สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาราศาสตร์สัญจร Stars Party “แอ่วเมืองน่าน”

อุทยานแห่งชาติศรีน่าน จ.น่าน


ดาราศาสตร์สัญจร Stars Party “แอ่วเมืองน่าน”
“ดูดาวพร่างพราว  ณ ผาชู้”
วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน วันอาทิตย์ที่ ธันวาคม 2567 (แรม 15 ค่ำ เดือน 12)
ณ จุดชมวิวผาชู้ อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ต.ศรีษะเกษ อ.นาน้อย จ.น่าน

นายกวี  สุขะตุงคะ  กรรมการบริหารสมาคมดาราศาสตร์ไทย ตำแหน่งปฏิคม  สวัสดีครับท่านสมาชิกและผู้สนใจ  สมาคมดาราศาสตร์ไทยได้ห่างหายการจัดสัญจรไปนาน  ตั้งแต่ช่วงสถานการณ์โควิด   ช่วงเวลาที่เรากำหนดนี้เข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว  สมาคมฯได้ปักหมุดตำแหน่งการดูดาวที่ผาชู้  อุทยานแห่งชาติศรีน่าน  อุทยานฯ มีจะเข้าพัก ที่คือดอยเสมอดาว  และผาชู้  ดอยเสมอดาวจริงอยู่ว่าเราสามารถดูท้องฟ้าได้เกือบรอบทิศ  แต่มีผู้คนจำนวนมากมากางเต็นท์นอน  แต่ผาชู้ค่อนข้างมีความเป็นส่วนตัวมาก  มีที่จอดรถ  ห้องน้ำ  ที่รับประทานอาหาร อยู่ในบริเวณเดียวกัน  และค่อนข้างเป็นเอกเทศ  สมาคมดาราศาสตร์ไทยจึงขอเชิญชวนสมาชิกและผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมดาราศาสตร์สัญจรตามวันและเวลาดังกล่าว


ประวัติของผาชู้

ตามตำนานที่เล่ากันมาเกี่ยวกับผาชู้กล่าวว่า เจ้าเอื้องผึ้งซึ่งเป็นคู่รักกับเจ้าจันทน์ผา จำใจต้องแต่งงานกับเจ้าจ๋วง เจ้าเอื้องผึ้งเสียใจที่ไม่ได้แต่งงานกับคนที่ตัวเองรัก จึงตัดสินใจฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดจากหน้าผา  เจ้าจันทน์ผาตามมาพบว่าเจ้าเอื้องผึ้งได้กระโดดหน้าผาไปแล้ว จึงกระโดดหน้าผาฆ่าตัวตายตามคนรักตกไปอยู่ใกล้กัน และเจ้าจ๋วงได้เห็นหญิงที่ตนรักกระโดดหน้าผาไป จึงรู้สึกเสียใจและตัดสินใจกระโดดหน้าผาตามลงไปด้วยแต่กระเด็นห่างออกไป ด้วยความรักแท้ระหว่างเจ้าเอื้องผึ้งและเจ้าจันทน์ผา ในชาติต่อมาเจ้าเอื้องผึ้งจึงเกิดเป็นดอกกล้วยไม้เกาะอยู่ใต้ต้นจันทน์ผา และเจ้าจ๋วงก็เกิดเป็นต้นสน ณ จุดที่ตกไปนั้นเอง (“จ๋วง” เป็นภาษาเหนือแปลว่าต้นสน “เอื้องผึ้ง” แปลว่ากล้วยไม้) หน้าผาแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า “ผาชู้” เป็นต้นมา  

ขอขอบพระคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ของอุทยานแห่งชาติ https://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=3234

จุดชมวิวผาชู้  เป็นอีกจุดหนึ่งดีที่สุดอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย  เป็นสถานที่ท่องเที่ยว พักผ่อนเหมาะแก่การดูดาว ถ่ายภาพดาว อากาศเย็นสบายเห็นดาวเป็นจำนวนมาก  ตอนเช้าเห็นทะเลหมอกและยังได้เห็นแสงจักรราศี (Zodiacal Light) ได้อีกด้วย

สมาคมดาราศาสตร์ไทย ขอเชิญชวนท่านสมาชิกสมาคมฯ และผู้สนใจร่วมเดินทางไปท่องเที่ยวดาราศาสตร์สัญจร Star Party “แอ่วเมืองน่าน” สักการะพระบรมธาตุแช่แห้ง กินลมชมวิวรับลมหนาว  นอนดูดาว  ดาวพฤหัสบดี  ดาวเสาร์  
“ล่าทางช้างเผือก  หาหมู่ดาว ณ ผาชู้” วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน วันอาทิตย์ที่ ธันวาคม 2567 (แรม 15 ค่ำ เดือน 12) 

สมาคมฯ พาไปท่องเที่ยวไหว้พระตามวัดในตัวเมืองน่านเช่น วัดพระบรมธาตุแช่แห้ง (เป็นพระธาตุประจำปีเกิดนักษัตรของคนที่เกิดปีเถาะ) “ปีกระต่าย” จะพาท่านไปที่อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ต.ศรีษะเกษ อ.นาน้อย จ.น่าน  ลงทะเบียนเข้าชม เก็บสัมภาระเข้าที่พักเต็นท์ของอุทยานฯ พักผ่อนตามอัธยาศัย เดินเที่ยวชม “ผาชู้” อยู่ใกล้ที่ทำการซึ่งมีเสาธงชาติไทยอยู่บนยอดเขาผาชู้ จึงมีที่มา “สายธงชาติไทยที่ยาวที่สุดในประเทศไทย” 

กำหนดการเดินทาง

วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2567 (วันแรก)
20:00 น. –  ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมที่สมาคมดาราศาสตร์ไทย  (มีอาหารว่างให้ทุกท่านก่อนออกเดินทาง)  
21:00 น. ออกเดินทางด้วยรถตู้ปรับอากาศ VIP จากสมาคมดาราศาสตร์ไทย สู่จังหวัดน่าน
วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567  (แรม 15 ค่ำเดือน 12)  กิจกรรมวันที่ 2
07:00 น. ถึงจังหวัดน่าน แวะในตัวเมืองน่านทานอาหารเช้า ทำธุระส่วนตัวและพักผ่อนตามอัธยาศัย
08:00 น. – ออกเดินทางไปสักการะพระบรมธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง บ้านหนองเต่า ต.ม่วงตึ๊ด อ.ภูเพียง จ.น่าน
08:30 น. ถึงวัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง สักการะพระบรมธาตุแช่แห้งเป็นพระธาตุประจำปีเกิดนักษัตรของคนที่เกิดปีเถาะ (ปีกระต่าย) เป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาวน่าน องค์พระธาตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุพระพุทธเจ้า ได้มาจากกรุงสุโขทัย
09:30 น. – ออกเดินทางไปทานอาหารกลางวัน ร้านอาหารคำผิว อ.เวียงผา พักผ่อนตามอัธยาศัย
11:30 น. – ออกเดินทางไป ณ อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ต.ศรีษะเกษ อ.นาน้อย จ.น่าน
14:00 น. ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ลงทะเบียนเข้าชม เดินชมผาชู้ ที่มีสายธงชาติที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ชมวิวรอบๆ ที่ทำการอุทยานฯ จัดเก็บสัมภาระเข้าที่พักเต็นท์ของอุทยานให้เรียบร้อย พักผ่อนตามอัธยาศัย
15:00 น. – พร้อมกันที่ลานดูดาวใกล้ที่พักเตรียมอุปกรณ์ใช้การดูดาว เริ่มกิจกรรมการบรรยาย การดูดาวเบี้องต้น การขึ้นและตกของดวงดาว รู้จักทรงกลมท้องฟ้า การหาวิธีวัดมุมดาว การใช้แผนที่ฟ้าอย่างถูกวิธี การใช้กล้องโทรทรรศน์ กล้องสองตา (กล้องส่องทางไกล) ดูวัตถุท้องฟ้า สังเกตลักษณะกลุ่มดาวต่างๆ ที่สำคัญและกลุ่มดาวจักรราศี สังเกตลักษณะของทางช้างเผือก และเทคนิคการถ่ายภาพดาว และทางช้างเผือก
17:00 น. รับประทานอาหารเย็น พักผ่อนตามอัธยาศัย และเตรียมเครื่องนุ่มห่มกันหนาว ผ้าห่มหรือถุงนอน (ถ้ามี) อุปกรณ์เอกสารแผนที่ฟ้าและไฟฉายแดงเพื่อสำรวจท้องฟ้าจริง
18:00 น. – พร้อมกันมาสำรวจท้องฟ้าจริง สังเกตกลุ่มดาวว่าคืนนี้มีกลุ่มดาวอะไรบ้าง ดูได้จากแผนที่ฟ้า ลองวัดมุมดาว ดูดาวเคราะห์ ดวงที่เห็น ดาวเสาร์พร้อมวงแหวนที่สวยงาม, ดาวพฤหัสบดี และดาวอังคาร วัตถุท้องฟ้าเช่น M31 ดาราจักรแอนดรอมิดา ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าที่สถานที่นี้, M1 เป็นซุปเปอร์โนวา, M42 เนบิวลาโอไรออน ก็สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเหมือนกัน, ผ่านกล้องโทรทรรศน์ ที่จัดเตรียมไปไว้ให้ชม
20:30 น. รับประทานอาหารว่าง กาแฟ, โอวัลติน ร้อนๆ ขนมปังคลายความหนาวกัน
21:00 น. ถึง 02:00 น. (ของวันอาทิตย์ที่ ธันวาคม)  พักผ่อนตามอัธยาศัย หรือท่านใดที่ยังไม่ง่วงอยากดูดาวต่อหรือจะถ่ายภาพดาวตามอัธยาศัยเลยครับ มีวิทยากรคอยแนะนำทั้งคืน
วันอาทิตย์ที่ ธันวาคม 2567 (วันที่ 3)
04:30 น. ตื่นมาดูกลุ่มดาวตอนเช้าที่ขึ้นมาใหม่ก่อนที่แสงรุ่งอรุณสีทองจะมา ชมทางช้างเผือกที่เปลี่ยนตำแหน่งไปตามการหมุนของโลก เช้ามืดยังเห็นดาวอังคารอยู่ดวงเดียว ตามล่าหาดาวเทียมกันจะมองเห็นได้ดีตอนเช้า และช่วงก่อนที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นมาสังเกตดูแสงจักรราศี (Zodiacal Light) ก่อนที่แสงรุ่งอรุณของดวงอาทิตย์ขึ้นขอบฟ้า รับลมไอเย็นบนสันเขา รอชมดวงอาทิตย์ขึ้นดวงโตพร้อมกับชมทะเลหมอก ถ่ายภาพเป็นที่ระลึก พักผ่อนตามอัธยาศัย เตรียมเก็บสัมภาระส่วนตัวให้เรียบร้อย
08:00 น. รับทานอาหาเช้าพร้อมกันพักผ่อนตามอัธยาศัยเตรียมตัวออกเดินทางออกจากอุทยานฯ
09:00 น. – ออกเดินทางจากอุทยานฯ เดินทางกลับกรุงเทพฯ  แวะซื้อของฝาก
11:00 น. แวะรับประทานอาหารกลางวัน  พักผ่อนตามอัธยาศัย
12:30 น. ออกเดินทางกลับสู่กรุงเทพฯ
21:00 น. – ถึงกรุงเทพฯ ที่สมาคมดาราศาสตร์ไทย โดยสวัสดิภาพ  
หมดเขตรับสมัครลงทะเบียนวันศุกร์ที่ พฤศจิกายน 2567 (รับจำนวนจำกัด 24 ท่าน)  

อัตราค่าลงทะเบียนร่วมกิจกรรมสัญจรครั้งนี้
ประเภทที่พักเต็นท์นอนของอุทยานฯอัตราค่าสมัครต่อท่าน(บาท)บุคคลทั่วไปอัตราค่าสมัครต่อท่าน(บาท)สำหรับสมาชิกฯ
เต็นท์นอน ท่านพร้อมเครื่องนอน ที่รองนอน หมอน ถุงนอน ชุด6,950.-  บาท6,450.- บาท
เต็นท์นอน ท่านพร้อมเครื่องนอน ที่รองนอน หมอน ถุงนอน ชุด7,145.-  บาท6,645.-  บาท
สมัครมาเป็นกลุ่ม คนขึ้นไปมีส่วนลด100.-  บาท
 ค่าลงทะเบียนร่วมกิจกรรมตามรายการข้างต้น มีค่าใช้จ่ายดังนี้
1. ค่าเดินทางด้วยรถตู้ปรับอากาศ VIP  2. ค่าอาหารรวม มื้อ  3. ค่าที่พักเต็นท์นอนอุทยานฯ
4. ค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานฯ  5. ค่าแผนที่ฟ้า ไฟฉายแดง และเอกสารของกิจกรรม                        

สิ่งที่ต้องเตรียมนำติดตัวไป
1.ของใช้ส่วนตัวจำเป็น    2. เสื้อกันหนาว    3. หมวกกันน้ำค้าง    4. ไฟฉายสำหรับส่องทาง               5. ยารักษาโรคจำเป็นติดตัวไปด้วย  6. ยากันยุงชนิดทาหรือชนิดสเปรย์ 7. ร่มพับได้หรือหมวกติดไปด้วยเพราะกลางวันอากาศร้อนตอนเดินทางท่องเที่ยว

หมายเหตุ  1. กำหนดการดังกล่าวข้างต้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมตามเวลาเดินทางและสภาพอากาศของประเทศไทย 
                  2. ถ้าสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมไม่ถึงจำนวน ท่าน ทางสมาคมฯ ขอสงวนสิทธิขอแจ้งยกเลิกจัดกิจกรรมครั้งนี้ (สมาคมฯ จะคืนเงินค่าลงทะเบียนให้กับสมาชิกทุกท่าน)
                  3. ในกรณีที่ท่านสมัครลงทะเบียนกิจกรรมสัญจรที่ชำระเงินแล้ว จะขอยกเลิกเดินทาง โปรดแจ้งต่อเจ้าหน้าที่สมาคมฯ ดังนี้
                       3.1. กรุณาแจ้งภายในวันพุธที่ พฤศจิกายน 2567 คืนเงินค่าลงทะเบียนให้ทั้งหมด 
                       3.2. แจ้งภายในวันพฤหัสบดีที่ พฤศจิกายน 2567 สมาคมฯ ขอสงวนสิทธิเก็บค่าใช้จ่าย 50%ของค่าลงทะเบียน
                       3.3. ถ้าแจ้งภายหลังจากวันศุกร์ที่ พฤศจิกายน 2567 สมาคมฯ ขอสงวนสิทธิเก็บค่าใช้จ่ายเต็มจำนวนของค่าลงทะเบียนทั้งหมด
                  4. ถ้ากรณีผู้สมัครลงทะเบียนและชำระเงินแล้วไม่สามารถเดินทางไปได้ สามารถส่งตัวแทนมาร่วมกิจกรรมได้ โปรดแจ้งชื่อตัวแทนมายังเจ้าหน้าที่สมาคมฯ ให้ทราบก่อนวันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2567  ถือว่าท่านสละสิทธิ์
                  5. เพื่อมาตรการความปลอดภัยในการเดินทางสัญจรครั้งนี้ ต้องส่งผลตรวจ ATK ก่อนลงทะเบียนทุกท่าน 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สมาคมดาราศาสตร์ไทย  เลขที่ 928 อาคาร ชั้น ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 
โทร. 02-381-7409, 02-381-7410 โทรสาร 02-381-7410 หรือมือถือ 086 889 1672
คุณสุกัญญา  พึ่งผลงาม เจ้าหน้าที่สมาคมฯ หรือที่ E-mail thaiastro@hotmail.com
เว็บไซต์ http://thaiastro.nectec.or.th  
Facebook สมาคมดาราศาสตร์ไทย  https://www.facebook.com/ThaiAstronomicalSociety
และ https://www.facebook.com/groups/thaiastro/