สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ฝนดาวตกในปี 2556

ฝนดาวตกในปี 2556

17 ธันวาคม 2555
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 12 กุมภาพันธ์ 2561
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
ดาวตกเกิดจากสะเก็ดดาว (meteoroid) ซึ่งเป็นชิ้นส่วนของดาวหางและดาวเคราะห์น้อย เคลื่อนเข้าสู่บรรยากาศโลก หากสังเกตจากสถานที่ซึ่งท้องฟ้ามืดสนิท ไม่มีเมฆหมอก แสงจันทร์ และแสงไฟฟ้ารบกวน โดยทั่วไปสามารถมองเห็นดาวตกบนท้องฟ้าได้เฉลี่ยราว ดวงต่อชั่วโมง ดาวตกที่สว่างมาก ๆ เรียกว่าลูกไฟ (fireball)

ดาวตกบนท้องฟ้าเหนือหอดูดาวในชิลี เบื้องหลังคือทางช้างเผือก (ภาพ ESO/S. Guisard) 

เส้นทางที่สะเก็ดดาวจำนวนมากเคลื่อนที่เป็นสายไปในแนวเดียวกันในอวกาศเรียกว่าธารสะเก็ดดาว (meteoroid stream) แรงโน้มถ่วงของวัตถุต่าง ๆ ในระบบสุริยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดาวเคราะห์ ส่งผลรบกวนต่อธารสะเก็ดดาว เมื่อโลกเดินทางฝ่าเข้าไปในธารสะเก็ดดาว ซึ่งเกิดขึ้นหลายช่วงของปี จะทำให้เห็นดาวตกหลายดวงดูเหมือนพุ่งออกมาจากบริเวณเดียวกันบนท้องฟ้า ซึ่งเป็นมุมมองในเชิงทัศนมิติ ลักษณะเดียวกับที่เราเห็นรางรถไฟบรรจบกันที่ขอบฟ้า เรียกปรากฏการณ์ที่เห็นดาวตกดูเหมือนพุ่งมาจากจุดเดียวกันนี้ว่าฝนดาวตก (meteor shower) ในรอบปีมีฝนดาวตกหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีลักษณะและจำนวนความถี่แตกต่างกันตามแต่องค์ประกอบและความเร็วของสะเก็ดดาว ฝนดาวตกบางกลุ่มอาจมีเพียงไม่กี่ดวงต่อชั่วโมง แต่ก็ยังก็เรียกว่าฝนดาวตก

ดาวตกจากฝนดาวตกสามารถปรากฏในบริเวณใดก็ได้ทั่วท้องฟ้า แต่เมื่อลากเส้นย้อนไปตามแนวของดาวตก จะไปบรรจบกันที่จุดหนึ่ง เราเรียกจุดนั้นว่าจุดกระจายฝนดาวตก (radiant) ชื่อฝนดาวตกมักตั้งตามกลุ่มดาวหรือดาวฤกษ์ที่อยู่บริเวณใกล้จุดกระจาย แสงจันทร์และแสงจากตัวเมืองเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการสังเกตดาวตก จึงควรหาสถานที่ที่ฟ้ามืด ยิ่งฟ้ามืดก็จะยิ่งมีโอกาสเห็นดาวตกมากขึ้น

บางปี ฝนดาวตกจะมีอัตราตกสูงเป็นพิเศษ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อโลกโคจรผ่านธารสะเก็ดดาวในส่วนที่มีสะเก็ดดาวอยู่หนาแน่น ปัจจุบัน วิธีการพยากรณ์ว่าจะมีฝนดาวตกที่มีอัตราตกสูงมากเมื่อใด กระทำโดยสร้างแบบจำลองทำนายการเคลื่อนที่ของสะเก็ดดาว แล้วคำนวณว่าโลกจะมีเส้นทางผ่านธารสะเก็ดดาวนั้นเมื่อใด


ฝนดาวตกในปี 2556
ฝนดาวตก ช่วงที่ตก คืนที่มีมากที่สุด เวลาที่เริ่มเห็น (ประมาณ)อัตราสูงสุดในประเทศไทย (ดวง/ชั่วโมง)หมายเหตุ
ควอดแดรนต์ 28 ธ.ค. 12 ม.ค. 3/4 ม.ค. 02:00 น. แสงจันทร์รบกวน
พิณ 16-25 เม.ย. 22/23 เม.ย. 22:00 น. 10-15 แสงจันทร์รบกวนก่อนตี 4
อีตาคนแบกหม้อน้ำ 19 เม.ย. 28 พ.ค. 5/6/7 พ.ค. 02:00 น. 35 -
เดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้ 12 ก.ค. 23 ส.ค. 29/30 ก.ค. 21:00 น. 10 แสงจันทร์รบกวนหลังเที่ยงคืน
เพอร์ซิอัส 17 ก.ค. 24 ส.ค. 12/13 ส.ค. 22:30 น. 60 -
นายพราน ต.ค. พ.ย. 21/22 ต.ค. 22:30 น. แสงจันทร์รบกวน
สิงโต 6-30 พ.ย. 15/16/17 พ.ย. 00:30 น. 10-15 แสงจันทร์รบกวนก่อนตี 5
คนคู่ 7-17 ธ.ค. 13/14 ธ.ค. 20:00 น. 60-70 แสงจันทร์รบกวนก่อนตี 3


หมายเหตุ
 คอลัมน์ "คืนที่มีมากที่สุด" เครื่องหมายทับ (/) ใช้คั่นคืนวันแรกกับเช้ามืดของอีกวันหนึ่ง เช่น 3/4 หมายถึงคืนวันที่ ถึงเช้ามืดวันที่ 4
 ตัวเลขอัตราตกสูงสุดในประเทศไทยคิดผลจากแสงจันทร์รบกวนแล้ว แต่ยังไม่คิดผลจากมลพิษทางแสง การสังเกตดาวตกในเมืองใหญ่จะมีจำนวนดาวตกลดลงจากตัวเลขในตารางนี้หลายเท่า
 การคาดหมายอัตราตกของดาวตกอาศัยข้อมูลตัวเลขจากปรากฏการณ์ในอดีต ควรใช้เป็นแนวทางคร่าว ๆ เท่านั้น เพราะมีโอกาสคลาดเคลื่อนได้
 ดัดแปลงจากข้อมูลฝนดาวตกโดย International Meteor Organization (IMO) และ Meteor Shower Flux Estimator โดย Peter Jenniskens

ฝนดาวตกควอดแดรนต์ (Quadrantids อักษรย่อ QUA)


ฝนดาวตกควอดแดรนต์มีจำนวนสูงสุดราววันที่ 3-4 มกราคม ของทุกปี จุดกระจายอยู่บริเวณตรงกลางระหว่างกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส คนเลี้ยงสัตว์ และมังกร บริเวณที่สังเกตฝนดาวตกกลุ่มนี้ได้ดีที่สุดคือประเทศในละติจูดสูง ๆ ของซีกโลกเหนือ อัตราตกสูงสุดอาจมากถึง 120 ดวงต่อชั่วโมง (แปรผันได้ระหว่าง 60-200) แต่ธารสะเก็ดดาวค่อนข้างแคบ โลกจึงผ่านส่วนที่หนาแน่นที่สุดในเวลาสั้น 

นอกจากปีนี้จะมีแสงจันทร์รบกวนแล้ว ประเทศไทยไม่อยู่ในจังหวะเวลาที่เหมาะสำหรับการดูฝนดาวตกกลุ่มนี้ คาดว่าเช้ามืดวันศุกร์ที่ มกราคม 2556 จะมีอัตราตกสูงสุดเพียง ดวงต่อชั่วโมง

ฝนดาวตกพิณ (Lyrids อักษรย่อ LYR)


ฝนดาวตกพิณมีอัตราตกสูงสุดราววันที่ 21-22 เมษายน ของทุกปี อยู่ที่ประมาณ 18 ดวงต่อชั่วโมง (เคยสูงถึง 90 ในช่วงเวลาสั้น ๆ เมื่อ พ.ศ. 2525) สำหรับประเทศไทย สังเกตได้ คืน คือในคืนวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน และวันจันทร์ที่ 22 เมษายน 2556 จุดกระจายขึ้นเหนือขอบฟ้าในเวลา ทุ่ม เวลาที่มีโอกาสเห็นดาวตกได้มากที่สุดคือช่วงตี – ตี ของเช้ามืดวันจันทร์และอังคาร ด้วยอัตรา 10-15 ดวงต่อชั่วโมง
ฝนดาวตกอีตาคนแบกหม้อน้ำ (Eta Aquariids อักษรย่อ ETA)

ฝนดาวตกอีตาคนแบกหม้อน้ำ มีจุดกระจายอยู่ใกล้ดาวอีตา (eta) ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ เกิดจากดาวหางแฮลลีย์ (1P/Halley) มีอัตราตกสูงสุดราววันที่ 5-7 พฤษภาคม ที่ 70 ดวงต่อชั่วโมง (แปรผันได้ระหว่าง 40-85)

ธารสะเก็ดดาวของฝนดาวตกกลุ่มนี้ค่อนข้างกว้าง จึงสังเกตได้หลายวัน ปีนี้ดวงจันทร์เคลื่อนอยู่บริเวณกลุ่มดาวนี้ในเช้ามืดวันที่ พฤษภาคม แต่เป็นปลายข้างแรม ดวงจันทร์เป็นเสี้ยว อาจรบกวนบ้าง แต่ไม่มากนัก สำหรับประเทศไทย จุดกระจายขึ้นมาเหนือขอบฟ้าในเวลาตี เวลาที่มีโอกาสเห็นดาวตกได้มากที่สุดคือช่วงก่อนฟ้าสาง

คาดหมายจำนวนดาวตกในช่วงตี – ตี ในกรณีที่ท้องฟ้าเปิดโล่งทุกทิศ ไร้เมฆ และห่างไกลจากแสงไฟฟ้าในเมืองรบกวนดังนี้ :- วันอาทิตย์ที่ พฤษภาคม 15-25 ดวง, วันจันทร์ที่ พฤษภาคม 20-35 ดวง, วันอังคารที่ พฤษภาคม 20-35 ดวง, วันพุธที่ พฤษภาคม 20-30 ดวง, วันพฤหัสบดีที่ พฤษภาคม 15-30 ดวง, วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 15-25 ดวง

ฝนดาวตกเดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้ (Southern Delta-Aquariids อักษรย่อ SDA)


ฝนดาวตกเดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้มีอัตราตกสูงสุดราววันที่ 29-30 กรกฎาคม ของทุกปี โดยอยู่ที่ประมาณ 16 ดวงต่อชั่วโมง เกิดจากดาวหางมัคโฮลซ์ (96P/Machholz) ซึ่งมีคาบ ปี ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2529 เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2555 ดาวตกจากฝนดาวตกกลุ่มนี้มีความสว่างน้อย เมื่อเทียบกับฝนดาวตกกลุ่มหลักกลุ่มอื่น 

ปีนี้สังเกตในช่วงที่ตกสูงสุดได้ คืน คือวันจันทร์ที่ 29 และวันอังคารที่ 30 กรกฎาคม 2556 แต่แสงจันทร์จะรบกวนหลังเที่ยงคืน จุดกระจายดาวตกขึ้นเหนือขอบฟ้าในเวลาประมาณ ทุ่ม หากท้องฟ้าเปิด คาดว่าจะเห็นดาวตกได้สูงสุดราว 10 ดวง ในระหว่างเที่ยงคืนถึงตี 1
ฝนดาวตกเพอร์ซิอัส (Perseids อักษรย่อ PER)

ฝนดาวตกเพอร์ซิอัสหรือฝนดาวตกวันแม่ เป็นฝนดาวตกที่มีชื่อเสียงในประเทศตะวันตก โดยเฉพาะในละติจูดสูง ๆ ทางเหนือ ซึ่งจุดกระจายดาวตกจะขึ้นไปอยู่สูงเกือบกลางฟ้าในเวลาเช้ามืด อัตราตกสูงถึงกว่า 100 ดวงต่อชั่วโมง และเกิดในฤดูร้อนซึ่งท้องฟ้าโปร่ง แต่การสังเกตฝนดาวตกกลุ่มนี้ในประเทศไทยมักพบอุปสรรคจากเมฆในฤดูฝน

ฝนดาวตกเพอร์ซิอัสมีต้นกำเนิดมาจากดาวหางสวิฟต์-ทัตเทิล (109P/Swift-Tuttle) เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2535 มีคาบ 130 ปี จุดกระจายฝนดาวตกเพอร์ซิอัสอยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่างกลุ่มดาวเพอร์ซิอัสกับแคสซิโอเปีย ใกล้กระจุกดาวคู่ เริ่มเห็นได้ตั้งแต่เวลาประมาณ ทุ่มครึ่ง แต่ยังมีน้อย จะสังเกตได้ดีหลังเที่ยงคืนและดีที่สุดในช่วงที่จุดกระจายอยู่สูง ซึ่งตรงกับช่วง 1-2 ชั่วโมงก่อนท้องฟ้าสว่างในเวลาเช้ามืด

ปีนี้เป็นปีที่ดีสำหรับการสังเกตฝนดาวตกเพอร์ซิอัส เนื่องจากอยู่ในช่วงครึ่งแรกของข้างขึ้น ดวงจันทร์ตกลับขอบฟ้าในขณะที่จุดกระจายขึ้นเหนือขอบฟ้า ประเทศไทยเริ่มสังเกตได้ตั้งแต่ ทุ่มครึ่ง โดยช่วงแรกจะเห็นได้น้อย อัตราตกค่อย ๆ เพิ่มขึ้น สูงสุดในช่วงก่อนเช้ามืด คาดหมายอัตราตกสูงสุดในวันต่าง ๆ ดังนี้ :- เช้ามืดวันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม 30 ดวงต่อชั่วโมง, เช้ามืดวันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 40-50 ดวงต่อชั่วโมง, เช้ามืดวันอังคารที่ 13 สิงหาคม 60-65 ดวงต่อชั่วโมง, เช้ามืดวันพุธที่ 14 สิงหาคม 40 ดวงต่อชั่วโมง, เช้ามืดวันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 20-25 ดวงต่อชั่วโมง

ฝนดาวตกนายพราน (Orionids อักษรย่อ ORI)


ฝนดาวตกนายพรานเป็นฝนดาวตกอีกกลุ่มหนึ่งที่เกิดจากดาวหางแฮลลีย์ ตกสูงสุดราววันที่ 20-21 ตุลาคม ของทุกปี อยู่ที่ประมาณ 25 ดวงต่อชั่วโมง (ช่วง พ.ศ. 2549 – 2552 อัตราตกได้เพิ่มสูงผิดปกติไปอยู่ที่ 40-70 ดวงต่อชั่วโมง ติดต่อกัน หรือ วัน) จุดกระจายฝนดาวตกอยู่ไม่ไกลจากดาวเบเทลจุส ซึ่งเป็นดาวสว่างสีส้ม ส่วนหนึ่งของสามเหลี่ยมฤดูหนาว

ปีนี้จันทร์เพ็ญในวันที่ 19 ตุลาคม ซึ่งตรงกับวันออกพรรษา และเกิดจันทรุปราคาเงามัว ฝนดาวตกนายพรานจึงมีแสงจันทร์สว่างรบกวนตลอดทั้งคืน สำหรับประเทศไทย คาดว่าจะตกสูงสุดในคืนวันจันทร์ที่ 21 ถึงเช้ามืดวันอังคารที่ 22 ตุลาคม จุดกระจายขึ้นมาเหนือขอบฟ้าในเวลา ทุ่มครึ่ง เวลาที่มีโอกาสเห็นดาวตกได้มากที่สุดคือช่วงตี – ตี ด้วยอัตราต่ำเพียง 5-8 ดวงต่อชั่วโมง

ฝนดาวตกสิงโต (Leonids อักษรย่อ LEO)


ฝนดาวตกสิงโตมีอัตราตกสูงสุดตามปกติอยู่ที่ราว 10-20 ดวงต่อชั่วโมง ในกลางเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ธารสะเก็ดดาวของฝนดาวตกสิงโตมีหลายสาย ทำให้บางปีมีอัตราสูงมากนับร้อยหรือนับพันดวงต่อชั่วโมง ปีนี้โลกไม่ได้เคลื่อนผ่านใกล้ธารสะเก็ดดาวที่หนาแน่น จึงคาดว่าไม่น่าจะสูงเกินกว่าระดับปกติ

จุดกระจายของฝนดาวตกสิงโตอยู่บริเวณหัวของสิงโต หรือที่เรียกว่าเคียวของสิงโต (Sickle of Leo) ตามลักษณะดาวที่เรียงกันเป็นวงโค้งคล้ายเคียว จุดกระจายจะขึ้นมาเหนือขอบฟ้าในเวลาเที่ยงคืนครึ่ง ปีนี้จันทร์เพ็ญในวันที่ 17 พฤศจิกายน จึงมีแสงจันทร์สว่างรบกวนเกือบตลอดทั้งคืน ทำให้พบดาวตกได้น้อย อาจนับได้ราว 10-15 ดวง ในช่วงเวลา 04:30 05:30 น. ของวันศุกร์ที่ 15 และวันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2556

ฝนดาวตกคนคู่ (Geminids อักษรย่อ GEM)


ฝนดาวตกคนคู่เป็นฝนดาวตกที่เด่นที่สุดกลุ่มหนึ่งในรอบปี มีอัตราตกสูงสุดราว 120 ดวงต่อชั่วโมง ประมาณวันที่ 13-15 ธันวาคม ของทุกปี ดาวเคราะห์น้อย 3200 เฟทอน (3200 Phaethon) เป็นต้นกำเนิด ตำแหน่งของจุดกระจายอยู่ใกล้ดาวคาสเตอร์ในกลุ่มดาวคนคู่ สำหรับประเทศไทย ปีนี้คาดว่าจะเห็นได้มากที่สุดในคืนวันศุกร์ที่ 13 ถึงเช้ามืดวันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม 2556

ดาวคาสเตอร์ขึ้นเหนือขอบฟ้าในเวลาประมาณ ทุ่ม (เห็นดาวพฤหัสบดีสว่างเด่นอยู่ใกล้ ๆ) อาจเริ่มเห็นดาวตกจากฝนดาวตกคนคู่ได้ในช่วงนี้ แต่ยังมีจำนวนน้อยมาก และมีแสงจากดวงจันทร์เกือบเต็มดวงรบกวนอยู่ จึงควรรอให้ดวงจันทร์ตกในเวลาประมาณตี ครึ่ง จึงเริ่มสังเกต อัตราตกน่าจะสูงสุดในช่วงตั้งแต่ดวงจันทร์ตก โดยอยู่ที่ 60-70 ดวงต่อชั่วโมง แล้วลดลงเล็กน้อยก่อนฟ้าสาง หากสังเกตก่อนหรือหลังจากนี้หนึ่งวัน อาจนับได้ไม่เกิน 30 ดวงต่อชั่วโมง