สมาคมดาราศาสตร์ไทย

แหวนไอน์สไตน์

แหวนไอน์สไตน์

1 พ.ค. 2541
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ภาพนี้เป็นภาพที่ถูกนำออกแสดงในที่ประชุมดาราศาสตร์แห่งสหราชอาณาจักร เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เป็นภาพของ "วงแหวนไอน์สไตน์" ที่สมบูรณ์แบบที่สุด ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์วิทยุเมอร์ลิน (MERLIN) ของอังกฤษร่วมกับกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล

วงแหวนนี้เกิดขึ้นเมื่อมีดาราจักรมาบังกันพอดี แสงจากดาราจักรที่อยู่ด้านหลังจะถูกหักเหโดยความโน้มถ่วงของดาราจักรที่อยู่ด้านหน้า ทำให้เกิดแสงเป็นวงขึ้นรอบ ๆ ดาราจักรที่อยู่ข้างหน้าซึ่งเรียกว่า "วงแหวนไอน์สไตน์" วงแหวนไอน์สไตน์นี้มีความกว้างเพียง พิลิปดา เป็นแสงจากดาราจักร 1938+666 ภาพทางซ้ายบนเป็นภาพในย่านแสงขาว (แสงที่ตามองเห็น) ส่วนภาพทางขวาล่างเป็นภาพในย่านความถี่วิทยุ จะเห็นว่าภาพวงแหวนในย่านความถี่วิทยุไม่ครบวง เนื่องจากแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุของดาราจักร 1938+666 ไม่ได้อยู่ในแนวเดียวกันพอดีกับดาราจักรที่อยู่ข้างหน้า