สมาคมดาราศาสตร์ไทย

รู้จักกับแคตาล็อกคาลด์เวลล์

รู้จักกับแคตาล็อกคาลด์เวลล์

โดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com) 5 ตุลาคม 2546
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 15 ธันวาคม 2559
นักดาราศาสตร์ไม่ว่ามืออาชีพและสมัครเล่นทุกคนล้วนรู้จักแคตาล็อกเมซีเย (Messier Catalog) ซึ่งเป็นรายชื่อของวัตถุท้องฟ้า 110 ดวง ใช้ตัวอักษรย่อตัว แล้วตามด้วยหมายเลข เช่น M1, M20, M44 เป็นต้น (บางตำรานับเพียง 109 ดวง โดยไม่ยอมรับ M110) ชื่อเหล่านี้คุ้นหูคุ้นตานักดูดาวเป็นอย่างดี ด้วยชื่อเสียงของผู้เรียบเรียงคือนายชาลส์ เมซีเย ความเก่าแก่ และการเรียกชื่อวัตถุท้องฟ้าที่สั้นกะทัดรัด แคตาล็อกนี้จึงยังคงเป็นที่นิยมอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะการอ้างอิงในหมู่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นหรือระดับที่ไม่เป็นทางการมากนัก

แคตาล็อกเมซีเยนี้แท้จริงแล้วมีการเรียบเรียงอย่างไม่ค่อยจะมีระบบเท่าใดนัก วัตถุบางดวงในแคตาล็อกนี้ไม่มีความสำคัญมากพอที่จะเรียกว่าเป็น "วัตถุท้องฟ้า" เสียด้วยซ้ำ เช่น บางเอ็มเป็นเพียงดาวฤกษ์จาง ๆ มาอยู่ใกล้ ๆ กัน บางเอ็มก็เป็นเพียงแค่ดาวคู่ ซ้ำร้ายยิ่งกว่านั้นยังมีการบันทึกซ้ำซ้อนอีกด้วย นั่นคือ M101 กับ M102 ก็เป็นวัตถุเดียวกัน ในขณะเดียวกัน ยังมีวัตถุท้องฟ้าอื่นที่มีความสำคัญ โดดเด่น และสวยงามอีกหลายดวงที่มิได้รวบรวมเอาไว้ในแคตาล็อกของเมซีเย ซึ่งทำให้วัตถุเหล่านั้นถูกมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย

ด้วยเหตุนี้จึงได้มีผู้เรียบเรียงแคตาล็อกวัตถุท้องฟ้าสำหรับนักดูดาวขึ้นมาใหม่ คน ๆ นี้ไม่ใช่คนแปลกชื่อในวงการดาราศาสตร์เลย เขาคือนาย แพตทริก มัวร์ นักเขียนหนังสือเกี่ยวกับดาราศาสตร์ชื่อดัง มีผลงานนับสิบเล่ม เจ้าของรายการ "The Sky at Night" ในสถานีโทรทัศน์บีบีซี แคตาล็อกใหม่นี้มีจำนวน 109 ดวง มัวร์เลี่ยงที่จะใช้อักษร ของนามสกุลมาเป็นอักษรย่อเรียกวัตถุท้องฟ้าในแคตาล็อกของเขา เนื่องจากจะไปซ้ำซ้อนกับของเมซีเย โดยหันไปใช้คำแรกของนามสกุลเต็มคือ คาลด์เวลล์ มาตั้งเป็นชื่อแคตาล็อกแทน (นามสกุลเต็มคือ คาลด์เวลล์-มัวร์) แคตาล็อกคาลด์เวลล์จึงได้ถือกำเนิดขึ้น ใช้อักษร และตามด้วยเลขลำดับในการเรียกชื่อวัตถุท้องฟ้าในลักษณะเดียวกับของเมซีเย

วัตถุท้องฟ้า 109 ดวง ในแคตาล็อกคาลด์เวลล์

CNGC/ICConstTypeR.A. (2000.0)DecMagSize (′)Notes
1188CepOC00h 44.4m+85° 20′8.114
240CepPN00h 13.0m+72° 32′12.40.6
34236DraSG12h 16.7m+69° 28′9.719 × 7
47023CepBN21h 01.8m+68° 12′--18 × 18Refl. nebula
5IC 342CamSG03h 46.8m+68° 06′9.218 × 17
66543DraPN17h 58.6m+66° 38′8.10.3/5.8Cat′s Eye Neb.
72403CamSG07h 36.9m+65° 36′8.418 × 10
8559CasOC01h 29.5m+63° 18′9.54
9Sh2-155CepBN22h 56.8m+62° 37′--50 × 10Cave Nebula
10663CasOC01h 46.0m+61° 15′7.116
117635CasBN23h 20.7m+61° 12′--15 × 8Bubble Nebula
126946CepSG20h 34.8m+60° 09′8.911 × 10
13457CasOC01h 19.1m+58° 20′6.413Phi Cas Cluster
14869/884PerOC02h 20.0m+57° 08′4.330 and 30Double Cluster
156826CygPN19h 44.8m+50° 31′8.80.5/2.3Blinking Nebula
167243LacOC22h 15.3m+49° 53′6.421
17147CasEG00h 33.2m+48° 30′9.313 × 8
18185CasEG00h 39.0m+48° 20′9.212 × 10
19IC 5146CygBN21h 53.5m+47° 16′--12 × 12Cocoon Nebula
207000CygBN20h 58.8m+44° 20′--120 × 100N. America Neb.
214449CVnIG12h 28.2m+44° 06′9.4× 4
227662AndPN23h 25.9m+42° 33′8.30.3/2.2
23891AndSG02h 22.6m+42° 21′9.914 × 3
241275PerIG03h 19.8m+41° 31′11.62.6 × 2Perseus A
252419LynGC07h 38.1m+38° 53′10.44.1
264244CVnSG12h 17.5m+37° 49′10.216 × 2.5
276888CygBN20h 12.0m+38° 21′--20 × 10Crescent Nebula
28752AndOC01h 57.8m+37° 41′5.750
295005CVnSG13h 10.9m+37° 03′9.85.4 × 2
307331PegSG22h 37.1m+34° 25′9.511 × 4
31IC 405AurBN05h 16.2m+34° 16′--30 × 19Flaming Star
324631CVnSG12h 42.1m+32° 32′9.315 × 3
336992/5CygSN20h 56.4m+31° 43′--60 × 8Eastern Veil
346960CygSN20h 45.7m+30° 43′--70 × 6Western Veil
354889ComEG13h 00.1m+27° 59′11.4× 2In Coma Cluster
364559ComSG12h 36.0m+27° 58′9.810 × 5
376885VulOC20h 12.0m+26° 29′5.97
384565ComSG12h 36.3m+25° 59′9.616 × 3
392392GemPN07h 29.2m+20° 55′9.20.2/0.7Eskimo Nebula
403626LeoSG11h 20.1m+18° 21′10.9× 2
41--TauOC04h 27m+16°0.5330Hyades
427006DelGC21h 01.5m+16° 11′10.62.8Very distant
437814PegSG00h 03.3m+16° 09′10.5× 2
447479PegSG23h 04.9m+12° 19′11.0× 3
455248BooSG13h 37.5m+08° 53′10.2× 4
462261MonBN06h 39.2m+08° 44′--× 1Hubble′s Var.
476934DelGC20h 34.2m+07° 24′8.95.9
482775CanSG09h 10.3m+07° 02′10.34.5 × 3
492237-9MonBN06h 32.3m+05° 03′--80 × 60Rosette Nebula
502244MonOC06h 32.4m+04° 52′4.824
51IC 1613CetIG01h 04.8m+02° 07′9.312 × 11
524697VirEG12h 48.6m-05° 48′9.3× 4
533115Se×EG10h 05.2m-07° 43′9.1× 3Spindle Gala×y
542506MonOC08h 00.2m-10° 47′7.67
557009AqrPN21h 04.2m-11° 22′8.00.4/1.6Saturn Nebula
56246CetPN00h 47.0m-11° 53′10.93.8
576822SgrIG19h 44.9m-14° 48′8.810 × 9Barnard′s Gal.
582360CMaOC07h 17.8m-15° 37′7.213
593242HyaPN10h 24.8m-18° 38′7.80.3/21Ghost of Jup′r.
604038CrvSG12h 01.9m-18° 52′10.72.6 × 2
614039CrvSG12h 01.9m-18° 53′10.7× 2
62247CetSG00h 47.1m-20° 46′9.120 × 7
637293AqrPN22h 29.6m-20° 48′7.313Heli× Nebula
642362CMaOC07h 18.8m-24° 57′4.18Tau CMa Cluster
65253SclSG00h 47.6m-25° 17′7.125 × 7Sculptor Gala×y
665694HyaGC14h 39.6m-26° 32′10.23.6
671097ForSG02h 46.3m-30° 17′9.2× 7
686729CrABN19h 01.9m-36° 57′--1.0CrA Nebula
696302ScoPN17h 13.7m-37° 06′9.60.8Bug Nebula
70300SclSG00h 54.9m-37° 41′8.720 × 13
712477PupOC07h 52.3m-38° 33′5.827
7255SclSG00h 14.9m-39° 11′7.932 × 6In Scl Group
731851ColGC05h 14.1m-40° 03′7.311
743132VelPN10h 07.7m-40° 26′9.40.8
756124ScoOC16h 25.6m-40° 40′5.829
766231ScoOC16h 54.0m-41° 48′2.615
775128CenEG13h 25.5m-43° 01′7.018 × 14Centaurus A
786541CrAGC18h 08.0m-43° 42′6.613
793201VelGC10h 17.6m-46° 25′6.718
805139CenGC13h 26.8m-47° 29′3.636Omega Centauri
816352AraGC17h 25.5m-48° 25′8.17
826193AraOC16h 41.3m-48° 46′5.215
834945CenSG13h 05.4m-49° 28′8.720 × 4
845286CenGC13h 46.4m-51° 22′7.69
85IC 2391VelOC08h 40.2m-53° 04′2.550Omicron Vel Cl.
866397AraGC17h 40.7m-53° 40′5.626
871261HorGC03h 12.3m-55° 13′8.47
885823CirOC15h 05.7m-55° 36′7.910
896067NorOC16h 18.9m-57° 54′5.412Nor Cluster
902867CarPN09h 21.4m-58° 19′--0.2
913532CarOC11h 06.4m-58° 40′3.055
923372CarBN10h 43.8m-59° 52′--120 × 120Eta Car Nebula
936752PavGC19h 10.9m-59° 59′5.420
944755CruOC12h 53.6m-60° 20′4.210Jewel Bo× Cl.
956025TrAOC16h 03.7m-60° 30′5.112
962516CarOC07h 58.3m-60° 52′3.830
973766CenOC11h 36.1m-61° 37′5.312
984609CruOC12h 42.3m-62° 58′6.95
99--CruDN12h 53m-63°--400 × 300Coalsack
100IC 2944CenOC11h 36.6m-63° 02′4.515Gamma Cen Cl.
1016744PavSG19h 09.8m-63° 51′8.316 × 10
102IC 2602CarOC10h 43.2m-64° 24′1.950Theta Car Cl.
1032070DorBN05h 38.7m-69° 06′--40 × 25Tarantula Neb.
104362TucGC01h 03.2m-70° 51′6.613
1054833MusGC12h 59.6m-70° 53′7.314
106104TucGC00h 24.1m-72° 05′4.03147 Tucanae
1076101ApsGC16h 25.8m-72° 12′9.311
1084372MusGC12h 25.8m-72° 40′7.819
1093195ChaPN10h 09.5m-80° 52′--0.6

คำย่อของชนิดวัตถุท้องฟ้า

BN เนบิวลาสว่าง (Bright Nebula)
DN เนบิวลามืด (Dark Nebula)
PN เนบิวลาดาวเคราะห์ (Planetary Nebula)
SN ซากซูเปอร์โนวา (Supernova Remnant)
GC กระจุกดาวทรงกลม (Globular Cluster)
OC กระจุกดาวเปิด (Open Cluster)
SG กาแล็กซีกังหัน (Spiral Galaxy)
EG กาแล็กซีทรงรี (Elliptical Galaxy)
IG กาแล็กซีแบบไม่มีรูปร่างที่แน่นอน (Irregular Galaxy)

หมายเหตุ สำหรับเนบิวลาดาวเคราะห์ ขนาดของเนบิวลาจะบอกเป็นตัวเลขสองจำนวน เช่น 0.3/2.2 หมายความว่า นิวเคลียสสว่างภายในมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.3 ลิปดา และเปลือกนอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.2 ลิปดา

แคตาล็อกคาลด์เวลล์เรียงตามเดคลิเนชัน ไล่ตั้งแต่ขั้วเหนือไปยังขั้วใต้ เพราะฉะนั้น ผู้สังเกตการณ์ที่อยู่ที่ละติจูด องศาเหนือ วัตถุท้องฟ้าที่มีเดคลิเนชันตั้งแต่ +90 องศาถึง X-90 องศาจะมีโอกาสอยู่เหนือขอบฟ้าที่พื้นที่นั้นได้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของปี เช่น กรุงเทพ ฯ อยู่ที่ละติจูด 13° 45′ เหนือ หมายความว่าค่าเดคลิเนชันที่อยู่ไปทางใต้ที่สุดเท่าที่จะมองเห็นได้คือ -76° 15′ เมื่อตรวจเทียบกับแคตาล็อกคาลด์เวลล์แล้ว วัตถุที่อยู่ไปทางใต้ที่สุดเท่าที่จะมองเห็นได้คือ C108 แสดงว่าเราสามารถมองเห็นวัตถุ C1 จนถึง C108 ได้ มีเพียง C109 เพียงดวงเดียวเท่านั้นที่มองไม่เห็นเนื่องจากจมอยู่ใต้ขอบฟ้าตลอดกาล แน่นอน ในความเป็นจริงเราไม่สามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ที่ขอบฟ้าพอดี หรือวัตถุที่อยู่เหนือขอบฟ้าเพียงเล็กน้อยได้ ดังนั้นค่า -76° 15′ จึงเป็นเพียงขีดจำกัดในทางทฤษฎีเท่านั้น วัตถุที่อยู่เกือบติดขอบฟ้าอย่างเช่น C107 และ C108 ก็อาจหมดสิทธิจะมองเห็นได้ในเมืองไทยเหมือนกัน

แคตาล็อกคาลด์เวลล์นี้เกิดขึ้นมาเพียงไม่กี่ปี ความนิยมจึงยังไม่แพร่หลายนัก อย่างไรก็ตามไม่ว่าอนาคตของแคตาล็อกนี้จะ "ติดตลาด" หรือไม่ แต่ก็ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของการเรียบเรียงที่มีระบบและเป็นระเบียบอันหนึ่ง

เรียบเรียงจาก Sky Telescope, December 1995