สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ 7 พฤษภาคม 2546


ปรับปรุงครั้งล่าสุด 20 ธันวาคม 2559
ขณะนี้รายงานพิเศษดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ จากสมาคมดาราศาสตร์ไทยได้สิ้นสุดลงแล้ว ขอขอบคุณที่ติดตามครับ ดาวพุธจะผ่านหน้าดวงอาทิตย์อีกครั้งในอีก ปีข้างหน้า แต่ในปี พ.ศ. 2547 ที่จะถึงนี้ ดาวศุกร์จะเคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์เช่นกัน และมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าดาวพุธหลายเท่า ท่านสามารถติดตามความคืบหน้า และรายละเอียดของปรากฏการณ์ได้จากวารสารทางช้างเผือก และเว็บไซต์ของสมาคมดาราศาสตร์ไทยแห่งนี้ครับ

ภาพล่าสุดจากสมาคมดาราศาสตร์ไทย 

ประชาชนที่สนใจปรากฏการณ์เข้าร่วมกิจกรรม
 


ภาพต่อเนื่องนับจากเริ่มต้นจนสิ้นสุด (452 KB) สมาคมดาราศาสตร์ไทย 

ภาพมุมแคบขณะกำลังเข้า 

ภาพมุมแคบขณะกำลังเข้า 

ภาพถ่ายดาวพุธระยะใกล้ จากสถาบันฟิสิกส์สุริยะในสวีเดน  ขณะนี้ดาวพุธใกล้จะออกจากดวงอาทิตย์แล้ว (ภาพเรียงจากขวามาซ้าย) 


ทีมถ่ายภาพจากกล้องโทรทรรศน์ที่ตั้งอยู่ในบริเวณกระทรวงวิทย์ฯ 

เด็กๆ และประชาชนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม 

ภาพถ่ายดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ โดยดาวเทียมโซโฮ เมื่อเวลา 14.45 น. และ 14.54 น. ตามเวลาประเทศไทย  ดาวเทียมโซโฮโคจรอยู่ในอวกาศ จึงเห็นปรากฏการณ์ในช่วงเวลาที่ต่างจากคนบนโลก

 


ภาพถ่ายดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์โดย นายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  

ภาพที่ถ่ายก่อนหน้านี้
 



ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4


เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404 ได้เกิดปรากฏการณ์ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ขึ้น โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้ทรงคำนวณเวลาการเกิดและประกาศให้ประชาชนทราบซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือประชุมประกาศรัชกาลที่ ดังต่อไปนี้

ประกาศดาวพระเคราะห์พุธเข้าในดวงพระอาทิตย์ 

(ณ วันจันทร์ เดือน 11 แรม ค่ำ ปีระกา ตรีศก)

มีพระบรมราชโองการให้ประกาศให้การทราบแก่ผู้จะได้อ่านประกาศนี้ทั้งปวง วันอังคาร เดือนสิบสอง ขึ้นสิบค่ำ ดาวพระเคราะห์พุธจะเข้าในดวงพระอาทิตย์ว่าตามจะเห็นที่กรุงเทพมหานคร แรกเริ่มกระทบเข้าทางทิศอีสานค่อนข้างบูรพาเห็นดำเป็นเม็ด จดขอบพระอาทิตย์แหว่งเข้าไปนิดหนึ่ง เมื่อเวลาเที่ยงแล้วกับ 14 นาที แล้วจุดดำนั้นจะเลื่อนเดินไปในดวงพระอาทิตย์โอนไปข้างทิศปัจจิมเฉียดขวางไปถึงที่ลึก เพียงเท่าส่วนที่หกของดวงพระอาทิตย์ ค่อนอยู่ข้างเหนือส่วนหนึ่งไม่ถึงกลาง ถ้าจะเป็นคราธก็ควรว่าฉฬางคคราธ เข้าไปส่วนหนึ่งหรือ ส่วน จะเห็นดังนี้เมื่อเวลาบ่าย โมงกับ 13 นาที แล้วจุดดำนั้นก็จะเดินไปทิศพายัพออกข้างทิศพายัพค่อนข้างทิศอุดร หลุดจากดวงพระอาทิตย์เวลาบ่าย โมงกับ 20 นาที การที่เป็นดังนี้ ต่อดูด้วยกล้องส่องที่มีแว่นสีเขียวหรือน้ำเงิน หรือสีแดงสาบบังตาจึงจะเห็นได้ ด้วยดวงพระพุธเป็นจุดนั้นเล็กนัก ถ้าดูด้วยกล้องสาบด้วยกระจกสีดังนี้ คงจะเห็นได้ทุกเวลาเข้าแลถึงกลางแลออกดังทายไว้นี้แล อนึ่งเมื่อใดๆ ถ้ามีผู้ดูด้วยกล้องดังนี้ มักเห็นจุดดำแลแผลด่างในดวงพระอาทิตย์เนืองๆ เขื่องบ้างย่อมบ้าง อันนั้นมิใช่พระเคราะห์เข้าไปแต่ต่างแดนในดวงพระอาทิตย์นั้นเอง ลอยไปลอยมาหันหายไป 12 วัน 13 วันแล้วกลับมาอีก แล้วย้ายไปที่ต่างๆ จะทราบเอาแน่ไม่ได้

แต่ในครั้งนี้มิใช่อย่างนั้น พระเคราะห์จะเข้าไปเป็นแท้นานๆ ถึง 22 ปีขึ้นไปจึงมีครั้งหนึ่ง แล้วเว้นไป ปีมีอีกครั้งหนึ่งเป็นธรรมดา แต่ลางทีเป็นเสียในกลางคืนที่กรุงเทพมหานครนี้ไม่เห็น ครั้งนี้จะเห็นจึงทายมาเพื่อจะให้รู้ การบนฟ้ามนุษย์สังเกตทายล่วงหน้าไว้ได้ อะไรเห็นประหลาดบนฟ้าไม่ควรที่จะเก็บเอาเป็นเหตุมาตื่นกันต่างๆ ต้นเหตุที่เป็นมีผู้รู้เขารู้ได้แล้ว ซึ่งทายครั้งนี้ทายตามเวลาซึ่งจะเห็นที่กรุงเทพมหานคร แลกรุงเก่าแลเมืองลพบุรี ถ้าจะทายตามจะเห็นในเมืองฝั่งทะเลไทยข้างตะวันออก คือ เมืองปราจีณบุรี เมืองฉะเชิงเทรา เมืองชลบุรี ต้องทายเพิ่มเข้า นาทีทุกระยะ ถ้าจะทายที่เมืองจันทบุรีแลเมืองตราดต้องเพิ่มเข้าถึง นาที ถ้าจะทายในเมืองฝั่งทะเลไทยข้างตะวันตกคือเมืองราชบุรี เมืองสมุทรสงคราม เมืองเพชรบุรี เมืองนครศรีธรรมราช แลเมืองฝ่ายเหนือตั้งแต่เมืองไชยนาทขึ้นไปถึงเมืองกำแพงเพชรแลเมืองตากให้ทายลดเสีย นาที ทุกระยะ ในเมืองกาญจนบุรี เมืองชุมพร เมืองไชยาให้ทายลดเสีย นาทีทุกระยะ แต่ที่เมืองสงขลาทายเหมือนกรุงเทพมหานครจึงจะถูกกับนาฬิกาแลซึ่งได้ประกาศมาแต่ก่อน ในประกาศมหาสงกรานต์ว่าจะเป็นดังนี้ ในวันจันทร์เดือนสิบสอง ขึ้นเก้าค่ำนั้นผิดไป เพราะครั้งนี้รีบจะให้ตีพิมพ์คำนวณหยาบอยู่หาละเอียดไม่
ประกาศมา ณ วันจันทร์เดือนสิบเอ็ด แรมสองค่ำ ปีระกาตรีศก


เนื่องจากวงโคจรของดาวพุธทำมุมเอียงกับระนาบวงโคจรของโลก ทำให้ปรากฏการณ์ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์มีโอกาสเกิดขึ้นได้เฉพาะในเดือนพฤษภาคมและพฤศจิกายนเท่านั้น หากดาวพุธโคจรมายังจุดโนด (จังหวะที่ดาวพุธเคลื่อนตัดผ่านระนาบวงโคจรโลก) ในเวลาเดียวกับที่โลกอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม คือ ระหว่างวันที่ 5-11 พฤษภาคม หรือ 5-15 พฤศจิกายน จะทำให้สามารถเกิดปรากฏการณ์นี้ได้ 

ภาพดวงอาทิตย์จากดาวเทียมโซโฮเมื่อเวลา 2.12 น. ของวันนี้ ตามเวลาในไทย แสดงให้เห็นจุดมืดขนาดใหญ่บนดวงอาทิตย์ที่กำลังจะหายไปที่ขอบด้านตะวันตก และจุดมืดที่อยู่ใกล้ศูนย์กลางดวงอาทิตย์ SOHO 

จุดมืด (sunspot) คือ จุดคล้ำที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์ มีอุณหภูมิประมาณ 3,700 เคลวิน ซึ่งเย็นกว่าบริเวณข้างเคียงที่มีอุณหภูมิประมาณ 5,700 เคลวิน มีสนามแม่เหล็กเข้ม จุดมืดบนดวงอาทิตย์อาจเกิดขึ้นเป็นจุดเดี่ยว เป็นคู่ หรือเป็นกลุ่มก็ได้ จุดมืดคู่จะพบได้มากที่สุด แต่ละจุดจะมีขั้วแม่เหล็กตรงข้ามกัน จุดมืดแต่ละจุดจะมีโครงสร้าง ชั้นซ้อนกัน ชั้นในเรียกว่า เขตมืด (umbra) มีสีเข้มที่สุด มีทิศของสนามแม่เหล็กในแนวตั้ง ส่วนชั้นนอกเรียกว่า เขตมัว (penumbra) ภาพจากสถาบันฟิสิกส์สุริยะ สวีเดน 

ดวงอาทิตย์และดาวพุธจากภาพถ่ายคอโรนาบนดาวเทียมโซโฮ เมื่อวันที่ พฤษภาคม เวลา 21.46 น. ตามเวลาประเทศไทย แสดงให้เห็นดาวพุธที่ปรากฏเป็นจุดดำทางซ้ายของภาพ เบื้องหน้าบรรยากาศส่วนที่เรียกว่าคอโรนาของดวงอาทิตย์ SOHO