สมาคมดาราศาสตร์ไทย

กระจุกดาราจักรใหม่ ไขปริศนาอนาคตของเอกภพ

กระจุกดาราจักรใหม่ ไขปริศนาอนาคตของเอกภพ

1 ก.ย. 2541
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ได้มีการค้นพบกระจุกดาราจักรใหม่หลายกระจุกด้วยกล้องฮับเบิล โดยมีการแถลงข่าวไปเมื่อวันที่ 27 สิงหาคมที่ผ่านมา การค้นพบนี้อาจเป็นหลักฐานเพิ่มเติมที่จะทำให้เชื่อว่า เอกภพมีมวลไม่มากพอที่จะหยุดยั้งการขยายตัวได้ นั่นหมายความว่าเอกภพของเราจะเป็นเอกภพเปิด ซึ่งขยายตัวตลอดไป 

การค้นพบนี้เป็นผลจากการสำรวจที่มีชื่อว่า Medium Deep Survey ซึ่งใช้เวลาสำรวจนานถึง ปี โดยใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล กระจุกดาราจักรที่พบใหม่นี้มีจำนวนประมาณ 10 ถึง 20 กระจุก อยู่ห่างออกไปไม่น้อยกว่า พันล้านปีแสง การที่ค้นพบกระจุกดาราจักรอยู่ไกลขนาดนั้นได้ หมายความว่ากระจุกดาราจักรเหล่านั้นจะต้องก่อตัวขึ้นมาตั้งแต่ช่วงต้น ๆ ของเอกภพแล้ว 

ระยะห่างของกระจุกดาราจักรเหล่านี้ได้มาจากการวัดค่าการเลื่อนไปทางแดงของดาราจักร ค่าการเลื่อนไปทางแดงจะแสดงถึงระยะห่างของดาราจักรได้ หากสเปกตรัมของแสงมีการเลื่อนไปทางสีแดงยิ่งมาก แสดงว่าดาราจักรนั้นยิ่งอยู่ไกลออกไป 

ตามแนวคิดที่กล่าวว่าเอกภพจะหยุดขยายตัว กระจุกดาราจักรต่าง ๆ จะมีการกำเนิดขึ้นและขยายใหญ่ขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดอายุขัยของเอกภพ หากเป็นเช่นนั้น กระจุกดาราจักรขนาดใหญ่ที่เพิ่งถูกค้นพบโดยกล้องฮับเบิลในครั้งนี้ก็ไม่น่าจะมีจริง 

ส่วนแนวคิดที่เชื่อว่าเอกภพจะขยายตัวตลอดไปนั้น ทำนายว่ากระจุกดาราจักรส่วนใหญ่กำเนิดขึ้นตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของเอกภพเลย กระจุกดาราจักรเหล่านั้นอาจหมายถึงกระจุกดาราจักรที่ถูกค้นพบใหม่นี้ก็ได้ 

ทีมนักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน ซึ่งเป็นผู้ค้นพบในครั้งนี้กำลังวางแผนการสำรวจสืบเนื่อง โดยจะใช้กล้องโทรทรรศน์บนพื้นโลกและสเปกโทรมิเตอร์ที่มีความไวสูง เชื่อว่าจะสามารถพิสูจน์และยืนยันว่ากระจุกดาราจักรอยู่ไกลออกไปมากจริง 

ข่าวที่คล้ายกัน:

    กระจุกดาราจักรเหล่านี้ อาจไขปริศนาของเอกภพได้

    กระจุกดาราจักรเหล่านี้ อาจไขปริศนาของเอกภพได้

    ที่มา: