สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวอังคารใกล้โลก 2548

ดาวอังคารใกล้โลก 2548

22 มิถุนายน 2548
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 21 มิถุนายน 2565
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
หากท่านผู้อ่านยังจำได้ ดาวอังคารได้เข้าใกล้โลกมากเป็นพิเศษเมื่อ ปีก่อน ใกล้ที่สุดในรอบเกือบ 60,000 ปี ส่วนในปีนี้ดาวอังคารจะใกล้โลกอีกครั้ง แต่ใกล้กันด้วยระยะห่างมากกว่าครั้งก่อน อย่างไรก็ตาม ดาวอังคารก็ยังมีความสว่างมากและมีขนาดใหญ่กว่าปกติเมื่อดูด้วยกล้องโทรทรรศน์

วันที่ดาวอังคารใกล้โลกมากที่สุด ตรงกับคืนวันที่ 29 ต่อเช้าวันที่ 30 ตุลาคม 2548 ใกล้กันด้วยระยะห่าง 69.4 ล้านกิโลเมตร จากนั้นอีก สัปดาห์ ดาวอังคารจะทำมุม 180 องศากับดวงอาทิตย์ แม้ว่าวันที่ดาวอังคารใกล้โลกที่สุดจะตรงกับวันที่ 30 ตุลาคม แต่หากเทียบขนาดของดาวอังคารในวันนั้นกับกลางเดือนตุลาคมและกลางเดือนพฤศจิก ายน ดาวอังคารมีขนาดไม่ต่างกันมากนักเมื่อดูด้วยกล้องโทรทรรศน์ ดังนั้นวันที่ดูดาวอังคารได้ดีที่สุดจึงไม่ใช่วันที่ดาวอังคารใกล้โลกที่สุด แต่เป็นวันที่ท้องฟ้าปลอดโปร่งแจ่มใส โดยเฉพาะในช่วงระหว่าง 15 วันก่อนและหลังวันที่ใกล้โลกที่สุด

ดาวอังคารปรากฏบนท้องฟ้าทิศตะวันออก เวลา ทุ่ม 

นักดาราศาสตร์ใช้โอกาสนี้ในการสังเกตร่องรอยและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวดาวอังคารด้วยกล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูงพอสมควร กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 นิ้วร่วมกับเลนส์ตาที่มีคุณภาพดีก็เพียงพอสำหรับดูดาวอังคาร นักดาราศาสตร์ที่เฝ้าดูดาวเคราะห์ส่วนใหญ่พอใจกับกล้องโทรทรรศน์หักเหแสงมากกว่าที่จะใช้กล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสง เนื่องจากภาพที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์หักเหแสงซึ่งมีเลนส์เป็นองค์ประกอบหลักจะให้ภาพที่คมชัดกว่าภาพที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสง ขณะเดียวกันกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงแบบนิวตันและแคสซิเกรนก็ได้รับความนิยมรองลงมา

เส้นทางการเคลื่อนที่ของดาวอังคารบนท้องฟ้าในกลุ่มดาวแกะและกลุ่มดาววัว ระหว่างเดือนสิงหาคม 2548 กุมภาพันธ์ 2549 

ในการสังเกตดาวอังคารด้วยกล้องโทรทรรศน์นั้น นักดาราศาสตร์แนะนำว่า ให้เริ่มใช้เลนส์ตาที่มีกำลังขยายต่ำก่อน เพื่อสามารถส่องดูดาวอังคารให้อยู่กลางขอบเขตของภาพ แล้วเปลี่ยนเลนส์ตาให้มีกำลังขยายมากขึ้นจนอยู่ที่ประมาณ 20-25 เท่าของขนาดหน้ากล้องในหน่วยนิ้ว เช่น กล้องโทรทรรศน์ขนาด นิ้ว ให้ใช้กำลังขยายเริ่มต้นที่ประมาณ 60 เท่า เป็นต้น จากนั้นลองเพิ่มกำลังขยายขึ้นไปอีกเรื่อย ๆ จนเริ่มที่จะมองเห็นรายละเอียดบนพื้นผิวของดาวอังคารไม่ชัดเจน จากนั้นลดกำลังขยายลงหนึ่งขั้น เพื่อให้ได้กำลังขยายที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการดูดาวอังคารด้วยกล้องโทรทรรศน์

หลังจากผ่านตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์แล้ว ดาวอังคารจะออกห่างจากโลกมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ยังสามารถมองเห็นได้ในท้องฟ้าเวลากลางคืนต่อไปอีก 11 เดือน ก่อนที่ดาวอังคารจะเข้าไปอยู่ในแสงจ้าของดวงอาทิตย์

ร่องรอยบนดาวอังคาร
สิ่งที่เด่นชัดที่สุดบนพื้นผิวของดาวอังคาร คือ น้ำแข็งที่ปกคลุมบริเวณขั้วเหนือและใต้ ซึ่งปีนี้ดาวอังคารจะหันขั้วใต้เข้าหาโลกในช่วงเวลาที่ใกล้โลกที่สุด แกนหมุนของดาวอังคารทำมุมเอียงประมาณ 25 องศากับระนาบวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวอังคารจึงมีฤดูกาลคล้ายกับโลก และในช่วงเวลานี้ก็เป็นเวลาที่ซีกใต้ของดาวอังคารเข้าสู่ฤดูร้อน น้ำแข็งที่ขั้วใต้จึงกำลังระเหิดและมีขนาดเล็กลง ตรงข้ามกับซีกเหนือที่อยู่ในฤดูหนาว ปัจจุบันขั้วเหนือของดาวอังคารมีน้ำแข็งปกคลุมมากกว่าแต่มองไม่เห็นหรือเห็นเพียงเล็กน้อย เนื่องจากขั้วเหนือกำลังหันออกไปในทิศตรงข้าม

เมื่อน้ำแข็งขั้วใต้เปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ส ดาวอังคารจะมีเมฆหมอกและพายุปกคลุมเพิ่มมากขึ้น ที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์มักพบว่ามีเมฆสีขาวของผลึกน้ำแข็งเกิดขึ้นบนส่วนที่เป็นภูเขาสูงของดาวอังคาร ปรากฏการณ์ทางอุตุนิยมวิทยาที่สำคัญคือพายุฝุ่น ไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าพายุจะเกิดขึ้นเมื่อใด และไม่สามารถพยากรณ์ได้ล่วงหน้า แต่เราจะเห็นพื้นผิวดาวอังคารได้ยากขึ้น หากเกิดพายุฝุ่นอย่างที่เกิดในปี พ.ศ. 2544 เมื่อการใกล้โลกของดาวอังคารที่เกิดขึ้นในปีนี้ผ่านพ้นไป ดาวอังคารจะไม่ใกล้โลกเท่านี้อีกจนกว่าจนถึงปี พ.ศ. 2561

ดาวอังคารใกล้โลกมากที่สุดทุก ๆ ประมาณ ปีเศษ นักดาราศาสตร์อาศัยช่วงเวลานี้ในการศึกษาดาวอังคาร ดาวเคราะห์ดวงเดียวที่มองเห็นพื้นดินได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์บนพื้นโลก วงโคจรที่มีความรีค่อนข้างมาก ทำให้แต่ละคราวที่ดาวอังคารเข้าใกล้โลก มีระยะห่างจากโลกไม่เท่ากัน หากเป็นจังหวะที่ดาวอังคารอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุด ดาวอังคารจะส่องสว่างที่โชติมาตร 1.0 แต่เมื่ออยู่ในเวลาที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ดาวอังคารสามารถส่องสว่างสูงสุดได้ถึงโชติมาตร -2.9 ซึ่งสว่างกว่าดาวพฤหัสบดีเสียอีก ภาพนี้เป็นตำแหน่งโลกและดาวอังคารขณะดาวอังคารอยู่ตรงข้ามดวงอาทิตย์ระหว่าง พ.ศ. 2538-2553 แสดงขนาดปรากฏเปรียบเทียบกันในการเข้าใกล้โลกแต่ละครั้ง (ภาพถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล)