สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวหางฮาร์ตลีย์ (103P/Hartley)

ดาวหางฮาร์ตลีย์ (103P/Hartley)

5 ตุลาคม 2553
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 27 กุมภาพันธ์ 2564
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
ดาวหางเป็นวัตถุขนาดเล็ก รูปร่างไม่แน่นอน นิวเคลียสหรือใจกลางดาวหางโดยทั่วไปมีขนาดเล็กกว่า 10 กิโลเมตร ประกอบด้วยน้ำแข็ง คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และแอมโมเนีย ปะปนอยู่กับฝุ่นและหิน ขณะที่ดาวหางอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มันจะมีปฏิกิริยาเพียงเล็กน้อยและจางมาก แสงส่วนใหญ่ที่สังเกตได้เกิดจากการสะท้อนแสงอาทิตย์ เมื่อดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ภายในระยะ หน่วยดาราศาสตร์ รังสีความร้อนจะทำให้น้ำแข็งระเหิด นำพาฝุ่น แก๊ส และโมเลกุลต่าง ๆ พุ่งออกมา เกิดเป็นหัวดาวหางหรือโคม่า (coma) มีลักษณะเป็นทรงกลมล้อมรอบนิวเคลียส ฝุ่นและแก๊สเหล่านี้พุ่งออกมาจากพื้นผิวด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์ จากนั้นลมสุริยะจะทำให้เกิดหาง โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้เป็น หาง คือหางแก๊สหรือหางพลาสมา หางอีกชนิดคือหางฝุ่น

หางแก๊สประกอบด้วยอนุภาคมีประจุไฟฟ้า มันได้รับอิทธิพลจากสนามแม่เหล็กในลมสุริยะ จึงพุ่งไปตรง ๆ ในทิศทางตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ หางฝุ่นสะท้อนแสงอาทิตย์จึงมีสีเหลือง แรงที่ผลักหางฝุ่นคือแรงดันจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ หางฝุ่นมักทอดยาวเป็นแนวโค้ง แผ่กว้างและแบน ฝุ่นที่ถูกทิ้งไว้ในอวกาศเรียกว่าสะเก็ดดาว ซึ่งหากแนวการเคลื่อนที่ของมันผ่านใกล้วงโคจรโลกจะทำให้เกิดฝนดาวตก

ดาวหาง 103 พี/ฮาร์ตลีย์ (103P/Hartley) หรือชื่อเดิมฮาร์ตลีย์ (Hartley 2) ซึ่งต่อไปนี้จะขอเรียกว่าดาวหางฮาร์ตลีย์ กำลังจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์และใกล้โลกที่สุดในเดือนตุลาคม 2553 คาดว่าสามารถสังเกตการณ์ได้ด้วยกล้องสองตาและกล้องโทรทรรศน์

มัลคอล์ม ฮาร์ตลีย์ (Malcolm Hartley) ค้นพบดาวหางฮาร์ตลีย์เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2529 จากภาพถ่ายที่หอดูดาวไซดิงสปริง ประเทศออสเตรเลีย นับเป็นเวลา เดือน หลังจากดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในปี 2528 ดาวหางดวงนี้เป็นดาวหางรายคาบ (คาบการโคจรต่ำกว่า 200 ปี) ปี 2528 ดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดด้วยระยะห่าง 0.952 หน่วยดาราศาสตร์ ซึ่งใกล้กว่าวงโคจรโลก แต่หลังจากที่ดาวหางผ่านใกล้ดาวพฤหัสบดีในช่วงปลายปี 2536 ถึงต้นปี 2537 (ใกล้ที่สุดวันที่ 19 ธันวาคม 2536 ห่าง 0.374 หน่วยดาราศาสตร์) อิทธิพลแรงโน้มถ่วงจากดาวเคราะห์ยักษ์ทำให้จุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดของดาวหางฮาร์ตลีย์ในปี 2540 ขยับออกไปอยู่นอกวงโคจรโลกที่ระยะ 1.032 หน่วยดาราศาสตร์

ดาวหางฮาร์ตลีย์ในปี 2553

ปีนี้ดาวหางฮาร์ตลีย์จะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ 28 ตุลาคม 2553 วงโคจรในขณะนั้นมีจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด (perihelion) อยู่ห่าง 1.059 หน่วยดาราศาสตร์ จุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุด (aphelion) อยู่ห่าง 5.886 หน่วยดาราศาสตร์ ไกลกว่าวงโคจรของดาวพฤหัสบดีเล็กน้อย คาบการโคจรยาวนาน 6.47 ปี

ปีนี้เป็นปีที่ดีที่สุดสำหรับการสังเกตดาวหางดวงนี้นับตั้งแต่มันถูกค้นพบ ข้อมูลจากนาซาระบุว่าดาวหางฮาร์ตลีย์จะเข้าใกล้โลกที่สุดในวันที่ 20 ตุลาคม 2553 เวลา 17:26 น. ตามเวลาสากล (ช้ากว่าเวลาประเทศไทย ชั่วโมง) ด้วยระยะห่างเพียง 0.1209 หน่วยดาราศาสตร์ หรือประมาณ 47 เท่าของระยะทางเฉลี่ยระหว่างโลกกับดวงจันทร์

จากวงโคจรและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงความสว่างของดาวหางฮาร์ตลีย์ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะห่างของดาวหางจากโลกและดวงอาทิตย์ ข้อมูลจากสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลคาดหมายว่าดาวหางฮาร์ตลีย์จะสว่างที่สุดในปลายเดือนตุลาคมด้วยโชติมาตร 4.4 แต่ค่านี้อาจคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจากดาวหางมีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงความสว่างที่ไม่สามารถคาดหมายอย่างแม่นยำได้ ช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม 2553 ดาวหางฮาร์ตลีย์มีความสว่างจางกว่าที่คาดไว้มากถึง 2-3 โชติมาตร อย่างไรก็ตาม ต้นเดือนตุลาคม ดาวหางฮาร์ตลีย์ได้กลับมาสว่างเกือบใกล้เคียงกับที่คาดไว้แล้ว

ตุลาคม 2553

คืนวันที่ ตุลาคม ดาวหางออกจากกลุ่มดาวแคสซิโอเปีย เข้าสู่กลุ่มดาวเพอร์ซิอัส อาจสว่างที่โชติมาตร หรือ วันที่ ตุลาคม เป็นคืนที่น่าสนใจ ดาวหางจะผ่านใกล้กระจุกดาวคู่ (Double Cluster) ซึ่งประกอบด้วยกระจุกดาวเปิด กระจุก อยู่ใกล้กัน สามารถสังเกตดาวหางได้ตั้งแต่เวลาประมาณ ทุ่ม เรื่อยไปจนถึงตี ของเช้าวันถัดไป โดยดาวหางฮาร์ตลีย์จะขึ้นไปถึงสูงสุดบนท้องฟ้าทางทิศเหนือด้วยมุมเงยประมาณ 40-50 องศา ในเวลาตี ครึ่ง

หลังจากวันที่ ตุลาคม ถ้าเรากำหนดให้มุมเงย 30 องศา เป็นมุมเงยต่ำสุดที่ยอมรับได้ และต้องไม่มีแสงจันทร์รบกวน เวลาที่เหมาะกับการสังเกตดาวหางจะช้าลงเรื่อย ๆ คืนวันที่ 10 ตุลาคม สังเกตได้ตั้งแต่ ทุ่ม เป็นต้นไป วันที่ 14 ตุลาคม สังเกตได้ตั้งแต่ ทุ่ม วันที่ 15 ตุลาคม สังเกตได้ตั้งแต่เที่ยงคืน

กระจุกดาวคู่ซึ่งประกอบด้วยกระจุกดาว NGC 884 กับ NGC 869 (ทางซ้ายและขวา ภาพนี้ทิศเหนืออยู่ด้านบน) แต่ละกระจุกมีโชติมาตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณครึ่งองศา ศูนย์กลางของแต่ละกระจุกอยู่ห่างกันครึ่งองศา ดาวหางฮาร์ตลีย์จะอยู่ใกล้กระจุกดาวคู่ในคืนวันที่ ตุลาคม 2553 (ภาพ Andrew Cooper) 

วันที่ 16 ถึง 20 ตุลาคม การสังเกตดาวหางฮาร์ตลีย์ทำได้ดีที่สุดในเวลาประมาณ 03:30 น. ถึง 04:30 น. เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ดาวหางอยู่สูงบนท้องฟ้าทิศเหนือ ท้องฟ้ายังมืดอยู่ และไม่มีแสงจันทร์รบกวน ช่วงดังกล่าวคาดว่าความสว่างของดาวหางฮาร์ตลีย์จะไม่เปลี่ยนแปลงมากนักที่โชติมาตร ความสว่างระดับนี้ คนที่อยู่ห่างจากตัวเมือง ไม่มีแสงไฟฟ้าและมลพิษรบกวน อาจเห็นดาวหางด้วยตาเปล่าเป็นดวงฝ้าจาง ๆ โดยต้องรู้ตำแหน่งดาวหางจากแผนที่ดาว

เช้ามืดวันที่ 22 ตุลาคม ดาวหางฮาร์ตลีย์สว่างและใกล้โลกที่สุด ขณะนั้นมันอยู่ในกลุ่มดาวสารถี ห่างกระจุกดาวเอ็ม 36 และเอ็ม 38 ราว องศา แต่เป็นช่วงที่ดวงจันทร์เต็มดวง อาจพอที่จะสังเกตได้ในช่วง 04:30 น. ถึง 05:00 น. ซึ่งดาวหางจะอยู่สูงบนท้องฟ้าทิศเหนือด้วยมุมเงยประมาณ 65 องศา และเป็นเวลาที่ดวงจันทร์ใกล้จะตก ตลอดช่วงหนึ่งสัปดาห์หลังจากวันที่ดาวหางฮาร์ตลีย์ใกล้โลกที่สุด การสังเกตดาวหางจะมีอุปสรรคจากแสงจันทร์ ดาวหางน่าจะกำลังค่อย ๆ ลดความสว่างลง ปลายเดือนเข้าสู่กลุ่มดาวคนคู่

แผนที่แสดงเส้นทางการเคลื่อนที่ของดาวหางฮาร์ตลีย์ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนถึงปลายเดือนพฤศจิกายน 2553 (ภาพมุมกว้างที่เห็นดาวหางผ่านกลุ่มดาวต่าง ๆ ดูในแผนที่วงกลมของท้องฟ้าหัวค่ำและท้องฟ้าเช้ามืด) ดาวดวงเล็กที่สุดในแผนที่มีโชติมาตร ตำแหน่งดาวหางแสดง ณ เวลาที่ระบุไว้ในแผนที่แต่ละแผ่น ช่วงที่ใกล้โลกที่สุด ดาวหางเคลื่อนที่ด้วยอัตรา ลิปดาต่อชั่วโมง หรือใกล้เคียงกับขนาดปรากฏของดวงจันทร์ในเวลา ชั่วโมง [ดูภาพขนาดใหญ่] 

พฤศจิกายน 2553

ช่วงเวลาประมาณ ชั่วโมง นับตั้งแต่เที่ยงคืนของคืนวันที่ 31 ตุลาคม ถึงตี ของวันที่ พฤศจิกายน อาจพอมีเวลาสังเกตดาวหางได้ก่อนดวงจันทร์ขึ้น เวลานั้นดาวหางมีมุมเงยราว 30 ถึง 40 องศา บนท้องฟ้าทิศตะวันออก ดาวหางย้ายเข้าสู่กลุ่มดาวยูนิคอร์นใน หรือ วันถัดมา

หลังจากนี้ ดวงจันทร์จะเป็นอุปสรรคน้อยลง สามารถสังเกตดาวหางได้ทุกคืนตั้งแต่เวลาตี เป็นต้นไป วันที่ พฤศจิกายน ดาวหางจางลงไปที่โชติมาตร กลางเดือนลงไปที่โชติมาตร แม้ว่าความสว่างของดาวหางกำลังลดลง แต่ช่วงนี้อาจเป็นช่วงที่มีโอกาสสังเกตดาวหางฮาร์ตลีย์ด้วยกล้องสองตาและกล้องโทรทรรศน์ได้ เพราะกำลังสิ้นสุดฤดูฝนแล้วเข้าสู่ฤดูหนาวในประเทศไทย เมื่อใกล้สิ้นเดือนดาวหางฮาร์ตลีย์เข้าสู่กลุ่มดาวท้ายเรือ คืนวันที่ 28 พฤศจิกายน ดาวหางมีตำแหน่งอยู่ตรงกลางระหว่างกระจุกดาวเอ็ม 46 กับเอ็ม 47 ซึ่งมีโชติมาตร 6.1 และ 6.9 ตามลำดับกระจุกดาว กระจุกนี้อยู่ห่างกัน 1.3 องศา เมื่อถึงเดือนธันวาคม ดาวหางน่าจะจางกว่าโชติมาตร 7

หลังจากปีนี้ดาวหางฮาร์ตลีย์จะเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์อีกครั้งในเดือนเมษายน พ.ศ. 2560 ซึ่งมันจะจางมากและมีตำแหน่งอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์จนไม่สามารถสังเกตได้จากโลก

การสำรวจด้วยยานอวกาศ

วันที่ กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ยานดีปอิมแพกต์ (Deep Impact) เข้าสำรวจดาวหางเทมเพล โดยส่งยานลูกพุ่งชนดาวหาง หลังเสร็จภารกิจ ยานดีปอิมแพกต์ยังคงอยู่ในวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ นาซาได้ขยายโครงการต่อมาในชื่อภารกิจอีพ็อกซี (Extrasolar Planet Observation and Deep Impact Extended Investigation EPOXI) ซึ่งประกอบด้วย ภารกิจย่อย ได้แก่ อีพ็อค (Extrasolar Planet Observation and Characterization EPOCh) กับดิกซี (Deep Impact eXtended Investigation DIXI)

ภารกิจอีพ็อคศึกษาดาวเคราะห์นอกระบบที่เป็นดาวเคราะห์แก๊สขนาดใหญ่เคลื่อนผ่านหน้าดาวแม่ ส่วนภารกิจดิกซีจะนำยานดีปอิมแพกต์เข้าไปสำรวจดาวหางฮาร์ตลีย์ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2553 ซึ่งขณะนี้กำหนดไว้ในเวลาเกือบ ทุ่ม ของวันที่ พฤศจิกายน 2553 ตามเวลาประเทศไทย ดังนั้นนอกจากการสังเกตดาวหางฮาร์ตลีย์จากพื้นโลกแล้ว เรายังมีโอกาสเห็นดาวหางดวงนี้ในระยะใกล้อีกด้วย

เพื่อเตรียมการสำหรับการสำรวจดาวหางดวงนี้ด้วยยานดีปอิมแพกต์ วันที่ 12-13 สิงหาคม พ.ศ. 2551 นักดาราศาสตร์ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์สำรวจดาวหางฮาร์ตลีย์ด้วยสเปกโทรกราฟอินฟราเรด ขณะนั้นดาวหางอยู่ห่างดวงอาทิตย์ 5.5 หน่วยดาราศาสตร์ ได้ผลสรุปว่านิวเคลียสของดาวหางฮาร์ตลีย์มีขนาดประมาณ 1.2 กิโลเมตร เล็กกว่าดาวหางเทมเพล ราว เท่า แม้จะเล็กกว่า แต่พื้นผิวมีกัมมันตภาพคิดเป็นพื้นที่ในสัดส่วนสูงกว่าดาวหางเทมเพล อัตราการสูญเสียมวลที่วัดได้ในปัจจุบัน ทำให้คาดว่าดาวหางฮาร์ตลีย์จะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ได้อีกราว 100 ครั้ง (ประมาณ 700 ปี) ก่อนที่นิวเคลียสจะแตกสลาย

ดูเพิ่ม

 ดาวตกจากดาวหางฮาร์ตลีย์?
 สารพันคำถามเกี่ยวกับดาราศาสตร์ หมวดดาวหางและดาวเคราะห์น้อย

ที่มา

 Elements and Ephemeris for 103P/Hartley IAU Minor Planet Center
 Recent Comet Brightness Estimates International Comet Quarterly
 Encounters with Comet Hartley 2 skyandtelescope.com
 103P/Hartley 2 cometography.com
 103P/Hartley (2010) Seiichi Yoshida
 EPOXI NASA