สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวเคราะห์น้อยคู่

ดาวเคราะห์น้อยคู่

1 ต.ค. 2543
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ข่าวที่เกี่ยวกับดาวเคราะห์น้อยที่น่าตื่นเต้นที่สุดในทศวรรษที่ผ่านมา คงไม่มีข่าวไหนเกินข่าวการค้นพบดวงจันทร์ แด็กทีล (Dactyl) ที่โคจรรอบดาวเคราะห์น้อย ไอดา (Ida) ในปี 2536 และเมื่อปีที่แล้วก็พบว่าดาวเคราะห์น้อย 45 ยูจีเนีย (45 Eugenia) ก็มีดวงจันทร์บริวารเหมือนกัน มาจนถึงขณะนี้นักดาราศาสตร์ระบบสุริยะเริ่มเชื่อว่าบริวารของดาวเคราะห์น้อยอาจไม่ใช่เรื่องแปลกอีกต่อไป และอาจจะมีอยู่ทั่วไปก็ได้ 

สตีเวน เจ. ออสโตร จากเจพีแอล ได้สำรวจดาวเคราะห์น้อย 2000 DP107 โดยใช้คลื่นเรดาร์ เมื่อวันที่ 22 และ 23 กันยายนที่ผ่านมา ผลที่ออกมาแสดงให้เห็นว่า ดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกดวงนี้แท้จริงเป็นดาวเคราะห์น้อยคู่ โคจรอยู่ห่างกันไม่น้อยกว่า กิโลเมตร แต่ละดวงมีขนาดและอัตราการหมุนรอบตัวเองต่างกัน รายงานนี้ได้รับการตีพิมพ์ในจดหมายข่าวของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลหมายเลข 7496 

นอกจากนี้ นักดาราศาสตร์ที่ใช้กล้องโทรทรรศน์บนพื้นโลกยังได้พบว่า ดาวเคราะห์น้อยอีกหลายดวงมีเส้นความสว่างที่ดูเหมือนกับว่ามันเป็นดาวเคราะห์น้อยคู่เหมือนกัน กรณีที่ชัดเจนที่สุดคือ ไดโอนิซัส (3671 Dionysus) และ 1996 FG3 ซึ่งเป็นดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกทั้งคู่ และยังมีอีกดวงหนึ่งที่น่าสงสัยว่าจะมีบริวารด้วยเช่นกันคือ แอนไทโอพี (90 Antiope) ซึ่งเป็นดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ (120 กิโลเมตร) โคจรอยู่ในแถบดาวเคราะห์น้อย 

วิลเลียม เอฟ. บอตต์เคอ จากสถาบันวิจัยเซาท์เวสต์ สันนิษฐานว่า ดาวเคราะห์น้อยคู่อาจจะเกิดจากการหมุนรอบตัวเองตัวอย่างรวดเร็ว โดยอาจเกิดจากวัตถุอื่นพุ่งชน แรงเหวี่ยงทำให้วัตถุแยกออกจากกัน ขณะนี้คณะของเขากำลังจะสร้างแบบจำลองของสถานการณ์แบบนี้อยู่ว่าเป็นไปได้หรือไม่ 

ดาวเคราะห์น้อยจำนวนมากอาจเป็นดาวเคราะห์น้อยคู่อย่างนี้<br />
(ภาพโดย Daniel Durda)

ดาวเคราะห์น้อยจำนวนมากอาจเป็นดาวเคราะห์น้อยคู่อย่างนี้
(ภาพโดย Daniel Durda)

ที่มา: