สมาคมดาราศาสตร์ไทย

อุปราคาในปี 2548

อุปราคาในปี 2548

3 มกราคม 2548
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 21 มิถุนายน 2565
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
พ.ศ. 2548 มีอุปราคาเกิดขึ้นทั้งหมด ครั้ง เป็นสุริยุปราคาและจันทรุปราคาอย่างละสองครั้ง ประเทศไทยสามารถมองเห็นจันทรุปราคาได้หนึ่งครั้ง รายละเอียดคร่าว ๆ มีดังนี้

อุปราคาในรอบปี 2548
วันที่ ปรากฏการณ์ รายละเอียดโดยย่อ
เมษายน สุริยุปราคาผสม อุปราคาครั้งแรกของปี 2548 เป็นสุริยุปราคาผสม คือ พื้นที่บางส่วนเห็นเป็นสุริยุปราคาเต็มดวง และส่วนที่เหลือเห็นเป็นสุริยุปราคาวงแหวน แนวคราสเต็มดวงและวงแหวน ซึ่งเป็นเส้นทางแคบๆ ลากผ่านผิวโลกส่วนใหญ่อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ที่กึ่งกลางเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงนาน 46.7 วินาที ตอนต้นของแนวคราส (ใกล้กับนิวซีแลนด์) เห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 20 วินาที ส่วนปลายของแนวคราสเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 25 วินาที 
พื้นดินที่อยู่ในแนวคราสวงแหวน คือ ตอนใต้สุดของคอสตาริกา ปานามา และโคลัมเบีย (ตรงกับวันที่ เมษายน ตามเวลาท้องถิ่น) บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วน ได้แก่ นิวซีแลนด์ บางส่วนของแอนตาร์กติกา ตอนใต้ของอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง แคริบเบียน อเมริกาใต้ยกเว้นตอนใต้และตะวันออก
24 เมษายน จันทรุปราคาเงามัว มองเห็นได้ยาก
ตุลาคม สุริยุปราคาวงแหวน แนวคราสวงแหวนเริ่มต้นในตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก ลากผ่านคาบสมุทรไอบีเรีย คือ โปรตุเกสและสเปน (ผ่านกรุงมาดริด) ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แอลจีเรีย ตูนิเซีย ลิเบีย ชาด ซูดาน เคนยา และโซมาเลีย จากนั้นไปสิ้นสุดในมหาสมุทรอินเดีย กึ่งกลางของแนวเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที 32 วินาที บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วน ได้แก่ ตะวันออกของกรีนแลนด์ ไอซ์แลนด์ ยุโรป แอฟริกายกเว้นตอนใต้สุด เอเชียตะวันตก และอินเดีย
17 ตุลาคม จันทรุปราคาบางส่วน มองเห็นได้ในประเทศไทย บางส่วนของแอนตาร์กติกา ออสเตรเลีย ตอนกลางและทางตะวันออกของเอเชีย อเมริกาเหนือยกเว้นด้านตะวันออก และอเมริกากลาง

จันทรุปราคาบางส่วนในวันที่ 17 ตุลาคม 2548 ดวงจันทร์เริ่มแหว่งในเวลาประมาณ 18.34 น. เมื่อเริ่มสัมผัสเงามืด และเข้าไปในเงามืดลึกที่สุดเวลา 19.03 น. ซึ่งจะเห็นดวงจันทร์มีขอบดวงแหว่งไปเพียงเล็กน้อย (หากเทียบกับขอบฟ้าจะอยู่ด้านล่างเยื้องไปทางขวามือ) และสิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วนในเวลา 19.32 น. ดวงจันทร์จะอยู่ไม่สูงจากขอบฟ้ามากนักตลอดปรากฏการณ์ ดัดแปลงจาก Fred Espenak (NASA/GSFC)