สมาคมดาราศาสตร์ไทย

สนามแม่เหล็กในดาวคู่

สนามแม่เหล็กในดาวคู่

1 ม.ค. 2545
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เป็นเวลานานนับสิบปีมาแล้วที่นักดาราศาสตร์ได้รับรู้และศึกษาสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่ใกล้โลกมากที่สุด แต่สนามแม่เหล็กของดาวฤกษ์ดวงอื่นนั้นไม่เคยมีใครรู้ เพราะไม่เคยมีใครได้เคยเห็นมาก่อน เนื่องจากดาวฤกษ์เหล่านั้นอยู่ไกลเกินไปจนแม้แต่กล้องโทรทรรศน์ที่ใหญ่ที่สุดบนโลกก็ยังไม่สามารถจำแนกรายละเอียดของสนามแม่เหล็กบนผิวดาวได้ 

แต่เมื่อต้นปี 2543 คณะของเอสเอโอได้ศึกษาดาวคู่ ๆ หนึ่งในกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ชื่อ 44i Bootis โดยใช้สถานีสังเกตการณ์รังสีเอกซ์จันทรา คณะนี้อาศัยข้อได้เปรียบของดาวคู่ซึ่งประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงโคจรรอบกันเอง สำหรับ 44i Bootis นี้เป็นดาวคู่อุปราคา ซึ่งและบังกันเองทุกรอบ จันทราจึงสามารถวัดการเปลี่ยนแปลงของสเปกตรัมรังสีเอกซ์ที่เปล่งออกมาจากก๊าซร้อนซึ่งไหลตามสนามแม่เหล็กของดาวฤกษ์ได้ และสามารถทราบถึงตำแหน่งของการเปล่งรังสีของดาวฤกษ์นั้นด้วย 

ผลที่ได้ทำให้นักดาราศาสตร์ต้องประหลาดใจมาก เพราะพบว่ารังสีส่วนใหญ่จาก 44i Booti มีแหล่งกำเนิดมาจากบริเวณใกล้กับบริเวณขั้วของดาว ซึ่งต่างไปจากรูปแบบของสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์มาก ทำให้นักดาราศาสตร์ยังต้องค้นคว้าหาคำตอบต่อไปว่าเพราะเหตุใดดาวฤกษ์ที่มีลักษณะคล้ายดวงอาทิตย์มาก ๆ ที่อยู่ในระบบดาวคู่ใกล้ชิดจึงมีสนามแม่เหล็กที่แตกต่างไปโดยสินเชิงเช่นนี้ 

ดาวคู่ 44i Bootis มีดาวสมาชิกที่คล้ายกับดวงอาทิตย์ของเรา แต่กลับมีสนามแม่เหล็กที่สุดพิสดาร (ภาพจาก CXC/M.Weiss)

ดาวคู่ 44i Bootis มีดาวสมาชิกที่คล้ายกับดวงอาทิตย์ของเรา แต่กลับมีสนามแม่เหล็กที่สุดพิสดาร (ภาพจาก CXC/M.Weiss)

ที่มา: