ดาวเคราะห์ชุมนุม
ดาวเคราะห์ชุมนุม (planetary grouping) เป็นปรากฏการณ์ที่เราเห็นดาวเคราะห์ตั้งแต่ 3 ดวงขึ้นไป มาอยู่ใกล้กันบนท้องฟ้าเมื่อสังเกตจากพื้นโลก วันที่ 8 สิงหาคม 2553 เกิดปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุมขึ้น โดยมีดาวศุกร์ ดาวอังคาร และดาวเสาร์ มาเกาะกลุ่มอยู่ใกล้กันภายในระยะ 5° เหนือท้องฟ้าทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำ
เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นดาวเคราะห์เพียง3 ดวงมาอยู่ใกล้กันบนท้องฟ้าเช่นนี้เรียกว่า planetary trio หากมองจากอวกาศแล้วลากเส้นผ่านโลกกับดาวเคราะห์อีก 3 ดวง จะพบว่าดาวเคราะห์ทั้ง 4 ดวง เกือบอยู่แนวเดียวกัน นอกจากนั้น เรายังจะเห็นดวงจันทร์ผ่านมาอยู่ใกล้ ๆ ดาวเคราะห์ทั้ง 3 ดวง ในค่ำวันที่ 12 และ 13 สิงหาคม 2553
ในอดีตมีปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุมหลายครั้งส่วนใหญ่จะได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษก็ต่อเมื่อดาวเคราะห์ที่เห็นได้ด้วยตาเปล่าทั้ง 5 ดวง มาปรากฏใกล้กันบนท้องฟ้า ซึ่งอาจรวมหรือไม่รวมถึงเหตุการณ์ที่มีดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วยก็ได้
ตามสภาพความเป็นจริงแล้ว ลำพังโอกาสที่ดาวเคราะห์ 3 ดวง จะมาเรียงอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันแบบพอดิบพอดีโดยไม่เบี่ยงเบนออกไปจากแนวเส้นตรงที่เชื่อมกันเลยนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้หรือเกิดขึ้นนาน ๆ ครั้ง ยิ่งรวมดาวเคราะห์ทุกดวงเข้าไปก็ยิ่งไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลย
อย่างไรก็ตามเราพบว่าโดยทั่วไป ผู้คนอาจเรียกปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุมว่าเป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์ดาวเคราะห์มาเรียงอยู่ในแนวเดียวกัน (planetary alignment) นอกจากนี้ คำว่า “ดาวเคราะห์เรียงตัว” ก็อาจใช้กับกรณีที่ดาวเคราะห์หลายดวงปรากฏบนท้องฟ้าในเวลาเดียวกัน ไม่คำนึงว่ามันทำมุมห่างกันกี่องศา เพียงแต่สามารถมองเห็นมันได้พร้อมกันบนท้องฟ้าก็เป็นอันใช้ได้
ดาวเคราะห์ชุมนุมจำนวน
โดยปกติดาวเคราะห์ชุมนุมจะใช้กับดาวเคราะห์ที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า อาจแบ่งดาวเคราะห์ชุมนุมออกเป็น 3 กรณี คือประกอบด้วยดาวเคราะห์ 3, 4 และ 5 ดวง (3 = planetary trio, 4 = planetary quadruplet, 5 = planetary quintuplet) ดาวเคราะห์ชุมนุม 3 ดวง เกิดขึ้นบ่อยที่สุด
ถ้าเรากำหนดให้มุม5° คือขีดจำกัดของการชุมนุมกันระหว่างดาวเคราะห์ 3 ดวง (คู่ที่อยู่ห่างกันที่สุดใน 3 ดวงนี้ ห่างกันบนท้องฟ้าไม่เกิน 5°) ช่วง ค.ศ. 1980 – 2050 มีดาวเคราะห์ชุมนุมแบบ 3 ดวง เกิดขึ้น 41 ครั้ง ปีนี้จะเกิดในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ระหว่างดาวศุกร์ ดาวอังคาร และดาวเสาร์ ปีหน้าจะเกิดขึ้น 2 ครั้ง คือวันที่ 11 และ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ดาวเคราะห์ชุมนุม 3 ดวงในช่วง ค.ศ. 2000 - 2030 แสดงในตาราง (อักษรย่อ พ = ดาวพุธ, ศ = ดาวศุกร์, อ = ดาวอังคาร, พฤ = ดาวพฤหัสบดี, ส = ดาวเสาร์ มุมห่างในคอลัมน์ขวามือสุดเป็นของดาวเคราะห์ดวงที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในขณะนั้น)
ถ้าเรากำหนดให้มุม5° เป็นขีดจำกัดของการชุมนุมกันระหว่างดาวเคราะห์ 4 ดวง ช่วง ค.ศ. 1 ถึง ค.ศ. 3500 มีดาวเคราะห์ชุมนุมแบบ 4 ดวง เกิดขึ้น 40 ครั้ง ครั้งถัดไปวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2100 ระหว่างดาวพุธ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ แต่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากจนไม่สามารถสังเกตได้ ดาวเคราะห์ชุมนุม 4 ดวงในช่วง ค.ศ. 1600 - 2500 แสดงในตาราง
เหตุการณ์ที่ดาวเคราะห์สว่างเห็นได้ด้วยตาเปล่าทั้ง5 ดวง มาชุมนุมกันภายในระยะ 10° เกิดขึ้นยากมาก ครั้งถัดไปจะเกิดขึ้นในวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 2040 ค่ำวันเดียวกันนั้นประเทศไทยจะเห็นดวงจันทร์เสี้ยวอยู่ท่ามกลางดาวเคราะห์ทั้ง 5 ดวงอีกด้วย ดาวเคราะห์สว่าง 5 ดวง มาชุมนุมกันภายในระยะ 10° นับตั้งแต่ ค.ศ. 1 ถึง ค.ศ. 5000 มี 5 ครั้ง แสดงในตาราง
ดาวเคราะห์ชุมนุม
วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 เกิดปรากฏการณ์ที่ดาวเคราะห์ซึ่งเห็นได้ด้วยตาเปล่าทั้ง 5 ดวง รวมทั้งดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ มาอยู่ใกล้กันภายในระยะ 25° 56′ แต่ถูกแสงอาทิตย์กลบ ไม่สามารถสังเกตได้จากโลก ครั้งนั้นมีผู้คาดว่าแรงจากดาวเคราะห์ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ จะทำให้โลกประสบภัยพิบัติ แต่ก็ไม่ได้เกิดเหตุการณ์รุนแรงอย่างที่ลือกัน
เหตุการณ์ที่ดวงอาทิตย์ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์สว่างเห็นได้ด้วยตาเปล่า 5 ดวง มาชุมนุมกันภายในระยะ 30° นับตั้งแต่ ค.ศ. 1600 ถึง ค.ศ. 2500 มี 9 ครั้ง แสดงในตาราง
เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นดาวเคราะห์เพียง
ในอดีตมีปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุมหลายครั้ง
ดาวเคราะห์ชุมนุมกับดาวเคราะห์เรียงอยู่ในแนวเดียวกัน
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะต่างมีวงโคจรเป็นของตัวเองและมีระนาบวงโคจรอยู่คนละระนาบอย่างไรก็ตาม
ดาวเคราะห์ชุมนุมจำนวน 3, 4 และ 5 ดวง
โดยปกติดาวเคราะห์ชุมนุมจะใช้กับดาวเคราะห์ที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ถ้าเรากำหนดให้มุม
วัน | เวลาสากล | ดาวเคราะห์ | มุมห่างระหว่างกัน | มุมห่างจากดวงอาทิตย์ |
---|---|---|---|---|
15 | 20 | อ-พฤ-ส | 4° | 17° |
9 | 21 | พ-ศ-ส | 2° | (ร่วมทิศกับดวงอาทิตย์) |
19 | 0 | ศ-พฤ-ส | 1° | 6° |
6 | 14 | ศ-อ-ส | 2° | 27° |
29 | 7 | พ-อ-พฤ | 1° | 5° |
26 | 13 | พ-ศ-ส | 1° | 23° |
10 | 11 | พ-อ-พฤ | 0° | 15° |
15 | 20 | พ-ศ-ส | 2° | 16° |
5 | 23 | พ-ศ-อ | 3° | 24° |
12 | 16 | พ-ศ-อ | 3° | 25° |
24 | 6 | พ-อ-พฤ | 3° | 21° |
8 | 9 | ศ-อ-ส | 4° | 46° |
11 | 20 | พ-ศ-พฤ | 2° | 26° |
21 | 8 | พ-ศ-อ | 2° | 22° |
27 | 7 | พ-ศ-พฤ | 2° | 16° |
26 | 4 | ศ-อ-พฤ | 3° | 43° |
10 | 12 | พ-พฤ-ส | 2° | 12° |
13 | 10 | พ-ศ-พฤ | 4° | 10° |
20 | 23 | พ-อ-ส | 1° | 22° |
17 | 3 | พ-ศ-อ | 4° | 19° |
ถ้าเรากำหนดให้มุม
วัน | เวลาสากล | ดาวเคราะห์ | มุมห่างระหว่างกัน | มุมห่างจากดวงอาทิตย์ |
---|---|---|---|---|
5 | 1 | พ-ศ-อ-พฤ | 4° | 1° |
11 | 18 | พ-ศ-อ-พฤ | 4° | 22° |
17 | 5 | พ-ศ-อ-พฤ | 1° | 24° |
4 | 14 | พ-อ-พฤ-ส | 4° | 24° |
5 | 5 | พ-อ-พฤ-ส | 4° | (ร่วมทิศกับดวงอาทิตย์) |
28 | 12 | พ-ศ-อ-พฤ | 3° | 7° |
6 | 13 | พ-อ-พฤ-ส | 4° | 8° |
16 | 0 | พ-ศ-อ-ส | 3° | 21° |
2 | 13 | ศ-อ-พฤ-ส | 2° | 32° |
15 | 12 | พ-ศ-อ-ส | 4° | 10° |
เหตุการณ์ที่ดาวเคราะห์สว่างเห็นได้ด้วยตาเปล่าทั้ง
วัน | เวลาสากล | มุมห่างระหว่างกัน | มุมห่างจากดวงอาทิตย์ |
---|---|---|---|
4 | 10 | 8° | 10° |
25 | 18 | 5° | 20° |
17 | 5 | 8° | 1° |
8 | 0 | 9° | 21° |
26 | 10 | 7° | 15° |
ดาวเคราะห์ชุมนุม 5 ดวง กับดวงอาทิตย์และดวงจันทร์
วันที่ เหตุการณ์ที่ดวงอาทิตย์