สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวเสาร์ใกล้โลก 2546/2547

ดาวเสาร์ใกล้โลก 2546/2547

25 มีนาคม 2547
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 30 มิถุนายน 2565
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
ปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้า ดาวเสาร์จะกลายเป็นดาวที่สว่างที่สุดเป็นลำดับที่ ในท้องฟ้ากลางคืน รองจาก ดาวศุกร์ ดาวพฤหัสบดี ดาวซิรีอัส และดาวคาโนปัส ความจริงเราสามารถมองเห็นดาวเสาร์ได้เกือบตลอดทั้งปี ยกเว้นช่วงที่ดาวเสาร์มีตำแหน่งทิศทางใกล้ดวงอาทิตย์ แต่ดาวเสาร์จะสว่างและมีขนาดใหญ่ที่สุดในช่วงที่อยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เมื่อสังเกตจากโลกเช่นในช่วงเวลานี้

สิ่งที่ทำให้การใกล้โลกของดาวเสาร์ครั้งนี้มีความพิเศษกว่าครั้งอื่นๆ ตรงที่ดาวเสาร์เพิ่งจะผ่านตำแหน่งใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมานี้เอง ทำให้คืนวันที่ 31 ธันวาคม ดาวเสาร์จะใกล้โลกมากกว่าตลอด 29 ปีที่แล้ว และอีกตลอด 29 ปีข้างหน้า คล้ายกับดาวอังคารที่เข้าใกล้โลกมากเป็นพิเศษเมื่อปลายเดือนสิงหาคม (แต่แน่นอนว่าจะเห็นความแตกต่างของขนาด เฉพาะเมื่อดูด้วยกล้องโทรทรรศน์เท่านั้น)

ภาพถ่ายดาวเสาร์ด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเมื่อวันที่ มีนาคม 2546 ในความยาวคลื่นย่านแสงที่ตามองเห็น แสดงให้เห็นลักษณะที่ต่างกันในแต่ละแถบของบรรยากาศ รวมทั้งส่วนต่าง ๆ ของวงแหวน 

ดาวเสาร์มีวงแหวนที่ต่างจากดาวพฤหัสบดี ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ตรงที่วงแหวนของดาวเสาร์มีขนาดใหญ่และสว่าง บางคนบอกว่าความสวยงามของดาวเสาร์เป็นรองแต่เพียงสุริยุปราคาเต็มดวงกับดาวหางดวงสว่างเท่านั้น เนื่องจากระนาบศูนย์สูตรของดาวเสาร์ทำมุมเอียงกับระนาบสุริยวิถี ทำให้ดาวเสาร์ปรากฏมีรูปร่างของวงแหวนต่างกันไปในแต่ละปี เช่น เมื่อปี พ.ศ. 2538 เราแทบจะมองไม่เห็นวงแหวนของดาวเสาร์เลย เนื่องจากแนวระนาบของวงแหวนอยู่ในแนวสายตาพอดี แต่หลังจากนั้นแนวระนาบวงแหวนก็เอียงมากขึ้นเมื่อเทียบกับทิศทางและตำแหน่งของโลกในอวกาศ ทำให้เรามองเห็นวงแหวนของดาวเสาร์มีขนาดกว้างขึ้นในแนวเหนือ-ใต้ และทำให้ดาวเสาร์มีความสว่างโดยรวมเพิ่มขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้กล้องโทรทรรศน์ขนาดประมาณ นิ้วขึ้นไปจะสามารถมองเห็นช่องว่างภายในวงแหวนที่รู้จักกันในชื่อช่องแบ่งคาสซินี (Cassini Division) ซึ่งแบ่งวงแหวนบีที่สว่างออกจากวงแหวนเอที่สลัวกว่าเล็กน้อย และหากท้องฟ้าโปร่ง ทัศนวิสัยดี และเลนส์หรือกระจกของกล้องโทรทรรศน์มีคุณภาพดี ก็มีโอกาสมองเห็นช่องแบ่งเองเคอ (Encke Division) ที่อยู่ภายในวงแหวนเออีกด้วย

นอกจากวงแหวน ตัวดวงของดาวเสาร์เต็มไปด้วยแถบต่างๆ ซึ่งแม้จะเป็นดาวเคราะห์ก๊าซเช่นเดียวกับดาวพฤหัสบดี แต่มีสีสันของบรรยากาศที่ต่างกัน ดาวพฤหัสบดีเต็มไปด้วยแถบสีน้ำตาล ส้ม แดง และสีขาว ส่วนของดาวเสาร์ประกอบด้วยแถบสีขาว สีครีม สีเทา และสีเหลืองทอง โดยปกติบริเวณศูนย์สูตรจะมีแถบกว้างและสว่าง คาดด้วยแถบเมฆศูนย์สูตรที่คล้ำกว่าทั้งเหนือและใต้เส้นศูนย์สูตร นอกจากนี้ยังมีแถบเล็กๆ และจางหลายแถบระหว่างแถบเมฆศูนย์สูตรกับบริเวณขั้ว ที่จำเป็นต้องใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่กว่า นิ้ว จึงจะมองเห็นได้

ดาวเสาร์มีดวงจันทร์ขนาดใหญ่ชื่อว่าไททัน (Titan) ส่องสว่างด้วยโชติมาตร มองเห็นได้ในกล้องโทรทรรศน์ทั่วไป นอกจากนี้ยังมีดวงจันทร์ที่จำเป็นต้องใช้กล้องขนาด นิ้วขึ้นไปส่องดู ได้แก่ เรีย (Rhea) ที่มีโชติมาตร ตามมาด้วยทีเทียส (Tethys) และไดโอนี (Dione) ที่มีโชติมาตร 10