สมาคมดาราศาสตร์ไทย

จันทร์เพ็ญกับวัฏจักรเมตอน

จันทร์เพ็ญกับวัฏจักรเมตอน

4 ธันวาคม 2549
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 16 มิถุนายน 2565
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
วันที่ ธันวาคม 2549 ซึ่งเป็นคืนวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดวงจันทร์จะโคจรไปอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์โดยมีโลกอยู่ตรงกลาง เราจึงมองเห็นดวงจันทร์สว่างเต็มดวง เป็นพระจันทร์วันเพ็ญคืนวันเฉลิมพระชนมพรรษาครั้งแรกในรอบ 19 ปี และจะเกิดอีกครั้งในอีก 19 ปีข้างหน้า

ตัวเลข 19 ปี ไม่ใช่ความบังเอิญ แต่เป็นวัฏจักรที่วงการดาราศาสตร์รู้จักกันดีว่าเป็นจำนวนปีที่ดิถีของดวงจันทร์จะวนกลับมาซ้ำเดิมในวันเดียวกันของปฏิทิน วัฏจักรนี้ค้นพบโดยเมตอน นักดาราศาสตร์ชาวเมืองเอเธนส์ ประเทศกรีซ เมื่อศตวรรษที่ ก่อนคริสตกาล จึงเรียกว่าวัฏจักรเมตอน (Metonic cycle) อย่างไรก็ตามมันอาจพบโดยชนชาติอื่นก่อนหน้านั้นแต่ไม่ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย

วัฏจักรเมตอนใช้ได้แม่นยำในรอบวัฏจักรที่ติดกันหรือห่างกันไม่มาก แต่ใช้ไม่ได้ในระยะเวลาที่ห่างกันเป็นร้อยปี เพราะตัวเลขนี้มาจาก 19 ปีฤดูกาล (19×365.24219) ซึ่งยาวนาน 6,939.602 วัน และ 235 เดือนจันทรคติ (235×29.53059) ซึ่งยาวนาน 6,939.688 วัน ทศนิยมที่ต่างกันจึงทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนสะสม


ดวงจันทร์ไม่มีแสงสว่างในตัวเองแต่สะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ ทำให้เรามองเห็นดวงจันทร์มีรูปลักษณ์เปลี่ยนแปลงไปทุกวันตามมุมตกกระทบของแสงอาทิตย์

บทความที่เกี่ยวข้อง :