิสัยศัลลักษณ์ได้เลย แต่คืนหลังนี้มีประชันปี่พาทย์ที่สนามใหญ่ จึงประชาสัมพันธ์ให้คนทราบได้ไม่มากนัก

ประชาชนลงสนามไปชม ISS เคลื่อนผ่าน 18.23 น. พ.ย. 67 

พอหลัง ทุ่ม ดาวเสาร์ขยับออกไปอยู่ในตำแหน่งที่เราส่องกล้องได้ มีดวงจันทร์ครึ่งดวงลอยนำ ดาวศุกร์ยังไม่ตก และสามเหลี่ยมฤดูร้อนก็ปรากฏ

ดาวที่เห็นได้ในท้องฟ้ายามค่ำที่หอพิสัยศัลลักษณ์ วันที่ 9-10 พ.ย. 67 มีแต่ดาวศุกร์ และสามเหลี่ยมฤดูร้อน 

วัตถุที่น่าตื่นใจที่สุดเมื่อมองผ่านกล้องโทรทรรศน์มาช่วยให้สมาคมดาราศาสตร์ไทยมีของโชว์พอดีใน คืนนั้น ปอนด์เฝ้ากล้องแบบดอบสัน ใส่เลนส์ใกล้ตาให้ได้กำลังขยายสูงเต็มที่ และคอยเลื่อนกล้องให้ดาวเสาร์อยู่ในช่องมองภาพเสมอ ปีนี้วงแหวนยังปรากฏเห็นได้ชัดเจน และผู้ชมยังเห็นดวงจันทร์บริวารของดาวเสาร์ได้ถึง ดวง ส่วนกานต์เฝ้ากล้องแบบนิวตันขนาดเล็กกว่า ส่องดวงจันทร์ครึ่งดวง ซึ่งต้องเลื่อนตามเช่นกัน

ปอนด์เฝ้ากล้องดูดาวเสาร์ 

ทุกคนที่ขึ้นหอพิสัยศัลลักษณ์จะได้ยินเสียงสุกัญญาหรือปูบอกว่าสมาคมดาราศาสตร์ไทยตั้งกล้องดูดาวเสาร์ เกือบทุกคนเมื่อได้ฟังจะไปเข้าคิวคอยดู คนมากจนปอนด์ต้องบอกว่า ห้ามเอามือจับเลนส์ใกล้ตา และขอให้งดถ่ายรูปช่องมองภาพด้วยโทรศัพท์มือถือ คนที่จะขึ้นไปดาดฟ้า บางคนแวะดูก่อน บางคนขึ้นไปเสร็จแล้วค่อยกลับมาชมก็มี

ราว 19.00 น. ภาณุ (กรรมการบริหารสมาคมฯ) นำกล้อง SeeStar มาจากกรุงเทพฯ พอมาถึงก็เอากล้องออกมาตั้งส่องดวงจันทร์ แล้วส่งภาพดวงจันทร์นั้นเข้าไอแพดส่งขึ้นจอให้ดูกันสด ๆ ดึงดูดความสนใจของคนได้มาก และยังไปช่วยคุมกล้องโทรทรรศน์ที่ระเบียงให้ด้วย น่าเสียดายที่ภาณุมาได้คืนเดียว เราเลยไม่มีรูปดวงจันทร์ขึ้นจอในคืนต่อมา

คนให้ความสนใจกับแผนที่ฟ้าอยู่บ้าง ทีมงานทุกคนสามารถให้ความรู้แก่ผู้ชมได้ แต่ที่คนสนใจเป็นพิเศษคือแผ่นหมุนสามร้อยปีดิถีจันทร์ วรพลเป็นคนออกแบบอุปกรณ์นี้ จึงรับบทหนักคอยอธิบายให้ผู้สนใจฟังหลายรอบ ตอนหลังปูได้ช่วยอธิบายแทน บางโอกาสผมก็ทำแทนด้วย

วีดิทัศน์ที่เปิดให้คนชม ไม่สามารถดึงดูดคนให้หยุดดูมากนัก ช่วงที่คนแวะดูคือช่วงที่เป็นสารคดีสั้นจากนาซา ที่ทำภาพเคลื่อนไหวได้สวยตื่นตา และช่วงที่เป็นประสบการณ์สุริยุปราคาจากประเทศจีน คราวหน้าถ้าได้มาอีก น่าจะเปลี่ยนแนวเป็นเอาสารคดีภาพสวยมาทำคำบรรยาย หรือไม่ก็เป็นสารคดีแนวประวัติศาสตร์ดาราศาสตร์ที่เล่าเรื่องดี ๆ คงเหมาะกว่า คือเข้าถึงได้ง่ายกว่าข้อมูลดาราศาสตร์

คิวดูกล้องบนหอพิสัยศัลลักษณ์ 

เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์บอกเราว่างานจะปิดตอน 21.00 น. เราจะต้องหยุดให้บริการตั้งแต่ 20.30 น. เพราะต้องเผื่อเวลาเก็บของและนำรถออกจากพื้นที่ เนื่องจากเจ้าหน้าที่จะปิดประตูพิพิธภัณฑ์ ในคืนแรกเราทิ้งกล้องและอุปกรณ์ รวมทั้งนิทรรศการ ไว้ในหอพิสัยศัลลักษณ์ได้ เมื่อเราลงจากหอแล้วจะมีคนมาใส่กุญแจให้ และเปิดอีกทีเมื่อเราจะขึ้นหอในบ่ายวันรุ่งขึ้น ส่วนคืนที่สองเราเก็บของกันตั้งแต่ 20.00 น. เพราะต้องเก็บทุกอย่างกลับ ที่ปิดการบริการท้ายสุดคือกล้องโทรทรรศน์ทั้ง กล้อง ยังดีที่คืนวันอาทิตย์มีผู้ชมน้อยกว่าคืนแรก แต่ก็ยังมีคนผิดหวังเมื่อเราบอกว่าเก็บกล้องแล้ว เขาคิดว่าหอยังเปิดอยู่ก็ส่องกล้องได้

ผมดีใจที่สมาคมดาราศาสตร์ไทยได้ไปจัดกิจกรรมบนหอพิสัยศัลลักษณ์ ได้ทำให้หอซึ่งปกติเงียบเหงาได้พลิกฟื้น มีความเคลื่อนไหว มีชีวิต มีเสียงสรวลเสเฮฮา อาจจะเหมือนสมัยที่หอเคยถูกใช้เป็นหอดูดาว เป็นแหล่งความรู้ ต้องขอบคุณทีมงานสมาคมดาราศาสตร์ไทยทุกท่าน และขอบคุณสำนักศิลปากรที่ พระนครศรีอยุธยา สำหรับโอกาสที่เราได้ร่วมทำสิ่งดีให้แก่สังคมในครั้งนี้