สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ฝนตกที่ไททัน

ฝนตกที่ไททัน

4 เม.ย. 2554
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ในที่สุด ยานแคสซีนีได้ค้นพบหลักฐานชิ้นแรกที่ยืนยันว่า มีฝนบนดวงจันทร์ไททันทันของดาวเสาร์จริง ๆ 
ฝนที่พบนี้ไม่ใช่น้ำ แต่เป็นมีเทน ตกอยู่บริเวณเขตศูนย์สูตรของดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์
เมื่อปลายเดือนกันยายนปีที่แล้ว ซึ่งตรงกับต้นฤดูใบไม้ผลิบนไททัน แคสซีนีได้ตรวจพบพายุรูปลูกศรก่อตัวขึ้นบริเวณศูนย์สูตร และหลังจากนั้นก็พบว่าพื้นผิวบริเวณนั้นเปลี่ยนเป็นสีคล้ำเป็นบริเวณกว้างราว 500,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นผลจากพื้นดินเปียกฝนนั่นเอง
ดวงจันทร์ไททัน ซึ่งเป็นดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ มีระบบลมฟ้าอากาศคล้ายโลก แต่ต่างกันตรงที่ของเหลวที่ขับเคลื่อนระบบบนไททันคือมีเทนเหลว ไม่ใช่น้ำ ก่อนหน้านี้ยานแคสซีนีก็ได้พบทะเลสาบมีเทนหลายแห่งบริเวณใกล้ขั้วเหนือและขั้วใต้มาแล้ว นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่า ภูมิลักษณ์หลายแห่งที่พบบนพื้นผิวบริเวณศูนย์สูตรอาจถูกกระทำโดยฝนมีเทน แต่ก็ยังขาดหลักฐานยืนยันว่ามีฝนอยู่จริง จนกระทั่งบัดนี้
พายุบนไททันต่างจากบนโลก เมฆฝนบนโลกเกิดขึ้นได้ตลอดปี และมีการเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล แต่บนไททัน พายุฤดูร้อนดูเหมือนจะเกิดขึ้นเฉพาะใกล้ช่วงวิษุวัตเท่านั้น ขณะนี้นักดาราศาสตร์กำลังติดตามภาพจากไททันอย่างใกล้ชิดว่าพายุจะมีความเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลอย่างไร
เส้นสีขาวรูปคล้ายหัวลูกศรทางซ้าย <wbr>คือพายุบริเวณเขตศูนย์สูตรที่กำลังพัดผ่านเขตศูนย์สูตรของดวงจันทร์ไททันในเดือนกันยายน <wbr><br />
(ขวา) หลังจากนั้นเพียงไม่กี่สัปดาห์ เมฆได้มารวมกันอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตร ซึ่งตรงกับช่วงวิษุวัตบนไททันพอดี (สิงหาคม 2552)

เส้นสีขาวรูปคล้ายหัวลูกศรทางซ้าย คือพายุบริเวณเขตศูนย์สูตรที่กำลังพัดผ่านเขตศูนย์สูตรของดวงจันทร์ไททันในเดือนกันยายน 
(ขวา) หลังจากนั้นเพียงไม่กี่สัปดาห์ เมฆได้มารวมกันอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตร ซึ่งตรงกับช่วงวิษุวัตบนไททันพอดี (สิงหาคม 2552) (จาก NASA/JPL/Space Science Institute)

ที่มา: