สมาคมดาราศาสตร์ไทย

พบวัตถุที่ไกลที่สุดในระบบสุริยะ

พบวัตถุที่ไกลที่สุดในระบบสุริยะ

1 พ.ย. 2542
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ทีมนักดาราศาสตร์ทีมหนึ่งนำโดย ดร. เบรตต์ แกลดแมนจากสถาบันฟิสิกส์ทฤษฎีแคนาดา (Canadian Institute of Theoretical Physics) ได้ค้นพบวัตถุแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt Object) ดวงใหม่ ซึ่งเป็นวัตถุในระบบสุริยะดวงที่ไกลที่สุดที่มนุษย์เคยค้นพบ 

วัตถุดวงนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า 1999 DG8 อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ถึง 60 หน่วยดาราศาสตร์ มีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 100 กิโลเมตร และมีองค์ประกอบหลักเป็นหินและน้ำแข็ง เชื่อว่ามันมีเกิดขึ้นในช่วงที่มีกระบวนการสร้างดาวเคราะห์เมื่อสี่พันห้าร้อยล้านปีก่อน 

วัตถุแถบไคเปอร์ดวงแรกถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2535 หลังจากนั้นเป็นต้นมาได้มีการค้นพบเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงขณะนี้นับได้กว่า 100 ดวงแล้ว ทั้งหมดมีวงโคจรอยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป นักดาราศาสตร์ได้จัดกลุ่มวัตถุแถบไคเปอร์ออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มหลัก (Main belt KBOs) กลุ่มที่สองคือ กลุ่มกำทอน เป็นกลุ่มที่มีการโคจรกำทอน (resonant) กับดาวเนปจูนเช่นเดียวกับดาวพลูโต กลุ่มสุดท้ายเรียกว่า SKBOs (Scattered Kuiper Belt Objects) เป็นกลุ่มที่เคยเข้าใกล้ดาวเนปจูนมาก่อน แล้วถูกแรงโน้มถ่วงของดาวเนปจูนเหวี่ยงให้กระจัดอกระจายออกไป 1999 DG8 เองก็อยู่ในกลุ่มอที่สุดท้ายนี้ 

ในขณะนี้นักดาราศาสตร์ยังไม่สามารถคำนวณหาวงโคจรที่แน่นอนของมันได้ เนื่องจากมีภาพของวัตถุดวงนี้เพียงสองภาพซึ่งถ่ายได้เมื่อต้นปีนี้เท่านั้น ซึ่งยังน้อยเกินไป 

    1992 QB1 วัตถุแถบไคเปอร์ดวงแรกที่ถูกค้นพบ

    1992 QB1 วัตถุแถบไคเปอร์ดวงแรกที่ถูกค้นพบ

    ยานพลูโตไคเปอร์เอกซ์เพรส จะเป็นยานลำแรกที่เดินทางไปสำรวจวัตถุวงแหวนไคเปอร์

    ยานพลูโตไคเปอร์เอกซ์เพรส จะเป็นยานลำแรกที่เดินทางไปสำรวจวัตถุวงแหวนไคเปอร์

    ที่มา: