สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวเสาร์หันขอบวงแหวนมายังโลกบ่อยครั้งแค่ไหน?

ดาวเสาร์หันขอบวงแหวนมายังโลกบ่อยครั้งแค่ไหน?

รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
โดยทั่วไปแล้วประมาณทุก ๆ 15 ปี คิดได้ง่าย ๆ ดังนี้คือ ดาวเสาร์มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ประมาณ 29.5 ปี มีความเอียงของระนาบวงโคจรเทียบกับระนาบสุริยวิถีเท่ากับ 27.3 องศา ดังนั้นดาวเสาร์จึงหันขอบวงแหวนเข้าหาดวงอาทิตย์ ครั้งในแต่ละรอบ นั่นคือประมาณทุก 15 ปี เนื่องจากโลกเราอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ เมื่อมองจากดาวเสาร์แล้ว โลกเราจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน องศาดังนั้นเวลาที่สังเกตเห็นขอบของวงแหวนดาวเสาร์เมื่อมองจากดวงอาทิตย์กับเมื่อมองจากโลกจึงใกล้เคียงกัน

การที่ดาวเสาร์หันขอบวงแหวนมายังดวงอาทิตย์ในแต่ละครั้งนั้น มิได้หมายความว่าผู้สังเกตการณ์ที่อยู่บนโลกจะได้เห็นขอบของวงแหวน ครั้งเหมือนกับเมื่ออยู่บนดวงอาทิตย์ เนื่องจากโลกมีการโคจรรอบดวงอาทิตย์และระนาบวงโคจรของโลกก็ทำมุมกับระนาบศูนย์สูตรของดาวเสาร์ ดังนั้นโอกาสที่จะเห็นขอบของวงแหวนดาวเสาร์จึงเกิดขึ้นเมื่อโลกเคลื่อนที่ตัดระนาบเส้นศูนย์สูตรของดาวเสาร์ เมื่อดาวเสาร์หันด้านขอบของวงแหวนมายังดวงอาทิตย์แต่ละครั้ง โลกจะโคจรตัดระนาบของวงแหวนจริง ๆ หรือ ครั้ง ในกรณีแรกที่ตัดเพียงครั้งเดียวเกิดขึ้นเมื่อช่วงที่โลกและดาวเสาร์อยู่คนละฟากกันโดยมีดวงอาทิตย์อยู่ตรงกลาง (conjunction) ดังนั้นจึงยากต่อการสังเกตการณ์ ส่วนในกรณีหลังที่มีการตัดวงแหวน ครั้งในหนึ่งคราวนั้น ครั้งหนึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงที่ดาวเสาร์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ (opposition) ส่วนอีกสองครั้งเกิดในช่วงที่ดาวทั้งสาม (ดาวเสาร์ โลกและดวงอาทิตย์) ทำมุมกันเป็นมุมฉาก (quadrature) การหันขอบวงแหวนเข้าหาโลกที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2538 ที่ผ่านมานั้นก็เป็นแบบตัด ครั้งเช่นกัน โอกาสที่จะเกิดการตัดแบบ ครั้งมีประมาณ 53% และโอกาสที่จะเกิดแบบตัดแบบครั้งเดียวมีประมาณ 47%

มีกรณีหนึ่งที่เกิดขึ้นนาน ๆ ครั้ง คือโลกเพียงแต่เคลื่อนที่เข้าไปอยู่ในระนาบวงแหวนดาวเสาร์พอดีโดยไม่เคลื่อนที่ตัดผ่านเลย

ที่มา: