จดหมายเหตุดาราศาสตร์
140 ปี ก่อนคริสตกาล ทอเลมี นักดาราศาสตร์ชาวกรีก เขียนคัมภีร์อัลมาเจสต์ (Almagest)
ค.ศ.635 ชาวจีนพบว่า หางของดาวหางจะชี้ไปทางตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เสมอ
ค.ศ.675 นาฬิกาแดดเรือนแรกของอังกฤษสร้างขึ้นในนิวคาสเซิล
ศตวรรษ
ในปี ค.ศ.1543 นิโคลัส โคเปอร์นิคัส ชาวโปแลนด์ ได้ปฏิวัติความเชื่อดั้งเดิมของมนุษย์ในเรื่องของจักรวาล เขากล่าวว่าดวงอาทิตย์ต่างหากคือศูนย์กลางของจักรวาล ไม่ใช่โลก
ศตวรรษ
ในทศวรรษ 1600 จิโอวานนี คาสซีนี นักสำรวจชาวฝรั่งเศสเชื้อสายอิตาลี เป็นผู้ที่พบสัณฐานที่แท้จริงของระบบสุริยะ นอกจากนี้ยังพบดวงจันทร์บริวารของดาวเสาร์ 4 ดวงและช่องว่างระหว่างวงแหวนของดาวเสาร์อีกด้วย
ต้นทศวรรษ1600 กาลิเลโอ กาลิเลอี ใด้ใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องมองท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เขาได้พบเครเตอร์บนดวงจันทร์ ดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสบดี และข้างขึ้น-ข้างแรมของดาวศุกร์
ช่วงต้นทศวรรษ1600 โยฮันเนส เคปเลอร์ นักทฤษฎีชาวเยอรมันได้บัญญัติกฎขึ้นมาสามข้อ ซึ่งอธิบายถึงการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ กฎนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ กฎของเคปเลอร์
ในศตวรรษที่17 เซอร์ไอแซก นิวตัน ได้คิดค้นกฎการเคลื่อนที่และความโน้มถ่วง นอกจากนี้ เขายังได้ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงขึ้น ใช้งานเป็นอันแรกของโลกอีกด้วย
ศตวรรษ
ในทศวรรษ 1780 นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเชื้อสายเยอรมัน วิลเลียม เฮอร์เชล ได้ค้นพบดาวยูเรนัสพร้อมทั้งดวงจันทร์ ทิเทเนีย กับ โอเบอรอน และดวงจันทร์ของดาวเสาร์อีกสองดวงคือ ไมมาส และ เอนเซลาดุส นอกจากนี้เขายังค้นพบดาวคู่อีกกว่า 800 ดวง และพบว่าดาวเหล่านั้นส่วนใหญ่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง ซึ่งเป็นการพบผลของกฎแรงโน้มถ่วงของนิวตันนอกระบบสุริยะเป็นครั้งแรก
ระหว่างปลายศตวรรษที่18 ถึงต้นศตวรรษที่ 19 ปีแยร์ ซีมง ลาปลาซ นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ได้ตั้งสมมติฐานเนบิวลา (nebula hypothesis) ซึ่งกล่าวว่าดาวเคราะห์ต่าง ๆ ในระบบสุริยะเกิดจากการควบแน่นของเนบิวลา แนวคิดนี้เป็นที่ยอมรับอยู่จนถึงปัจจุบัน
ศตวรรษ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ พระมหากษัตริย์ไทย ได้ทรงคำนวณและพยากรณ์ว่าจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411 โดยพระองค์ทรงสามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ถึง 2 ปี
ในทศวรรษ1930 นักทฤษฎีชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดีย สุบรามาเนียน จันทราเสการ์ ได้อธิบายโครงสร้างของดาวแคระขาวและได้สรุปว่าดาวแคระขาวจะมีมวลไม่เกิน 1.4 เท่าของดวงอาทิตย์
ศตวรรษ
ในต้นทศวรรษ 1900 เอจนาร์ เฮิร์ตปรุง และ เฮนรี รัสเซล ได้ค้นพบในสิ่งเดียวกันโดยบังเอิญ นั่นคือความสัมพันธ์ระหว่างสีและความสว่างของดวงดาว
ในต้นศตวรรษที่20 วอลเตอร์ แอดัมส์ พบว่าแสงสเปกตรัมที่ได้ตรวจพบจากจุดใกล้ ๆ ดาวซีริอัสนั้นเป็นดาวแคระขาวซึ่งเป็นดาวสหายของดาวซิริอุสเอง
ในช่วงตศตวรรษที่20 นี้ นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ อาร์เทอร์ เอ็ดดิงตัน ได้คิดทฤษฎีเกี่ยวกับสภาพภายในดาวฤกษ์ได้สรุปว่า ดาวที่มีมวลมากกว่าจะมีความสว่างมากกว่า
ในต้นทศวรรษ1900 แอนนี จัมป์ แคนนอน ได้คิดวิธีแยกแยะสเปกตรัมของดาวฤกษ์ได้ ซึ่งแนวทางนี้ยังคงใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน แต่ดัดแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ในปี1910 แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้คิดค้นทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ซึ่งเป็นทฤษฎีสำหรับอธิบายโครงสร้างและวิวัฒนาการของเอกภพที่ดีที่สุดจนถึงบัดนี้
ในทศวรรษที่1910 ฮาร์โลว แชปลีย์ ชาวอเมริกัน ได้ศึกษาการกระจายตัวของกระจุกดาวทรงกลมในกาแล็กซีทางช้างเผือก ซึ่งทำให้ได้ทราบขนาดของทางช้างเผือก รวมทั้งทราบตำแหน่งของโลกด้วยว่าโลกอยู่ห่างจากใจกลางของกาแล็กซีออกมาระยะหนึ่ง
ในทศวรรษ1910 เฮนริเอ็ตตา ลีวิตต์ ได้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างคาบและกำลังส่องสว่างของดาวแปรแสงเซฟีดโดยอาศัยการสำรวจกาแล็กซีเมฆแมกเจนเลนใหญ่ การค้นพบครั้งนี้เป็นก้าวกระโดดครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในวงการเอกภพวิทยา
ในทศวรรษ1920 ชาวอเมริกันชื่อ เซชีเลีย ไพน์-กาพอชคิน ได้พบความสัมพันธ์ระหว่างสเปกตรัมกับอุณหภูมิของดาวฤกษ์ และได้เขียนโครงสร้างของบรรยากาศของดาวฤกษ์อีกด้วย
ต้นทศวรรษ1920 ออตโท ชตรูเฟอ ได้ศึกษาวิวัฒนาการของดาวคู่และองค์ประกอบภายในของดาวฤกษ์
ในทศวรรษ1940 วอลเทอร์ บาเดอ ชาวอเมริกันเชื้อสายเยอรมัน ได้พบว่าดาวฤกษ์บริเวณแขนของกาแล็กซีอันโดรเมดาเป็นดาวใหม่ อายุน้อย ส่วนดาวฤกษ์บริเวณใจกลางเป็นดาวฤกษ์อายุมาก นอกจากนี้เขายังปรับค่ามาตรฐานของระยะทางของดาวแปรแสงเซฟิดส์ใหม่อีกด้วย
ในกลางศตวรรษที่20 ฟริตช์ ซวิกกี นักดาราศาสตร์ชาวสวิส ได้ศึกษากระจุกกาแล็กซีและยืนยันว่ามีสสารมืดอยู่จริง นอกจากนี้ยังได้ศึกษาซูเปอร์โนวาและคาดการณ์ว่าซูเปอร์โนวาอาจทำให้เกิดดาวนิวตรอนได้
ในศตวรรษที่20 ยาน ออร์ต นักดาราศาสตร์ชาวดัตช์ ได้ทำแผนที่โครงสร้างของกาแล็กซีทางช้างเผือก และวัดขนาดของทางช้างเผือกได้อย่างแม่นยำ เขายังเป็นผู้ที่เสนอความคิดว่า ดาวหางมีแหล่งกำเนิดมาจากกลุ่มเมฆขนาดใหญ่ที่อยู่รอบนอกของระบบสุริยะ
ช่วงกลางศตวรรษที่20 นี้ เจอราร์ด ไคเปอร์ ได้ค้นพบดวงจันทร์มิแรนดาของดาวยูเรนัส ดวงจันทร์เนรีดของดาวเนปจูน และการค้นพบที่สะท้านโลกที่สุดก็คือ ค้นพบบรรยากาศบนดวงจันทร์ไตตันของดาวเสาร์
ในศตวรรษที่20 ฮิปปาคัส นักดาราศาสตร์ชาวกรีกได้คิดค้นมาตรวัดแมกนิจูด ได้ทำการเรียบเรียงแคตาล็อกดาวอย่างละเอียดเป็นครั้งแรก ค้นพบการเลื่อนไปข้างหน้า (precession) ของวิษุวัต (equinox) และยังได้วัดระยะห่างของดวงจันทร์ได้อย่างแม่นยำอีกด้วย
ในทศวรรษ1920 เอ็ดวิน ฮับเบิล นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันได้ค้นพบดาวแปรแสงเซฟีดในกาแล็กซีอันโดรเมดา เขาพบว่ากาแล็กซีนี้เป็นอาณาจักรของดาวที่แยกออกไปต่างหากจากกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา และยังพบว่ากาแล็กซีต่าง ๆ ที่อยู่ไกล ๆ กำลังถอยห่างออกจากเราไป ซึ่งหมายความว่าเอกภพกำลังขยายตัวขึ้น
ในช่วงหัวต่อของศตวรรษที่20 นี้ จอร์จ เอเลอรี เฮล ได้ประดิษฐ์เครื่องมือสำหรับสำรวจดวงอาทิตย์ ทำให้ได้พบสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ แต่สิ่งที่ทำให้เฮลเป็นที่รู้จักกันทั่วก็คือ การเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการสร้างหอสังเกตการณ์ยักษ์สองแห่งคือ เยิกส์ และพาโลมาร์
ค.ศ.
ค.ศ.
ศตวรรษ 16
ในปี ศตวรรษ 17
ในทศวรรษ ต้นทศวรรษ
ช่วงต้นทศวรรษ
ในศตวรรษที่
ศตวรรษ 18
ในทศวรรษ ระหว่างปลายศตวรรษที่
ศตวรรษ 19
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ในทศวรรษ
ศตวรรษ 20
ในต้นทศวรรษ ในต้นศตวรรษที่
ในช่วงตศตวรรษที่
ในต้นทศวรรษ
ในปี
ในทศวรรษที่
ในทศวรรษ
ในทศวรรษ
ต้นทศวรรษ
ในทศวรรษ
ในกลางศตวรรษที่
ในศตวรรษที่
ช่วงกลางศตวรรษที่
ในศตวรรษที่
ในทศวรรษ
ในช่วงหัวต่อของศตวรรษที่