สมาคมดาราศาสตร์ไทย

วัตถุแถบไคเปอร์คู่

วัตถุแถบไคเปอร์คู่

26 เม.ย. 2544
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
วัตถุแถบไคเปอร์ ซึ่งเป็นวัตถุชนิดใหม่ในระบบสุริยะที่เพิ่งมีการพบมาไม่กี่ปี นับวันก็ยิ่งมีความแปลกประหลาดมากขึ้นทุกวัน ล่าสุดมีการพบวัตถุแถบไคเปอร์คู่แล้ว

เมื่อเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา คริสเตียน วิลเลต์ และคณะ ได้ใช้กล้อง 100-เมกะพิกเซล ของกล้องโทรทรรศน์แคนาดา-ฝรั่งเศส-ฮาวาย  สำรวจ 1998 WW31 วัตถุแถบไคเปอร์ดวงหนึ่งที่ถูกค้นพบเมื่อ ปีก่อน วัตถุดวงนี้อยู่ห่างจากโลก 6.9 พันล้านกิโลเมตร มีความสว่าง 23 แต่การสำรวจในครั้งนั้นกลับไม่สามารถเปิดเผยคุณสมบัติของ 1998 WW31 ได้มากนัก แต่โชคดีที่นักดาราศาสตร์คณะนี้ได้ตรวจสอบข้อมูลจากการสำรวจครั้งก่อน ๆ ในช่วง ปีก่อนหน้านั้น และพบว่า บางครั้งมันมีรูปร่างเป็นก้อนรี แต่บางครั้งก็เป็นจุดสองจุด สิ่งนี้เป็นหลักฐานชัดเจนว่า 1998 WW31 เป็นวัตถุคู่ รายงานนี้ได้รับการตีพิมพ์ในจดหมายข่าวของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลฉบับที่ 7610 

วัตถุทั้งสองดวงอยู่ห่างจากกัน 40,000 กิโลเมตร แต่ละดวงมีขนาด 150 และ 200 กิโลเมตร สว่างต่างกันประมาณ 0.4 

อ่านรายละเอียดได้ที่โฮมเพจ CFHT (http://cfht.hawaii.edu/~veillet/WW31.html)

วัตถุแถบไคเปอร์ 1998 WW31 (ภาพซ้าย) ถ่ายเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2543 ปรากฏเป็นจุดคู่ (ขวา) ภาพสีเพี้ยนแสดงให้เห็นว่าทั้งสองดวงมีความสว่างต่างกันอย่างชัดเจน

วัตถุแถบไคเปอร์ 1998 WW31 (ภาพซ้าย) ถ่ายเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2543 ปรากฏเป็นจุดคู่ (ขวา) ภาพสีเพี้ยนแสดงให้เห็นว่าทั้งสองดวงมีความสว่างต่างกันอย่างชัดเจน

วัตถุแถบไคเปอร์ 1998 WW31 (ภาพซ้าย) ถ่ายเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2543 ปรากฏเป็นจุดคู่ (ขวา) ภาพสีเพี้ยนแสดงให้เห็นว่าทั้งสองดวงมีความสว่างต่างกันอย่างชัดเจน

วัตถุแถบไคเปอร์ 1998 WW31 (ภาพซ้าย) ถ่ายเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2543 ปรากฏเป็นจุดคู่ (ขวา) ภาพสีเพี้ยนแสดงให้เห็นว่าทั้งสองดวงมีความสว่างต่างกันอย่างชัดเจน

ที่มา: