คุณภาพของเลนส์มีผลต่อภาพดาวหางหรือไม่?
คุณภาพของเลนส์หรือค่าความสว่างของเลนส์ย่อมมีผลต่อคุณภาพของภาพดาวหางอย่างแน่นอน จะสังเกตเห็นการกำหนดค่าความสว่างของเลนส์เป็นตัวเลข F stop ต่าง ๆ เช่น เลนส์ f/1.4 และ f/2 ตัวเลขหลัง f stop เป็นตัวกำหนดค่าความสว่างหรือรูรับแสงของเลนส์ที่สามารถเปิดหน้ากล้องได้มากที่สุดของเลนส์นั้น ๆ ตัวเลขยิ่งน้อย รูรับแสงจะยิ่งกว้าง ดังนั้น f stop ยึ่งมีค่ามากค่าความสว่างหรือคุณสมบัติที่เลนส์ยอมให้แสงผ่านจะลดลง ถ้าเป็นท่อกลวงไม่มีเนื้อแก้วแล้วมาวางเลย จะมีค่า f/1 ดังนั้นเลนส์ที่มีค่า f/1.4 ย่อมสว่างกว่าและดีกว่าเลนส์ f/2 นั่นเอง
ในการถ่ายภาพดวงดาวขณะเปิดหน้ากล้องกว้างสุด มักจะพบว่า ภาพดวงดาวบริเวณกรอบภาพมักจะเบลอร์ ไม่ชัดเจน ผลเกิดเนื่องจากบริเวณขอบเลนส์มีความโค้งมาก แสงที่ผ่านบริวณดังกล่าวจึงมักจะเกิดการหักเหมาก ทำให้ภาพมัว วิธีแก้ไขคือ ให้บิดรูหน้ากล้องลงมา (รูรับแสงเล็กลง) 1 ถึง 2 สต็อปเพื่อบังบริเวณขอบไว้ ซึ่งก็พอจะช่วยแก้ไขได้ แต่แนะนำให้ทำกับเลนส์ที่มีรูปรับแสงมากกว่า f/2 เท่านั้น หากมี f มาก ๆ ไม่แนะนำ เพราะจะทำให้แสงโดยรวมเข้ากล้องน้อยลงไปอีก
ส่วนกรณีภาพที่ถ่ายจากเลนส์โทเลโฟโต้ หรือจากเลนส์คุณภาพต่ำ ที่มักจะเกิดภาพฟุ้งเหมือนหมอกสีฟ้าหุ้มอยู่รอบ ๆ จุดดาวสว่างสามารถแก้ไขได้โดยการใช้ฟิลเตอร์สีเหลืองอ่อน (wratten 2B หรือ 2E) ช่วยลดแสงเรืองดังกล่าวลงได้ แต่ถ้าถ่ายด้วยฟิล์มขาว-ดำ สามารถใช้ฟิลเตอร์สีเหลืองเข้มกว่านี้ได้ เพราะจะไม่มีผลต่อสีของภาพ
พิชิต อิทธิศานต์
ป้ายกำกับ