สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวศุกร์พบดาวพฤหัสบดี (พฤศจิกายน 2547)

ดาวศุกร์พบดาวพฤหัสบดี (พฤศจิกายน 2547)

10 มิถุนายน 2547
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 22 มิถุนายน 2565
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
ปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ ดาวเคราะห์ที่สว่างที่สุดในท้องฟ้า ดวง คือ ดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีจะปรากฏใกล้กันมองเห็นได้ในเวลาเช้ามืด วันที่ดาวเคราะห์ทั้งสองใกล้กันที่สุดคือเช้ามืดวันที่ พฤศจิกายน แต่เราสามารถสังเกตเห็นดาวสว่างทั้งสองดวงนี้ได้ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมเป็นต้นไป

ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจนถึง 10 ปีในอนาคต ดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีปรากฏใกล้กันโดยเฉลี่ยปีละครั้ง ครั้งที่ใกล้กันมากที่สุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 ใกล้กันจนเกือบจะบังกัน แต่มองไม่เห็นจากโลกเนื่องจากเป็นจังหวะเวลาที่ดาวเคราะห์ทั้งสองดวงอยู่ในทิศทางใกล้กับดวงอาทิตย์ เมื่อมองจากประเทศไทย ปีนี้ดาวศุกร์กับดาวพฤหัสบดีจะใกล้กันมากที่สุดในเช้ามืดวันที่ พฤศจิกายน ห่างกันเพียง 0.6° สามารถมองเห็นได้พร้อมกันในกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายต่ำ โดยที่ดาวศุกร์สว่างกว่าด้วยโชติมาตร -4.0 ขณะที่ดาวพฤหัสบดีมีโชติมาตร -1.7 นอกจากดาวศุกร์กับดาวพฤหัสบดีแล้ว ดวงจันทร์เสี้ยวจะผ่านมาอยู่ท่ามกลางดาวเคราะห์ทั้งสองดวงในเช้ามืดวันที่ 10 พฤศจิกายน

คนที่ตื่นแต่เช้าในวันศุกร์ที่ พฤศจิกายน อาจประทับใจกับดาว ดวงที่ส่องสว่างเป็นประกายอยู่ในท้องฟ้าตะวันออก นั่นคือดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดี (ในวงกลมเป็นมุมมองจากกล้องนำขนาด 10×70 ของกล้องโทรทรรศน์)