สมาคมดาราศาสตร์ไทย

กระจุกดาวลูกไก่

กระจุกดาวลูกไก่

29 พฤศจิกายน 2549
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 16 มิถุนายน 2565
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)

ปลายเดือนพฤศจิกายนเป็นช่วงที่ถือได้ว่าสังเกตกระจุกดาวลูกไก่ได้ดีที่สุด เพราะมันอยู่เหนือท้องฟ้าสามารถมองเห็นได้ตั้งแต่เวลาหัวค่ำไปจนถึงเช้ามืด

กระจุกดาวลูกไก่ (Pleiades) หรือเอ็ม 45 (M45) ตามบัญชีวัตถุท้องฟ้าของชาลส์ เมสิเย นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เป็นหนึ่งในวัตถุท้องฟ้าที่คนรู้จักมากที่สุด อยู่ในพื้นที่ของกลุ่มดาววัว ตามเทพปกรณัมกรีกหมายถึงหญิงสาว คน แต่ด้วยตาเปล่าคนส่วนใหญ่มักจะนับได้เพียง ดวง ถ้าใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องดูจะพบว่ากระจุกดาวลูกไก่ประกอบด้วยดาวฤกษ์นับร้อยดวงเกาะเกี่ยวกันไว้ด้วยแรงโน้มถ่วง ภาพถ่ายที่เปิดหน้ากล้องนาน ๆ เผยให้เห็นกลุ่มแก๊สสะท้อนแสงจากดาวฤกษ์ในกระจุกจนเห็นเป็นแถบสีน้ำเงิน

กระจุกดาวลูกไก่ (NASA/ESA/AURA/Caltech)  

กระจุกดาวลูกไก่ กระจุกดาวลูกไก่ ถ่ายจากยานแคสซีนีเมื่อวันที่ สิงหาคม 2549 (NASA/JPL/Space Science Institute)  

กระจุกดาวลูกไก่  (จาก ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์))

บทความที่เกี่ยวข้อง :