สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวฤกษ์ชนิดใหม่

ดาวฤกษ์ชนิดใหม่

1 ก.ค. 2541
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เป็นเวลากว่า 100 ปีมาแล้วที่นักดาราศาสตร์ได้จัดดาวฤกษ์ลำดับหลักเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ โดยอาศัยสเปกตรัมของดาวเป็นเกณฑ์ แต่ละหมวดหมู่มีชื่อเป็นอักษรต่าง ๆ คือ ตั้งแต่ดาวที่มีอุณหภูมิสูงสีน้ำเงินอ่อนเป็นชนิด จนถึงดาวที่มีอุณหภูมิต่ำสีแดงชนิด (ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ร้อนปานกลางมีชนิดเป็น G) เจ เดวี เคิร์กแพทริก จาก Caltect และทีม ได้เสนอสเปกตรัมดาวย่านใหม่คือ ชนิด ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่มีอุณหภูมิพื้นผิวเพียงประมาณ 1,500 ถึง 2,000 เคลวิน วัตถุชนิดใหม่นี้ได้ถูกค้นพบเป็นจำนวนมากจากการสำรวจวัตถุในย่านรังสีอินฟราเรดใกล้ของปฏิบัติการ 2MASS (2-Micron All-Sky Survey) บางดวงในจำนวนนี้อาจเป็นดาวแคระน้ำตาล และมีอีกจำนวนหนึ่งที่มีมวลมากพอดีที่จะทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ขึ้นที่ใจกลางได้ จึงกลายเป็นดาวฤกษ์ที่สมบูรณ์ เคิร์กแพทริกคาดการณ์ว่าในเอกภพมีดาวฤกษ์ชนิด นี้มากพอ ๆ กับจำนวนดาวฤกษ์ชนิดอื่น ๆ รวมกันทั้งหมด แต่เนื่องจากดาวชนิดนี้มีมวลน้อยเพียงประมาณ 30 ถึง 80 เท่าของดาวพฤหัสบดี จึงถือว่าเป็นมวลส่วนน้อยของดาราจักรทางช้างเผือก 

แต่เดิมนั้นผู้ที่เรียนวิชาดาราศาสตร์มักใช้ประโยคช่วยจำ สำหรับลำดับตัวอักษรแทนสเปกตรัมดาวฤกษ์ว่า "Oh, Be Fine Girl/Guy, Kiss Me" หากดาวฤกษ์ชนิด ที่ถูกเสนอขึ้นมานี้ได้รับการยอมรับ ประโยคช่วยจำยอดนิยมนี้อาจจะต้องถูกเปลี่ยนเป็น "Oh, Be Fine Girl/Guy, Kiss My Lips" 

    วัตถุชื่อ 2MASS J1146+2230 ในกลุ่มดาวสิงโต (กลางภาพซ้าย) ถ่ายติดในย่านใกล้อินฟราเรด แต่มองไม่เห็นในภาพที่ถ่ายในย่านแสงขาว (ภาพขวา) วัตถุนี้อาจเป็นดาวแคระน้ำตาลหรืออาจเป็นดาวฤกษ์ชนิดใหม่ เรียกว่าดาวฤกษ์ชนิด L

    วัตถุชื่อ 2MASS J1146+2230 ในกลุ่มดาวสิงโต (กลางภาพซ้าย) ถ่ายติดในย่านใกล้อินฟราเรด แต่มองไม่เห็นในภาพที่ถ่ายในย่านแสงขาว (ภาพขวา) วัตถุนี้อาจเป็นดาวแคระน้ำตาลหรืออาจเป็นดาวฤกษ์ชนิดใหม่ เรียกว่าดาวฤกษ์ชนิด L

    ที่มา: