สมาคมดาราศาสตร์ไทย

มหาสมุทรบนไททัน

มหาสมุทรบนไททัน

1 ส.ค. 2542
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคมที่ผ่านมา กล้องโทรทรรศน์เคก (Keck) ได้เปิดเผยภาพไททันของดาวเสาร์ ภาพนี้ถือว่าเป็นภาพดวงจันทร์ไททันที่ดีที่สุดเท่าที่เคยถ่ายได้ ถ่ายในย่านรังสีอินฟราเรด จึงสามารถมองทะลุชั้นหมอกหนาทึบของดวงจันทร์ไททันได้ แสดงให้เห็นพื้นผิวที่มีบริเวณสีคล้ำและสีขาวปะปนกัน ซึ่งนักดาราศาสตร์เชื่อว่าอาจเป็นภาพของแผ่นดินกับทะเล นอกจากนี้ยังได้พบหลักฐานบางอย่างที่แสดงว่า ทะเลของดวงจันทร์ไททันประกอบด้วย อีเทน มีเทน และสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอื่น ๆ 

ภาพนี้ไม่ใช่ภาพแรกที่นักวิทยาศาสตร์สามารถถ่ายภาพพื้นผิวของดวงจันทร์ดวงนี้ ก่อนหน้านี้ในปี 2537 กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลก็สามารถถ่ายภาพในลักษณะเดียวกันนี้ได้ แต่ภาพที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์เคกมีความคมชัดมากกว่าด้วยเทคนิคสเปกเกิลอินเตอร์เฟียโรเมทรี (speckle interferometry) ซึ่งเป็นวิธีการขจัดความมัวที่เกิดจากความพลิ้วไหวของบรรยากาศโลก โดยใช้ภาพที่ถ่ายเป็นเวลาสั้น ๆ หลาย ๆ ภาพมาประมวลผลเข้าด้วยกัน ความมัวที่เกิดจากความพลิ้วไหวของบรรยากาศโลกจึงถูกขจัดออกไป 

ภาพพื้นผิวของไททัน ที่ถ่ายในย่านอินฟราเรดใกล้ ส่วนสีขาวสะท้อนแสงประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ ส่วนสีคล้ำจะมืดสนิท (ภาพจาก Lawrence Livermore National Laboratory)

ภาพพื้นผิวของไททัน ที่ถ่ายในย่านอินฟราเรดใกล้ ส่วนสีขาวสะท้อนแสงประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ ส่วนสีคล้ำจะมืดสนิท (ภาพจาก Lawrence Livermore National Laboratory)

ที่มา: