สมาคมดาราศาสตร์ไทย

จุดจบของกระจุกดาวทรงกลม

จุดจบของกระจุกดาวทรงกลม

1 มี.ค. 2542
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
นักดาราศาสตร์ได้สำรวจกระจุกดาว NGC 6712 ด้วยกล้องโทรทรรศน์ UT1 และได้ค้นพบหลักฐานบางอย่างที่อาจจะบอกถึงวาระสุดท้ายของกระจุกดาวทรงกลม 

กระจุกดาว NGC 6712 กระจุกดาวทรงกลมกระจุกหนึ่งในดาราจักรทางช้างเผือก อยู่ห่างจากโลก 23,000 ปีแสงไปในทางกลุ่มดาวโล่ มีอันดับความสว่างรวมเท่ากับ เป็นวัตถุท้องฟ้าที่นักดูดาวคุ้นเคยดี แต่นักดาราศาสตร์ได้พบเห็นสิ่งที่แปลกประหลาดในกระจุกดาวนี้ เพราะพบว่ามีดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อยของกระจุกดาวนี้มีการกระจายตัวที่แตกต่างจากกระจุกดาวทั่ว ๆ ไป 

โดยปกติแล้ว ภายในกระจุกดาวทรงกลมกระจุกหนึ่ง ดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อยส่วนใหญ่จะกระจายตัวอยู่บริเวณด้านนอกของกระจุก ในขณะที่ดาวฤกษ์ที่มีมวลมากจะจมลงและออกันอยู่ใกล้ศูนย์กลางของกระจุก แต่จากการตรวจสอบดาวสมาชิกแต่ละดวงของกระจุกดาวนี้ พบว่าดาวฤกษ์น้ำหนักเบาจำนวนหนึ่งกำลังถูกบางสิ่งบางอย่างดึงออกไปให้หลุดออกจากกระจุกไป สิ่งที่มาดึงกระจุกดาวนี้ให้แตกสลายนี้ก็คือแรงน้ำขึ้นลงจากใจกลางของดาราจักรทางช้างเผือกนั่นเอง นักดาราศาสตร์ได้ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับกระบวนการทำลายกระจุกดาวในลักษณะนี้มานานแล้ว ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการพบหลักฐานสนับสนุนสมมติฐานข้อนี้ 

กล้องที่นักดาราศาสตร์ใช้ในการสำรวจครั้งนี้คือ กล้อง UT1 (Unit Telescope 1) เป็นกล้องสะท้อนแสงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง เมตร ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศชิลี นับว่าเป็นกล้องที่ใหญ่ที่สุดในซีกโลกใต้ กล้องนี้เป็นกล้องตัวแรกในจำนวนสี่ตัวที่จะประกอบกันเป็นกล้อง VLT (Very Large Telescope) ตามโครงการของ ESO (European Southern Observatory) 

    ภาพวาดตามจินตนาการของศิลปิน เป็นกระจุกดาว NGC 6712 ที่กำลังถูกแรงน้ำขึ้นลงของดาราจักรทางช้างเผือกที่มันโคจรรอบอยู่ฉีกให้แหลกสลายไปทีละเล็กละน้อย หลังจากที่กระจุกดาวสลายตัวไปแล้ว ดาวฤกษ์ที่เคยอยู่ในกระจุกดาวนี้จะยังคงโคจรรอบดาราจักรต่อไปในทรงกลมรอบ ๆ ใจกลางของดาราจักร (halo)

    ภาพวาดตามจินตนาการของศิลปิน เป็นกระจุกดาว NGC 6712 ที่กำลังถูกแรงน้ำขึ้นลงของดาราจักรทางช้างเผือกที่มันโคจรรอบอยู่ฉีกให้แหลกสลายไปทีละเล็กละน้อย หลังจากที่กระจุกดาวสลายตัวไปแล้ว ดาวฤกษ์ที่เคยอยู่ในกระจุกดาวนี้จะยังคงโคจรรอบดาราจักรต่อไปในทรงกลมรอบ ๆ ใจกลางของดาราจักร (halo)

    ที่มา: